Sunday, May 1, 2016

แม่น้ำแยงซีเกียง

ช่องแคบอูสีย มีความยาว 42 ก.ม. ซึ่งเป็นช่องแคบใหญ่อันดับหนึ่งในบรรดาช่องแคบทั้งหมดของแม่น้ำแยงซีเกียง ช่องแคบนี้เนื่องจากอยู่ในอาณาบริเวณภูเขาหวูซันจึงมีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยที่สองฟากฝั่งจะมีแนวหินผาที่มีลักษณะเหมือนหินวางเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้นอย่างมีระเบียบ ซึ่งมียอดเขา 12 ลูกตั้งเด่นตระหง่านอยู่สองฟากฝั่ง เปรียบเสมือนหนึ่งสร้อยเพชรมรกตอันงดงามของแม่น้ำแยงซีเกียง

แม่น้ำแยงซี หรือ แม่น้ำแยงซีเกียง หรือแม่น้ำฉาง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก

แม่น้ำแยงซีเกียงที่คนไทยเรียกกันนั้น เป็นชื่อที่ตกทอดมาจากแม่น้ำหยางจี๋เจียง ซึ่งเริ่มเรียกในสมัยราชวงศ์สุย ชื่อแม่น้ำหยางจี๋เจียงถูกเรียกตามเรือบรรทุกสินค้าในสมัยก่อนจากเมืองหยางจีจิน

แม่น้ำแยงซีถูกเรียกต่างชื่อกันไปตามเส้นทางของลำน้ำเช่นเดียวกับแม่น้ำหลายๆสาย เช่น ต้นทางของแม่น้ำแยงซีถูกเรียกโดยชาวทิเบตว่า ตางชู ระหว่างที่ไหลผ่านเมืองต่างๆแม่น้ำแยงซีถูกเรียกว่า แม่น้ำถัวทัว แม่น้ำถงเทียน นอกจากนี้แล้วแม่น้ำแยงซียังถูกเรียกว่า แม่น้ำจินชา



เขื่อนซานเสียต้าป้า เขื่อนสามหุบเขา หรือ เขื่อนสามผา

เขื่อนซานเสียต้าป้า เขื่อนยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างในระหว่างปี ค.ศ. 1996 – 2009 เป็นเขื่อนที่สูงที่สุด 180 เมตร กักน้ำสูงที่สุด (175 เมตร) น้ำท่วมขังไกลประมาณ 800 กิโลเมตร ใช้สำหรับผลิตไฟฟ้า ทดน้ำทำการเกษตร

ขื่อนซานเสียต้าป้า เขื่อนสามหุบเขา หรือ เขื่อนสามผา เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (พ.ศ. 2550) ของประเทศจีน ลักษณะของเขื่อนเป็นแบบเขื่อนคอนกรีตถ่วงน้ำหนัก (Concrete gravity dam) กั้นขวางแม่น้ำแยงซี

เขื่อนซานเสียต้าป้า เป็นเขื่อนแรกของจีนที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อเต็มในภาษาอังกฤษของโครงการก่อสร้างเขื่อนนี้ คือ “Three Gorges multipurpose water control project” มีประวัติการก่อสร้างยาวนาน ตั้งแต่สมัย ดร.ซุน ยัตเซ็น ในปี พ.ศ. 2462 และเริ่มศึกษาโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2473 สภาประชาชน ลงมติให้ก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง

วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อน ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลักและป้องกันน้ำท่วม ซึ่งในขณะที่สร้างเขื่อนนั้น มีผู้อพยพจากน้ำท่วมบริเวณโดยรอบมีถึงประมาณ 1.35 ล้านคน

เขื่อนยักษ์ซันเสียต้าป้า เมื่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2009 ครองตำแหน่งเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก สันเขื่อนมีความยาว 3,035 เมตร สูง 185 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 39.3 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า 2ส่วน สำหรับระบายน้ำ 1 ส่วนและเป็นประตูสำหรับเรือผ่าน 2 ส่วน

ส่วนที่เป็นประตูสำหรับเรือผ่าน
ส่วนที่ 1 สำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำ 3000-10,000ตัน
ส่วนที่ 2 สำหรับเรือที่มีระวางขับน้ำน้อยกว่า 3,000 ตัน

ช่องระบายน้ำของเขื่อนยาว 483 เมตร มีประตูให้เรือผ่าน 5 ชั้น และเขื่อนนี้ถูกสร้างให้รับแรงสั่นสะเทือน จากแผ่นดินไหว ได้ถึง 7 ริกเตอร์

นอกจากประโยชน์ทางเศรษฐกิจแล้ว ยังช่วยป้องกันน้ำท่วมหลากสองฝากฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียงและสามารเก็บกักน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้พื้นที่ 1 ใน 5 ของประเทศจีน

เขื่อนเก๋อโจวป้า

เขื่อนเก๋อโจวป้า เป็นเขื่อนทดลองและเขื่อนตัวอย่าง เพื่อที่จะสร้างเขื่อนซานเสียต้าป้าซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เมืองอี๋ชาง

เมืองอี๋ชาง เมืองเล็ก ๆ ตอนกลางของแม่น้ำแยงซีเกียง ก่อนปี ค.ศ. 1978 ยังเป็นเมืองที่มีพลเมืองประมาณ 3 แสนกว่าคนที่ไม่มีใครรู้จัก เนื้องด้วยรัฐบาลจีนสร้างเขื่อนกักน้ำและโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ทำให้เมืองอีชางกลายเป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังของประเทศจีน นั่นคือการมาล่องเรือชมวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำแยงซีเกียงและการมาชมเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อว่า "ซานเสียต้าป้า"

เขาอู่ตังซาน หรือ เขาบู๊ตึ๊ง

เขาอู่ตังซาน หรือ เขาบู๊ตึ๊ง ในภาษาจีนฮกเกี้ยน เป็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน มีความสำคัญของลัทธิเต๋า ที่เล่าสืบมาว่า ปรมาจารย์เจินอู่ หรือเทพเจ้าเสวียนอู่ ได้บำเพ็ญตบะบนยอดเขาแห่งนี้ สถานที่ที่เสมือนเป็นแดนสุขาวดี

เขาบู๊ตึ๊ง เป็นสถานที่ที่รวมสิ่งก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมจีนหลายยุคหลายสมัยเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน เรื่อยมากระทั่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง รวมกันนับได้กว่าพันปี

เขาบู๊ตึ๊ง ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "หมู่ตึกโบราณสถานบนเทือกเขาอู่ตังซาน" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 18 เมื่อปี พ.ศ. 2537


กู่หลงจง (ภูเขาโงลังกั๋ง)

กู่หลงจง (ภูเขาโงลังกั๋ง) มีประวัติยาวนานหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปี ภายในกู่หลงจงมีรูปปั้นทองเหลืองขนาดเท่าตัวจริง

กู่หลงจง บ้านขงเบ้ง

กู่หลงจง บ้านขงเบ้ง ที่ ภูเขาโงลังกั๋ง (ภูเขา มังกรซ่อนกาย) อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูเป่ย มีเนื้อที่ 209 ตร กม. สถานที่สามพี่น้อง เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย มาเชิญขงเบ้งไปช่วยงานบ้านเมือง

ศาลเจ้ากวนอู

ศาลเจ้ากวนอู เมืองเกงจิ๋วโบราณเป็นที่เฝ้าปร่จำกวนอู ศาลเจ้ากวนอูตั้งอู่ภากใต้ของเมืองนี้ ที่นี่เมื่อก่อนเป็นตำหนักกวนอู จากนั้นนำท่านชม กำแพงเมืองโบราณจิงโจว (เมืองเก็งจิ๋ว) มีความกว้าง 3.75 กิโลเมตรมีเนื้อที่ 4.5 ตารางกิโลเมตร ยาว 10.5 กิโลเมตร สูง 8.3 เมตร มี 6 ประตู ทุกประตูจะมีป้อมหรือซุ้มอยู่ด้านบน ซึ่งได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี

พิพิธภัณฑ์เมืองจิงโจว

พิพิธภัณฑ์เมืองจิงโจว ซึ่งเป็นที่เก็บวัตถุโบราณสมัยสามก๊กที่มีค่ามหาศาลมาก ประมาณ 1 แสนชิ้น

พิพิธภัณฑ์อู่ฮั่น

พิพิธภัณฑ์อู่ฮั่น เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ระดับมณฑล จัดแสดงโบราณวัตถุล้ำค่า ส่วนมากเป็นเครื่องทองสัมฤทธิ์ เช่น ระฆังราว เสื้อหยก ที่ขุดพบที่หม่าหวางตุย กลองสัมฤทธิ์ โถ จอก เหล้า ตะเกียง เครื่องประดับ และเครื่องสัมฤทธิ์อื่นๆ มากมาย

วัดกุยหยวน (Guiyuan Temple) เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย

วัดกุยหยวน (Guiyuan Temple) หรือ "กุยหยวนซื่อ" วัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง 1 ใน 4 ของเมืองอู่ฮั่น สร้างขึ้นในราวปลายราชวงศ์หมิงต่อเนื่องถึงต้นราชวงศ์ชิง ภายในมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ที่ชาวจีนนิยมไปกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล มีวิหารพระอรหันต์ 500 องค์ที่ปั้นจากดินเหนียวเคลือบทอง

กุยหยวนซื่อ ในภาษาจีนกลาง ตั้งอยู่ในกลางเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นวัดที่โด่งดังและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเมืองอู่ฮั่น ซึ่งชาวจีนนิยมมาไหว้พระขอพรกับพระอรหันต์ 500 รูป เพื่อให้เกิดโชคลาภ วาสนา การค้าเจริญรุ่งเรือง

การเสี่ยงทาย ขอพรพระอรหันต์ 500 องค์ คือให้เดินเข้าไปในวิหารพระอรหันต์ จากนั้นถ้าเรารู้สึกว่าเราชอบพระองค์ไหน จากนั้นก็ให้นับพระอรหันต์องค์ถัดไปเท่ากับอายุของเรา แล้วจำชื่อหรือเลขพระองค์นั้นไว้ จากนั้นก็มาขอรับใบทำนาย (คล้ายๆกับการเสี่ยงเซียมซีครับ)

วัดกุยหยวนซื่อ จะไม่ให้นักท่องเที่ยวถ่ายรูปพระในวิหารแต่ก็เห็นคนจีนแอบถ่ายบ้าง


หอหวงเห่อโหลว หรือ “หอนกกระเรียนเหลือง”

หอหวงเห่อโหลว หรือ “หอนกกระเรียนเหลือง” สร้างเมื่อปี ค.ศ.223 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฉางเจียง ทางตะวันตกของเมืองอู่ชัง หอกระเรียนเหลืองในปัจจุบัน สร้างขึ้นด้วยปูนและเหล็กเลียนแบบโครงสร้างแบบไม้ที่เป็นของเดิม เป็นหอห้าชั้น สูง 51 เมตร ระหว่างชั้นยังมีชั้นแทรก รวมทั้งสิ้นเป็นสิบชั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองอู่ฮั่น

มณฑลหูเป่ย์ (Hubei)

มณฑลหูเป่ย์ (Hubei) เป็นมณฑลตอนกลางของประเทศจีน เมืองหลวงคือเมืองอู่ฮั่น(Wuhan) มีเครื่องบินของสายการบินแอร์เอเซียไปลงที่เมืองหลวงแห่งนี้ เมืองอู่ฮั่นมีแม่น้ำแยงซีเกียงไหลผ่านเมือง

มณฑลหูเป่ย ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ มีอาณาเขตอยู่ในพื้นที่ของแม่น้ำ 2 สายคือ แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และฮั่นเจียง เนื่องจากอยู่ทางเหนือของทะเลสาบต้งถิง จึงได้ชื่อว่า ‘หูเป่ย’ ซึ่งแปลว่า เหนือทะเลสาบ มีเมืองหลวงชื่อ อู่ฮั่น มีเนื้อที่ 185,900 ตร.ก.ม. มีประชากรประมาณ 60 ล้านคน

ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลเหอหนาน
ทิศใต้ ติดต่อกับ มณฑลหูหนาน และมณฑลเจียงซี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลอันฮุย และมณฑลเจียงซี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลฉ่านซี และมณฑลเสฉวน

ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบภูเขา เนินเขา สันเขาต่ำๆ และที่ราบ ตรงกลางเป็นที่ราบต่ำ ทิศตะวันตก ตะวันออก และเหนือล้อมรอบด้วยภูเขา

ภูมิอากาศ
มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนเป็นลักษณะของเขตร้อน แถบเอเชียกึ่งอบอุ่น แสงแดดและปริมาณน้ำฝนเพียงพอตลอดปี เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

เศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ผลิตเครื่องจักร หลอมทอง ปิโตรเคมี สิ่งทอ และวัสดุก่อสร้าง ครองสถิติผลิตรถยนต์ได้เป็นอันดับหนึ่ง ของประเทศเมื่อปี 2001

เมืองอู่ฮั่น ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำสำคัญ 2 สายไหลผ่าน คือ แยงซีเกียง และ ฮั่นซุย เป็นเมืองเอกของมณฑลหูเป่ยและเป็นเมืองใหญ่สุดในมณฑลเหอเป่ย มีพื้นที่ 8,467.11 ตร.กม.มีประชากรประมาณ 8.1 แสนคน เป็นที่ตั้งของท่าเรือใหญ่ที่สุดของ แม่น้ำแยงซีเกียงตอนล่าง รวมทั้งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในสมัยสามก๊ก ปัจจุบันอู่ฮั่นมีความสำคัญทั้งในฐานะเมืองอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ เครื่องจักร อาวุธ จนถึงการผลิตยาสูบ ทำรายได้ราวหมื่นล้านหยวนต่อปี

อู่ฮั่น เป็นเมืองโบราณยุคสามก๊ก ที่กล่าวถึง ผาแดง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแยงซีด้านใต้ เป็นจุดที่ทัพพันธมิตรของซุนกวนและเล่าปี่ผนึกกำลังเข้าสู้ รบกับทัพของโจโฉ ปัจจุบันผาแดงแห่งนี้ กำลังพัฒนาให้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีสิ่งปลูกสร้างตามประวัติศาสตร์ เช่น แท่นเรียกลม หอบัญชาการรบ ฐานทัพของง่อก๊ก