น่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7ล้านไร่เศษอาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย
ความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขาอีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝนหรือเหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยวยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วยป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือ เทือกเขาผีปันน้ำและ หลวงพระบาง โดยมีแม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือแม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ
ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกันทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะยู่กับความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงตระหนักถึงความเป็นตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
น่าน
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน
หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่นเครื่องมือหินกลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่าน และ ขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา และในปี พ.ศ. 1902เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 1911เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา(พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงครามความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยา ในปี พ.ศ. 1981
เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้านเช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนารัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็งทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน
ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่างและเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่าในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัยเจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบางและน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ.2310
ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่าบางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง ในปี พ.ศ. 2331เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ(ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน
ในสมัยรัชกาลที่ 5กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่พ.ศ.2435รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผู้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศสเมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศสความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเพื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่านช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง
นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ.2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุแช่แห้งอยู่บนหลังโคอุศุภราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเสี้ยวดอกขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia variegata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด : เสี้ยวดอกขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia variegata)
คำขวัญประจำจังหวัด : แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
น่าน
นอกจากนี้ "น่าน" ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ได้แก่...
สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์
ภูพยัคฆ์ เดิมชื่อ ภูผายักษ์ บนยอดภูเป็นหินผาสวยงามมีสภาพเป็นป่าดิบและเป็นดงเสือ จึงได้ชื่อว่า ภูพยัคฆ์อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500 เมตรเคยเป็นที่ปลูกฝิ่นของราษฎรชาวไทยภูเขา ก่อนปี 2523 เคยเป็นสมรภูมิรบระหว่างทหารไทยกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ปัจจุบัน ภูพยัคฆ์ได้เปลี่ยนจากสมรภูมิรบ แหล่งวางกับดักระเบิดเป็นสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริพัฒนาให้ราษฎรชายไทยภูเขามีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีคุณภาพเป็นป่าที่สมบูรณ์ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สร้างงานสร้างรายได้ให้ราษฎรในพื้นที่เป็นสถานีตัวอย่างในการขยายผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชเมืองหนาว
การเดินทาง มี 2 เส้นทางคือ เส้นทางแรกจากจังหวัดน่านไปทางอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ถึงภูพยัคฆ์ ระยะทางประมาณ 180กิโลเมตร เส้นทางที่สอง จากจังหวัดน่าน ไปทางอำเภอบ่อเกลือถึงภูพยัคฆ์ระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร ภูพยัคฆ์ มีบ้านพักรับรองพร้อมอุปกรณ์เครื่องนอน สำหรับนักท่องเที่ยว จำนวน 2 หลังสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ 24 คน และมีสถานที่กางเต็นท์ และเต็นท์นอน 2 คนบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 20 หลังมีอาหารบริการแต่จะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ โทร. 0 5473 0330, 05473 0331 และสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง ตามพระราชดำริ ภูพยัคฆ์ โทร. 085868 8548 (คุณวิทยา ไพศาลศักดิ์) 0 5474 1639, 05471 0054, 08 3073 0557
ล่องแก่งลำน้ำว้า
ล่องแก่งลำน้ำว้า ที่บ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพางห่างจากตัวเมืองน่านประมาณ 59 กิโลเมตร น้ำว้าเป็นลำน้ำขนาดใหญ่น้ำใสไหลตลอดปีมีทัศนียภาพสวยงาม สองฝั่งเขียวชอุ่มไปด้วยป่าไม้ โขดหินเกาะแก่งที่สวยงามและแก่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดคือแก่งหลวงมีหาดทรายขาวเหมาะสำหรับตั้งแคมป์มีบริการนั่งช้างชมธรรมชาติ
เส้นทางล่องแก่งลำน้ำว้าเดิมเป็นเส้นทางล่องไม้สักที่ถูกลักลอบตัดจากผืนป่าในเขตอำเภอแม่จริมและอำเภอเวียงสาตลอดลำน้ำว้าไหลผ่านหุบเขา สองฝั่งเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนผ่านแก่งต่าง ๆกว่า 22 แก่ง ซึ่งมีระดับความยากง่ายอยู่ที่ระดับ 3-5 (ระดับ 3เป็นระดับปานกลาง ระดับ 4 เป็นระดับยาก ระดับ 5 เป็นระดับยากมาก)แก่งที่ใหญ่ที่สุดและยากที่สุด คือ แก่งหลวงบางจุดของลำน้ำเป็นหาดทรายที่สามารถจอดแพเพื่อให้ลงเล่นน้ำบางแห่งเป็นจุดปางช้างสำหรับขึ้นช้างต่อไปที่บ้านหาดไร่ช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำขึ้นสูงสุดคือ เดือนสิงหาคมและช่วงที่ปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือ เดือนเมษายนช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการล่องแก่งน้ำว้าคือระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
เส้นทางล่องน้ำว้ามี 2 เส้นทาง คือ ...
เส้นทางล่องเรือยาง เริ่มจากบ้านน้ำปุ๊ ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริมสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ตำบลส้านนาหนอง อำเภอเวียงสา รวมระยะทาง 19.2กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง หากเริ่มลงแพที่หน้าที่ทำการอุทยานฯจะเหลือระยะทาง 15 กิโลเมตร
เส้นทางล่องแพไม้ไผ่ เริ่มจากบ้านน้ำว้าขึ้นที่บ้านน้ำปุ๊ระยะทาง 4 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
ต้นดิกเดียม
ต้นดิกเดียม วัดปรางค์
ต้นดิกเดียม ต้นไม้อะไรใครรู้ดูประหลาดผิดธรรมชาติพันธุ์พฤกษาน่าฉงน แค่เห็นเป็นต้นไม้หันหลังให้แดดหันหน้าเข้าวัดก็แปลกเหลือหลายอยู่แล้วแต่ใครจะเชื่อว่าต้นไม้ประหลาดต้นนี้เป็นต้นอารมณ์ขันใบไม้จะไหวสั่นทุกครั้ง ที่ถูกคนสัมผัส โดยสามารถไปชมได้ทุกวันแต่ไม่ควรไปลูบคลำ เนื่องจากในประเทศไทยมีอยู่ต้นเดียวเจ้าอาวาสที่วัดท่านจะลูบให้ดู
การเดินทาง จากจังหวัดน่านเดินทางด้วยทางหลวงหมายเลข 1080 และ1256 สู่อำเภอปัว ก่อนถึงตัวอำเภอเล็กน้อยมีทางแยกซ้ายเข้าสู่วัดปรางซึ่งเป็นที่ตั้งของต้นดิกเดียม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานททท. ภาคเหนือ เขต 2 โทร. 0-5371-7433, 0-5374-4674-5
น่าน
น่าน
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ป่าต้นน้ำป่าดึกดำบรรพ์ปลายทางหิมาลัย ขุนเขาใต้ทะเล อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพื้นที่ประมาณ 1,680 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอ ได้แก่ท่าวังผา ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง บ่อเกลือ สันติสุข และแม่จริมเทือกเขาดอยภูคาประกอบด้วยแนวภูเขาสูงสลับซับซ้อนซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของปลายเทือกเขาหิมาลัยโดยมียอดภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของจังหวัดน่าน สูงถึง 1,980 เมตร
ดอยภูคา เป็นต้นแม่น้ำสำคัญหลายสาย เช่น แม่น้ำน่าน ลำน้ำปัวบริเวณนี้เดิมเคยเป็นทะเลมาก่อนก่อนจะเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินสองผืนใต้ทะเลเข้าหากันทำให้แผ่นดินโก่งตัวขึ้น น้ำทะเลใต้ดินระเหยไปเหลือเพียงสินแร่เกลือดังที่พบในเขตอำเภอบ่อเกลือ และการค้นพบสุสานหอยทะเลอายุประมาณ 200 ล้านปีบนดอยภูแวที่บ้านค้างฮ่อ ตำบลสะกาด อำเภอปัว มีลักษณะเป็นหอยแครงสองฝามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พาลีโอคาร์ดิต้า สปีชี่ (Paleocardita Species)อายุ 195-205 ล้านปี จัดว่าอยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ตอนปลาย
สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ถ้ำผาแดง, ถ้ำผาผึ้งเป็นถ้ำที่มีความสวยงามและยาวมากที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา(บ้านมณีพฤกษ์) อ.ทุ่งช้าง ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามและยังมีน้ำตกและลำธารขนาดใหญ่ภายในถ้ำอีกด้วย, ถ้ำผาฆ้องเป็นถ้ำขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขนาดเล็ก ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและลำธารไหลผ่าน แต่ช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากอาจมีน้ำท่วมในถ้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 7 กิโลเมตรและต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร
น่าน
น้ำตกต้นตอง เป็นน้ำตกหินปูนมี 3 ชั้นอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา บนโตรกผามีพืชชุ่มน้ำ, น้ำตกศิลาเพชรน้ำตกลงมาจากหน้าผาหลายชั้นลดหลั่นกันไป เหมาะกับการเล่นน้ำ, น้ำตกภูฟ้า,น้ำตกตาดหลวง เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาพลวง, ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลางในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นเส้นทางล่องแก่งระดับ 3-5 ประมาณ 20 กว่าแก่งเป็นสุดยอดแห่งความตื่นเต้นสนุกสนาน, ยอดดอยภูแวเป็นยอดดอยที่มีวามสูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตรมีลักษณะโดดเด่นเป็นทุ่งหญ้าบนดอยอีกทั้งยังมีลานหินและหน้าผาสูงชันอีกด้วย, สุสานหอย อายุประมาณ 218ล้านปี และเส้นทางศึกษาธรรมชาติชมพูภูคาซึ่งนับเป็นบ้านแห่งสุดท้ายของต้นชมพูภูคาพันธุ์ไม้หิมาลัยและเป็นไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งในโลกจุดชมต้นชมพูภูคาที่เข้าถึงง่ายที่สุดจะอยู่ริมถนนห่างจากที่ทำการไป 5กิโลเมตร
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว คือ ช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิ 15-27 องสาเซลเซียสและฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนซึ่งมีอากาศเย็นสบายสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา โทร. 0 1224 0789,0 5470 1000 ตู้ปณ. 8 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
การเดินทาง จากจังหวัดน่าน โดยทางรถยนต์ไปตามทางหลวงหมายเลข1080 ถึงอำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตรแยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256(ปัว-บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตรผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีน้ำเงินสายปัว-บ่อเกลือ ซึ่งผ่านหน้าอุทยานฯวิ่งบริการระหว่างเวลา 07.30-14.00 น. ท่ารถอยู่บริเวณสามแยกปัว-บ่อเกลือ
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
วัดพระธาตุเบ็งสกัด ไปตามเส้นทาง 1256 ทางเข้าตรงข้ามโรงเรียนวรนคร เข้าไปประมาณ 200 เมตร และแยกซ้ายอีก 200 เมตรตั้งอยู่บริเวณที่สันนิษฐานว่าพระยาภูคาได้สร้างเมืองปัวโบราณหรือเมืองวรนครเพื่อให้เจ้าขุนฟอง พระราชบุตรธรรมมาปกครองซึ่งปัจจุบันเป็นที่ว่าการอำเภอปัว
องค์พระธาตุและพระวิหารสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 1826ภายในองค์พระเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งถือเป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชน วัดตั้งอยู่บนเนินสูงมองเห็นหมู่บ้านอยู่เบื้องล่างโดยรอบเป็นป่าละเมาะ ด้านหลังเป็นเนินเขานับเป็นการเลือกสรรชัยภูมิที่ส่งให้วัดดูโดดเด่นเป็นสง่า และจากบนเนินเขาหากมาช่วงฤดูฝนจะมองเห็นนาข้าวเขียวขจีอยู่ที่หมู่บ้านเบื้องล่าง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารเป็นทรงตะคุ่มแบบพื้นบ้านไทลื้อหรือที่เรียกว่า “ทรงเตี้ยแจ้” พื้นเมืองมีซุ้มประตูเป็นศิลปะล้านช้างบูรณะในสมัยพระยาอนันตยศและโปรดให้นำพระแก้วซึ่งมีเกศาเป็นทองคำบรรจุในองค์พระธาตุองค์พระประธานเป็นศิลปะแบบพื้นบ้านบนฐานชุกชีและด้านหลังองค์พระประธานติดกระจกเงาตามความเชื่อของชาวไทลื้อบานประตูไม้จำหลักเป็นศิลปะพื้นเมืองน่าน
วัดต้นแหลง
ตั้งอยู่ในตัวเมืองปัว จากอำเภอเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 1080เมื่อเริ่มเข้าเขตตัวเมืองปัวให้สังเกตธนาคารกสิกรไทย สาขาอำเภอปัวแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยก่อนถึงธนาคารขับตรงเข้าไปจนถึงวงเวียนให้เลี้ยวขวาอีกประมาณ 2 กิโลเมตรสันนิษฐานว่าสร้างประมาณปี พ.ศ. 2127 วิหารทรงตะคุ่มหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกัน3 ชั้น ลักษณะเดียวกับบ้านเรือนแบบเดิมของชาวไทลื้อแถบสิบสองปันนาผนังเจาะช่องหน้าต่างเล็ก ๆ เพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็นประตูทางเข้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเพื่อให้แสงแรกของวันสาดส่องมาต้ององค์พระประธานและเพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาในวิหารมุ่งความสนใจไปที่องค์พระประธานทั้งยังก่อให้เกิดบรรยากาศสลัวสงบนิ่ง เหมาะกับการน้อมจิตสู่สมาธิ
น่าน
น่าน
บ่อเกลือสินเธาว์
พื้นที่บนยอดเขาสูงเสียดเมฆอย่างอำเภอบ่อเกลือไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นแหล่งเกลือที่มีความสำคัญมาแต่โบราณเมืองน่านเป็นแหล่งเกลือขนาดใหญ่ ส่งเป็นสินค้าออกในภาคเหนือ โดยบ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตรชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา(บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)
บ่อเกลือสำคัญในน่านมี 2 แห่ง คือบริเวณต้นน้ำว้าซึ่งมีบ่อเกลือใหญ่ 2 บ่อ อีกแห่งคือบริเวณต้นน้ำน่าน มีบ่อใหญ่ 5บ่อและมีบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนมากปัจจุบันชาวบ้านยังคงต้มแกลือด้วยวิธีแบบดั้งเดิมจะตักน้ำเกลือจากบ่อส่งผ่านมาตามลำไม้ไผ่สู่บ่อพักก่อนจะนำน้ำเกลือมาต้มในกะทะใบบัวขนาดใหญ่เคี่ยวจนน้ำงวดแห้งใส่ถุงวางขายกันหน้าบ้านเกลือเมืองน่านไม่มีไอโอดีนเหมือนเกลือทะเลจึงต้องมีการเติมสารไอโอดีนก่อนถึงมือผู้บริโภค
บ่อเกลือสินเธาว์ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน 80 กิโลเมตรชาวอำเภอบ่อเกลือนอกจากจะมีอาชีพทำนาทำไร่แล้วยังมีอาชีพทำเกลือสินเธาว์อีกด้วย โดยมีแหล่งเกลือสินเธาว์อยู่บนภูเขา(บ่อเกลือจะปิดช่วงเข้าพรรษาเพราะเป็นช่วงฤดูฝน)
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง ขุนเขา ลำน้ำอันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและป่าผาแดง บริเวณท้องที่ต.ดงพญา ต.บ่อเกลือใต้ และต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือจ.น่าน มีเนื้อที่ประมาณ 248.6 ตร.กม. หรือประมาณ 155,375 ไร่มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลายแห่ง และมีจุดเด่นที่สวยงามที่สำคัญพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็ฯแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านมียอดดอยผีปันน้ำในเทือกเขาผีปันน้ำ ในต.ดงพญา เป็นดอยที่สูงที่สุดมีอาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสภาพภูมิอากาศโดยเฉลี่ยวอยู่ที่ 1-7 ํc ในฤดูหนาวส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 22-28 ํc และฤดูฝนมีอุณหภูมิเฉลี่ยว 20-25 ํc
จุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ น้ำตกสะปัน, น้ำตกห้วยตี๋,น้ำตกบ้านเด่น, น้ำตกห้วยห้า มีน้ำไหลตลอดทั้งปีเป็นน้ำตกที่มีความงามตามธรรมชาติอย่างยิ่ง
การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัวจากตัวเมืองน่าน ใช้เสันทางหลวงหมายเลข1080 (น่าน-ทุ่งช้าง) ประมาณ 59 กิโลเมตร ถึงอ.ปัวแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว-ดอยภูคา-บ่อเกลือ) ประมาณ 46กิโลเมตร ถึงทางแยกที่ อ.บ่อเกลือ เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทาง(บ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติ) เป็นระยะทาง ประมาณ 6 กิโลเมตรมีทางแยกขวามือเป็นทางลูกรังเข้าที่ทำการชั่วคราว อุทยานแห่งชาติขุนน่านระยะทางประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาทีรถประจำทาง จาก อ.เมืองน่าน นั่งรถสายน่าน-ปัว แล้วต่อรถสายปัว-บ่อเกลือลงที่อ.บ่อเกลือ แล้วต่อรถสายบ่อเกลือ-เฉลิมพระเกียรติรถผ่านหน้าอุทยานแล้วเดินเท้าเข้าไปอีก 500 เมตร
สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมู่ 5 ต.ผาสิงห์อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทร. 0 1960 5507 หมายเหตุอุทยานแห่งชาติขุนน่านปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในเขตอุทยานแห่งชาติระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม -30กันยายน ของทุกปี
น่าน
เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ
เสาดินนาน้อย(ฮ่อมจ๊อม) และคอกเสือ อยู่ที่ตำบลเชียงของห่างจากตัวเมืองน่าน 60 กิโลเมตรจากอำเภอนาน้อยมีทางแยกไปตามเส้นทางหมายเลข 1083 ประมาณ 6 กิโลเมตรเป็นเสาดินที่มีลักษณะแปลกตาคล้าย "แพะเมืองผี" ที่จังหวัดแพร่จากหลักฐานทางธรณีวิทยาพบว่าเสาดินนาน้อยเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในยุคเทอร์เชียรีตอนปลาย(late tertian) ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำและลมตามธรรมชาตินักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้วเคยเป็นก้นทะเลมาก่อน และจากหลักฐานการค้นพบกำไลหินและขวานโบราณที่นี่(ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน)แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเคยเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคหินเก่า
น่าน
น่าน
น่าน
วัดหนองบัว
วัดหนองบัว ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคา ไปตามเส้นทาง1080 เลี้ยวซ้ายที่ กม.40 ข้ามสะพานแล้วเข้าไปอีก 3 กิโลเมตรวัดหนองบัวเป็นวัดเก่าแก่ของหมู่บ้านจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดไทลื้อแห่งนี้สร้างราว พ.ศ.2405 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนโดย "ทิดบัวผัน"ช่างเขียนลาวพวนที่บิดาของครูบาหลวงสุ ชื่อนายเทพซึ่งเป็นทหารของเจ้าอนันตยศ (เจ้าเมืองน่านระหว่างปี พ.ศ. 2395-2434)ได้นำมาจากเมืองพวน ในแคว้นหลวงพระบางนอกจากนั้นยังมีนายเทพและพระแสนพิจิตรเป็นผู้ช่วยเขียนจนเสร็จและยังมีภาพของเรือกลไฟและดาบปลายปืนซึ่งเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหลหรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงามนับว่ามีคุณค่าทางศิลปะและความสมบูรณ์ของภาพใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่านนอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ และยังมีบุษบกสมัยล้านนาอยู่ด้วย
น่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้งเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่บนเนินทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านบริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัววัดพระบรมธาตุแช่แห้ง สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง(เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902)เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์พระพิมพ์เงินและพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไทเมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วงจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897
องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบของพระธาตุแช่แห้งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย โดยรอบองค์บุด้วยทองจังโก (ทองดอกบวบ ทองเหลืองผสมทองแดง)ทางขึ้นสู่องค์พระธาตุเป็นตัวพญานาคหน้าบันเหนือประตูทางเข้าพระวิหารเป็นปูนปั้นลายนาคเกี้ยวซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน
พระธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ชาวล้านนาเชื่อว่าหากได้เดินทางไป "ชุธาตุ"หรือนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะได้รับอานิสงส์อย่างยิ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระธาตุแช่แห้งได้ทุกวัน ระหว่างเวลา06.00-18.00 น.
การเดินทาง : วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลม่วงตึ๊ดจากตัวเมืองข้ามสะพานแม่น้ำน่าน ไปตามเส้นทางสายน่าน-แม่จริมหรือทางหลวงหมายเลข 1168 ประมาณ 3 กิโลเมตร
น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงษ์ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก "วัดหลวง" หรือ"วัดหลวงกลางเวียง" สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949เป็นวัดหลวงในเขตนครน่านสำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่าพญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง)รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ "ค้ำ"องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัยและภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัยอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลายมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัยพระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสนฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน
น่าน
น่าน
วัดภูมินทร์
เป็นวัดหลวงตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตำบลในเวียงในปัจจุบันอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ตามพงศาวดารของเมืองน่านพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อ พ.ศ.2139มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์"แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็น "วัดภูมินทร์"
จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาค 2 ตัว อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหารและพระเจดีย์ประธาน โดยใช้อาคารในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นพระวิหารและอาคารแนวเหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถรัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัดภูมินทร์ในธนบัตรใบละ 1 บาทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการได้จำลองพระวิหารหลังนี้ไว้ด้วย
สามร้อยปีต่อมา วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410(ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปีจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงก็เขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ "ฮูบแต้ม"ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนาแต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้นมีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพธรรมเนียมการอยู่ข่วง ของชาวไทลื้อพ่อแม่จะอนุญาตให้หนุ่มสาวพบปะกันที่ชานบ้านในเวลาค่ำขณะหญิงสาวกำลังปั่นฝ้าย หรือ "อยู่ข่วง"หากสาวเจ้าตกลงปลงใจด้วยก็จะจัดพิธีแต่งงาน หรือที่เรียกว่า "เอาคำไปป่องกั๋น" หรือเป็นทองแผ่นเดียวกัน การค้าขายแลกเปลี่ยนในชุมชนภาพชาวพื้นเมือง ซึ่งอาจเป็นชาวเขา "เป๊อะ" ของป่าบนศรีษะเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกับคนเมือง ภาพปู่ม่าน ย่าม่านภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่านหญิงสาวกำลังทอผ้าด้วยกี่พื้นเมือง นอกชานมีเรือนเล็ก ๆตั้งหม้อน้ำดินเผาที่เรียกว่า "ร้านน้ำ"ส่วนชายหนุ่มไว้ผมทรงหลักแจวหรือทรงมหาดไทยแสดงให้เห็นอิทธิพลตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวิถีพื้นเมืองน่านภาพชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเมืองน่านช่วงรัชกาลที่ 5 ทรงผมและเครื่องแต่งกายของผู้หญิงเป็นรูปแบบเดียวกับที่กำลังเป็นที่นิยมในยุโรปขณะนั้น
วัดพญาวัด
ตั้งอยู่ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101ก่อนข้ามสะพานเข้าเมืองน่าน มีทางแยกซ้ายมือเข้าทางหลวงหมายเลข 1025เข้าไปประมาณ 300เมตรแต่เดิมบริเวณที่ตั้งวัดเป็นเขตศูนย์กลางเมืองน่านในสมัยที่ย้ายเมืองจากพระบรมธาตุแช่แห้งมาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านสถูปเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงในสมัยพระนางจามเทวี มีลักษณะคล้ายเจดีย์กู่กุดจังหวัดลำพูน เป็นทรงซุ้มสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้นแต่ละชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปยืนซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยดังพบที่สถูปเจดีย์วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัยยอดซุ้มก่ออิฐวงโค้งเป็นรูปแบบการก่อสร้างสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่ามีการบูรณะในสมัยนั้นซึ่งเป็นสมัยที่อิทธิพลของศิลปะเชียงใหม่ได้เข้ามาแทนที่ศิลปะสุโขทัยแล้วในพระอุโบสถประดิษฐาน "พระเจ้าฝนแสนห่า"ซึ่งชาวเมืองน่านเคยนำมาแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนั้นยังมีธรรมาสน์แกะสลัก ฝีมือช่างพื้นเมืองน่านที่เก่าที่สุดเท่าที่เคยพบสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเจ้าอัตถวรปัญโญ ราวครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 24
วัดสวนตาล
ตั้งอยู่ที่ถนนมหายศ สร้างขึ้นโดยพระนางปทุมมาวดี เมื่อพ.ศ.1770 เจดีย์มีสัณฐานงดงาม ชั้นล่างมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศจากภาพถ่ายในหอจดหมายเหตุแห่งชาติรูปเจดีย์วัดสวนตาลก่อนการบูรณะในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ(ตรงกับรัชกาลที่ 5)เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์พระเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สะท้อนให้เห็นอิทธิพลศิลปะสมัยสุโขทัยภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1992 เป็นพระพุทธรูปทองสำริดองค์ใหญ่ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 10 ฟุต สูง 14 ฟุต 4 นิ้วมีงานนมัสการและสรงน้ำเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์และมีการเฉลิมฉลองทั้งกลางวันและกลางคืน
อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร และพิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง
อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหารและพิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรชนผู้พลีชีพเพื่อปกป้องแผ่นดินไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดและวางพวงมาลาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2519 จึงถือเอาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวางพวงมาลา และบำเพ็ญกุศลแก่วีรชน สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 1080 สายน่าน-ทุ่งช้าง หลักกิโลเมตรที่ 84 และพิพิธภัณฑ์ทหารทุ่งช้าง จัดแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารให้ศึกษาหาความรู้
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัว
หมู่บ้านไทยลื้อหนองบัวอยู่ที่บ้านหนองบัว ตำบลป่าคาจากตัวเมืองน่านใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1080 ระยะทาง 41 กิโลเมตรก่อนถึงอำเภอท่าวังผามีทางแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตรหมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทอผ้าพื้นเมืองที่สวยงามเรียกว่า "ผ้าลายน้ำไหล" ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่านนับเป็นหัตถกรรมที่ตกทอดมาหลายยุคหลายสมัย
วัดหนองแดง
วัดหนองแดง อำเภอเชียงกลาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2330โดยชาวไทลื้อร่วมกับไทพวน องค์พระประธานสร้างโดยครูบาสิทธิการพระวิหารบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2492 และบูรณะต่อมาในปี พ.ศ. 2538แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายในวัดมีลานกว้างร่มรื่นช่อฟ้าพระอุโบสถสลักรูปนกหัสดีลิงค์ (ศีรษะเป็นช้าง ตัวเป็นหงส์)ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์เชิงชายประดับไม้ฉลุลายน้ำหยาด ซึ่งเป็นลวดลายเฉพาะของชาวไทลื้อองค์พระประดิษฐานบนฐานชุกชี เรียกว่า "นาคบัลลังก์"จากความเชื่อที่ว่านาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดีและเป็นอารักษ์แห่งพุทธศาสนา
การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1080ถึงที่ว่าการอำเภอเชียงกลาง เลยที่ว่าการอำเภอฯไป 2กิโลเมตรจนถึงสี่แยกรัชดา และเห็นป้อมตำรวจบ้านรัชดาให้เลี้ยวซ้ายไป 1กิโลเมตร
น่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อยู่ที่ถนนผากองตรงข้ามกับวัดพระธาตุช้างค้ำ ใกล้กับวัดภูมินทร์เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมเป็น “หอคำ”ซึ่งเป็นที่ประทับและที่ว่าราชการของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯเจ้าผู้ครองนครน่าน สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2475ใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดแห่งแรกของจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงอีกครั้งให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
ภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ชั้นชั้นล่างจัดแสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่านรวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด เช่น การสืบชะตา การแข่งเรือส่วนชั้นบนจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่านตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่านได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนา อิทธิพลศิลปะพม่า พุทธศตวรรษที่ 25 พานพระศรีเครื่องเงินลงยาซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
พิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร 0 5471 0561, 0 5477 2777
น่าน
หอศิลป์ริมน่าน
หอศิลป์ริมน่าน ก่อตั้งและดำเนินการโดยศิลปินชาวน่าน วินัยปราบริปู ตั้งอยู่ที่ 122 หมู่ 2 ต.บ่อ ถนนสายน่าน-ท่าวังผา (กิโลเมตร 20)ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดแม่น้ำน่าน ในพื้นที่ประกอบด้วยสตูดิโอบ้านพักรับรอง และอาคารหอศิลป์ ซึ่งเป็นอาคาร 2 ชั้น รวมพื้นที่ 13 ไร่ผู้ก่อตั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมผลงานศิลปะของศิลปินไทยร่วมสมัยที่มีผลงานการสร้างสรรค์และรูปแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่ยอมรับกันโดยจัดนิทรรศการประจำปีในรูปแบบกึ่งถาวรขณะนี้มีผลงานงานจิตรกรรมและประติมากรรมของผู้ก่อตั้ง ประมาณ 200 ชิ้น
เปิดบริการ เวลา 09.00 น.- 17.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดวันจันทร์-อังคาร รายละเอียดสอบถาม โทร.0 54798046 (เวลาปกติ), 0 1322 2912 หรือ www.nanartgallery.com
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น
ตลาดชายแดนบ้านห้วยโก๋น อยู่บริเวณด่านผ่านแดนบ้านห้วยโก๋นด่านตรงข้ามคือเมืองน้ำเงิน แขวงไชยะบุรี สาธารณรัประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) อยู่ห่างจากเมืองน่าน 138 กิโลเมตร ตลาดจะมีทุกวันเสาร์เริ่มตั้งแต่เช้าถึงประมาณใกล้เที่ยงสินค้าที่เข้ามาจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นผ้าทอลายน้ำไหล ฝีมือชาวไทลื้อจากบ้านเมืองเงิน หงสา ของ สปป.ลาว นอกจากนั้น ยังมีสินค้าอุปโภคบริโภคเช่น ของป่า ลูกต๋าว เป็นต้น อนุญาตให้ประชาชนไทย-ลาวเข้าออกด่านนี้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น.ศึกษาขั้นตอนการผ่านแดนไทย-ลาว ในรายละเอียด
วัดมิ่งเมือง
ตั้งอยู่ที่ถนนสุริยพงศ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2400 ลักษณะเด่นคือลายปูนปั้นที่ผนังด้านนอกของพระอุโบสถ เป็นฝีมือตระกูลช่างเชียงแสนมีความวิจิตรงดงามมากภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงให้เห็นวิถีชีวิตของชาวเมืองน่านฝีมือช่างท้องถิ่นยุคปัจจุบัน และในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง ซึ่งยู่ในศาลาจตุรมุขด้านหน้าพระอุโบสถเสาหลักเมืองสูงประมาณ 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะลวดลายลงรักปิดทองยอดเสาแกะสลักเป็นรูปพรหมพักตร์มีชื่อ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่า
อนุสรณ์สถานยุทธภูมิบ้านห้วยโก๋นเก่าเดิมเคยเป็นฐานปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 3ในบริเวณฐานปฏิบัติการยังคงรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษามีสนามเพลาะ แนวกับระเบิด คลังอาวุธจุดที่ทหารไทยเสียชีวิตในบริเวณเดียวกับยุทธภูมิยังมีฐานสู้รบเหล่าผู้กล้า ฐานทหารเก่าที่บ้านห้วยโก๋น ตำบลห้วยโก๋นเป็นสมรภูมิการสู้รบในอดีต เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2518 ผกค.ได้เข้าโจมตีทำให้ทหารในสังกัดทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณฐานแห่งนี้ 69 นาย เสียชีวิต 17 นาย ฝ่าย ผกค. บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมากฝ่ายทหารสามารถรักษาฐานปฏิบัติการแห่งนี้ไว้ได้ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีอนุสรณ์สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของลัทธิการปกครองที่แตกต่างกันภายในฐานยังมีบริการบ้านพักแก่นักท่องเที่ยวติดต่อได้ที่กองพันทหารราบที่15 หรือ หน่วยเฉพาะกิจทหารพรานจู่โจม ค่ายสุริยะพงษ์ โทร. 0 5471 0321, 05471 3324
อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า)
อุทยานแห่งชาติแม่จริม (ล่องแก่งลำน้ำว้า)อยู่ในเขตอำเภอแม่จริม ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 60 กิโลเมตรไปตามทางหลวงหมายเลข 1168 และ 1243 มีพื้นที่ 270,000 ไร่ หรือ 432ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำที่ไหลไปลงแม่น้ำน่านที่อำเภอเวียงสาเนื่องจากองค์ประกอบของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่จริมมีลักษณะเป็นภูเขาสูงชัน มีสภาพป่าที่ยังคงสมบูรณ์และมีน้ำว้าไหลผ่านทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นระยะทางถึง 7.5 กิโลเมตรทำให้มีจุดเด่นทางธรรมชาติ ทั้งที่เป็นป่าไม้ วัฒนธรรม และลำน้ำ
เหมาะสำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ อาทิ ล่องแก่งลำน้ำว้าโดยใช้แพยาง มีจุดเริ่มต้นบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่จริมถึงจุดสิ้นสุด (ปางช้าง) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมงหรือสิ้นสุดที่บ้านหาดไร่ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 ชั่วโมงตลอดเส้นทางมีแก่งต่าง ๆ ให้ผจญภัยและเล่นน้ำ กว่า 10 แก่ง,ขับรถชมวิวเส้นทางบ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า ตามเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข1259 (บ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้า) ระยะทาง 25 กิโลเมตรตัดตามสันเขาผ่านสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ตลอดเส้นทางสามารถจอดรถชมทิวทัศน์หุบเขาและหมู่บ้านทะเลหมอกยามเช้าตลอดจนทิวทัศน์พระอาทิตย์ตกดินได้หลายจุด
เดินป่าตามลำน้ำแปง ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรเดินทางเลียบตามริมลำน้ำแปง, เดินป่าบ้านน้ำพาง-บ้านร่มเกล้าเป็นเส้นทางเดินสัญจรในอดีตของชาวบ้านร่มเกล้า ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตรตามสันเขาผ่านสภาพป่าดงดิบเขาอันอุดมสมบูรณ์, เดินป่า ปีนผาหน่อ ซึ่ง"ผาหน่อ" เป็นภูเขาหินปูน รูปแท่งเข็ม หรือหน่อไม้ มีความสูง 824 เมตรจากระดับน้ำทะเล สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของพื้นดินเชิงเขาบริเวณรอบๆ เป็นหน้าผาชันเกือบ 90 องศาเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าและปีนเขาหากขึ้นถึงยอดเขาจุสามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบด้านในผาหน่อพบถ้ำที่เป็นที่อยู่ของ ค้างคาว และเลียงผาบริเวณหน้าผาพบภาพเขียนโบราณเป็นรูปเลขาคณิตและรูปคล้ายผู้หญิงตั้งครรภ์ปรากฎอยู่ ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 6ชั่วโมง
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ "ชบาป่า" สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระดำเนินศึกษาธรรมชาติในเส้นทางนี้ เมื่อวันที่ 29พฤศจิกายน 2542 ทรงพบดอกไม้ป่าสกุลเดียวกับชบา ดอกสีชมพูอมม่วงขนาด 2-3เซ็นติเมตร พระราชทานนามว่า "ชบาป่า" (Urena lobata)ทางเดินมีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร มีจุดชมวิวทิวทัศน์ของลำน้ำว้าและขุนเขาหลายจุด ใช้เวลาเดินประมาณ 1.5 ชั่วโมง
อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีบริการที่พัก ร้านอาหารเต็นท์บริการสำหรับผู้ที่ต้องการค้างแรม สามารถติดต่อได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่จริม 35 หมู่ 5 บ้านห้วยทรายมูล ต.น้ำปาย อ.แม่จริม จ.น่าน 55170 โทรศัพท์ 0 5473 0040-1
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี
อุทยานแห่งชาตินันทบุรีครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหลวง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว-น้ำสวก และป่าสงวนแห่งชาติถ้ำพุเตย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 8.4องศาเซลเซียส สูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส เป็นป่าผสมผลัดใบ ดิบแล้ง ดิบเขามีไม้ประเภท สัก ประดู่ ตะแบก ฯลฯ และในเขตอุทยานฯนี้ยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่ามลาบรี หรือผีตองเหลืองสถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ดอยผาจิ ดอยวาว น้ำตกสันติสุขน้ำตกสองแคว น้ำตกห้วยพริก น้ำตกตาดฟ้าร้อง น้ำตกดอยหมอก และน้ำพุร้อน
หมู่บ้านประมงปากนาย
ปากนาย เดิมเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำน่านหลังการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ หมู่บ้านปากนายได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนซึ่งมีลักษณะเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ โอบล้อมด้วยทิวเขาเขียวขจีชาวบ้านปากนายประกอบอาชีพประมง มีแพร้านอาหารให้เลือกชิมปลาจากเขื่อน เช่นปลากด ปลาบู่ ปลาคัง ปลาแรด ปลาทับทิม เป็นต้นและบางแห่งทำเป็นห้องพักไว้บริการนักท่องเที่ยวจากบ้านปากนายสามารถเช่าเรือล่องไปตามลำน้ำน่านสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีทิวทัศน์เป็นป่าเขาสวยงาม เกาะแก่ง เรือนแพ ชาวประมง ในช่วงนอกฤดูฝนจะมีแพลากไปวัดปากนาย สามารถนั่งรับประทานอาหารบนเรือได้ ใช้เวลาประมาณ 2ชั่วโมง และมีแพขานยนต์ข้ามฟากไปยัง อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
การเดินทาง อยู่ที่ตำบลนาทะนุง ห่างจากตัวจังหวัด 96 กิโลเมตรใช้เส้นทางน่าน-เวียงสา-นาน้อย จากอำเภอนาน้อยจะมีทางแยกไปถึงอำเภอนาหมื่นราว 20 กิโลเมตรจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1339จะเป็นทางลาดยางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขาอีกประมาณ 25 กิโลเมตรจึงถึงบ้านปากนาย
ผาชู้ หรือ ผาเชิดชู
ผาชู้ หรือ ผาเชิดชูบริเวณเชิงผาชู้เป็นจุดที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่านในช่วงฤดูหนาวจะสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้จากยอดผาชู้และเมื่อหมอกจางจะมองเห็นลำน้ำน่านทอดตัวคดเคี้ยวอยู่ที่ปลายผืนป่าหากจะขึ้นไปชมต้องขึ้นแต่เช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นระยะทางประมาณ 2กิโลเมตร ช่วงใกล้ขึ้นถึงยอดจะเป็นหินแหลมคมจึงต้องเตรียมรองเท้าผ้าใบที่ใส่กระชับไปด้วยเพื่อความสะดวกในการปีนป่ายใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมงผู้ที่ประสงค์จะเดินขึ้นยอดผาชู้ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150
ตามตำนานที่เล่ากันมาเกี่ยวกับผาชู้กล่าวว่า เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับ เจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับ เจ้าจ๋วงเจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรักจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผา ตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดดหน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กันและ เจ้าจ๋วง ได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดดหน้าผาไปจึงรู้สึกเสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วย แต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ระหว่าง เจ้าเอื้องผึ้ง และ เจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้ง จึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วง ก็เกิดเป็นต้นสน ณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ("จ๋วง"เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน "เอื้องผึ้ง" แปลว่ากล้วยไม้)หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า "ผาชู้" นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
น่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน มีพื้นที่ประมาณ 583,750 ไร่ หรือ 934ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่างๆ ในจังหวัดน่าน ได้แก่ เวียงสานาน้อย และนาหมื่น เทือกเขาสลับซับซ้อนที่วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ขนานกันทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออกแบ่งพื้นที่ออกเป็นฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก สองฝั่งแม่น้ำเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังซึ่งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านพบสัตว์ป่าหายากอยู่หลายชนิด เช่นนกยูง ซึ่งมีอยู่หลายฝูง เสือดาว เสือดำ หมีกวาง หมาป่า และหมาในมีสัตว์ป่าหลายชนิดที่สำคัญ คือ ช้างป่า, วัวแดง, และกระทิงซึ่งจะอพยพไปมาระหว่าง เขตติดต่อไทย-ลาว
สถานที่น่าสนใจในอุทยาน ได้แก่ แก่งหลวงน้ำน่านเกิดจากแนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่านรวมทั้งโขดหินและหน้าผา ยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้องยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหิน โขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงามจุดเด่นที่น่าสนใจ แนวหินน้อยใหญ่ที่กระจัดกระจายอยู่ในแม่น้ำน่านยามหน้าน้ำจะมีเสียงน้ำไหลกระทบโขดหินดังกึกก้องยามหน้าแล้งจะมองเห็นแนวหินโขดหินที่มีรูปร่างทรงหลากหลายอย่างสวยงามและหาดทรายที่ขาวสะอาดเป็นบริเวณกว้าง เหมาะสำหรับการมาท่องเที่ยวพักผ่อนและเล่นน้ำแก่งหลวงอยู่ริมทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 14 กิโลเมตร
ดอยผาชู้ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีลักษณะเป็นโขดหินและหน้าผาขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางขุนเขาที่เขียวขจีหลายแสนไร่สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์และสายน้ำของแม่น้ำน่านทอดตัวไหลคดเคี้ยวสู่ทิศใต้ยาวหลายสิบกิโลเมตรยามหน้าหนาวจะมีทะเลหมอกสีขาวตัดกับความเขียวขจีของป่าและแสงสีทองของดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าอย่างสวยงามมากและเป็นสถานที่เกิดตำนานรักสามเส้าที่ตัดสินความรักด้วยความตายจุดเด่นที่น่าสนใจ ได้แก่ ยอดผาชู้เป็นสถานที่ตั้งสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ต้องร้องเพลงชาติ 12 จบกว่าจะเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา มีความยาวของสายธงชาติประมาณ 200 เมตรจากพื้นถึงยอดผาชู้ จุดชมวิว เป็นบริเวณกว้างอยู่ด้านหน้าของผาชู้สามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกในยามเช้ามองเห็นแม่น้ำน่านที่ไหลทอดตัวผ่านใจกลางอุทยานแห่งชาติ เป็นระยะทางกว่า20 กิโลเมตร สวนหิน ที่เกิดจากธรรมชาติที่มีการจัดวางตัวอย่างสวยงาม
น่าน
ดอยเสมอดาว บริเวณจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งของอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีพื้นที่เป็นลานกว้างตามสันเขา เหมาะสำหรับการพักผ่อน ดูดาวดูพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินในบริเวณเดียวกัน จุดนี้มีชื่อว่า "ดอยเสมอดาว"ผาหัวสิงห์ เป็นหน้าผามีรูปร่างเหมือนสิงโตนอนหมอบหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศาและเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง
ทิวทัศน์ทั้งสองฝั่งแม่น้ำน่านแม่น้ำทอดตัวผ่านกลางพื้นที่อุทยานฯ ตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดยาวกว่า 60กิโลเมตร สามารถล่องเรือ ล่องแพ ชมธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำน่านจะเห็นทิวทัศน์ เกาะแก่ง โขดหิน หาดทราย หน้าผาสภาพป่าที่เขียวขจีและสัตว์ป่านานาชนิดต่าง ๆ มากมาย มีจุดเด่นที่น่าสนใจผาง่าม เป็นหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งโดดเด่นอยู่กลางป่าเขาที่เขียวขจี ผาขวางเป็นหน้าผาขนาดใหญ่ ตั้งขวางอยู่กลางแม่น้ำน่าน สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์สองฝั่งแม่น้ำน่าน ที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับระบบธรรมชาติวิทยา
ปากนาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่านห่างจากตัวอำเภอ 27 กิโลเมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 63กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่านมีเส้นทางข้ามไปจังหวัดอุตรดิตถ์ได้จึงมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเพื่อแวะ ชมและพักค้างคืนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง
เสาดินนาน้อยเกิดจากการกัดเซาะพังทะลายของดินเป็นบริเวณกว้างกว่า 20 ไร่ลักษณะคล้ายแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่ แต่มีความสวยกว่าและจะมีการพังทลายของดินเปลี่ยนแปลงรูปไปทุก ๆ ปี ผลกระทบต่อระบบนิเวศ คือตะกอนดินจะไหลลงสู่แม่น้ำลำธาร ทำให้เกิดการตื้นเขินได้
คอกเสือ อยู่ห่างจากเสาดินนาน้อยประมาณ 300 เมตรมีลักษณะเป็นหลุมลึก ในสมัยก่อนชาวบ้านเล่าว่าในบริเวณนี้มีเสืออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และจะมาขโมยเอาวัว ควายและหมูของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้กินเป็นอาหารชาวบ้านจึงรวมกำลังไล่ต้อนเสือให้ตกลงไปในบ่อดินดังกล่าวแล้วใช้ก้อนหินและไม้แหลมขว้างและทิ่มแทงเสือจนตายเขาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "คอกเสือ"
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ผ่านนครสวรรค์ พิษณุโลกถึงแพร่จากแพร่ตามถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ไปถึงอำเภอเวียงสาเลี้ยวขวาไปตามถนนเจ้าฟ้า ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1026 จากอำเภอเวียงสาไปอำเภอนาน้อย ระยะทางประมาณ 35 กม.แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามถนนสายนาน้อย -ปางไฮ ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1083ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงเสาดิน และถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ตู้ ปณ.14 อ.นาน้อยจ.น่าน 55150 โทร. 0 5470 1106 กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760
โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พมพ.) บ้านมณีพฤกษ์
เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเกษตรมีโครงการทดลองปลูกผลไม้เมืองหนาวสามารถไปแวะชมได้นอกจากนั้นยังมีดอกเสี้ยวขาวซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดต้นนางพญาเสือโคร่ง บริเวณโครงการเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะสิ่งที่น่าสนใจคือโครงการนี้ตั้งอยู่บนเทือกดอยภูคาจึงพบต้นชมพูภูคาอยู่หลายกลุ่มแต่ต้นที่สมบูรณ์และนักท่องเที่ยวเข้าไปชมได้อยู่ห่างจากศูนย์ฯ บริการนักท่องเที่ยว 3-4กิโลเมตร รถเข้าถึงปากทาง จากนั้นต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 30 เมตร
วนอุทยานถ้ำผาตูบ
วนอุทยานถ้ำผาตูบ อยู่ที่ตำบลผาสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัด 12กิโลเมตร บนเส้นทางหลวงหมายเลข 1080 น่าน-ปัว-ทุ่งช้าง ตรงหลักกิโลเมตรที่9-10 สามารถเข้าถึงได้ทุกฤดูกาลเส้นทางศึกษาธรรมชาติมีพรรณไม้ที่ควรศึกษาและหาดูได้ยาก เช่น ต้นจันทร์ผา และเอื้องผึ้งซึ่งจะผลิดอกประมาณช่วงปลายฝนทางเดินศึกษาธรรมชาติมีอยู่หลายเส้นทางด้วยกันคือจะเริ่มจากเส้นทางเดินเท้าถึงถ้ำบ่อน้ำทิพย์ เส้นทางจากหน้าที่ทำการฯถึงจุดชมวิว และเส้นทางเดินรอบที่ทำการสถานที่น่าสนใจในวนอุทยานถ้ำผาตูบได้แก่ ถ้ำพระ ถ้ำบ่อน้ำทิพย์ ถ้ำขอน และถ้ำเจดีย์แก้ว
น่าน
วัดพระธาตุเขาน้อย
วัดพระธาตุเขาน้อย องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อยซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของตัวเมืองน่าน อยู่ในเส้นทางเดียวกันกับวัดพญาวัดตรงหลักกิโลเมตรที่ 2ร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ.2030องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนาภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดชฯ ระหว่างปี พ.ศ.2449-2454 โดยช่างชาวพม่าและวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันจากวัดพระธาตุเขาน้อยสามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่านปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่านซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตรบนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาทสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
แหล่งเตาเผาและเครื่องเคลือบบ้านบ่อสวก
บริเวณบ้านบ่อสวกนี้ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองน่านมีรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาเป็นลักษณะเฉพาะของตัวเองคาดว่าเครื่องเคลือบภาชนะดินเผาจากบ้านบ่อสวกคงจะเคยได้รับความนิยมอย่างสูงเพราะได้ขุดพบตามแหล่งฝังศพของคนในสมัยก่อนโดยเฉพาะแถบเทือกเขาในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ต่อเนื่องไปจนถึงจังหวัดตาก และกำแพงเพชรสันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องเคลือบที่บ้านบ่อสวกเริ่มขึ้นและพัฒนาในสมัยเจ้าพระยาพลเทพฤาชัย (พ.ศ.2071-2102)ซึ่งเป็นยุคสมัยแห่งความรุ่งเรืองของเมืองน่านวิทยาการเตาเผาและเครื่องเคลือบเมืองน่านได้รับจากล้านนา เช่นจากกลุ่มสันกำแพง กลุ่มกาหลง ซึ่งเป็นกลุ่มเตาใกล้นครเชียงใหม่
เตาเผาแห่งนี้ได้รับการสำรวจและศึกษาเบื้องต้น โดยกองโบราณคดีกรมศิลปากร มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527เป็นแหล่งโบราณคดีชุมชนอยู่ที่บ้านบ่อสวกพัฒนา หมู่ 10 ตำบลบ่อสวกห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร แหล่งที่มีการค้นพบเตาเผาเมื่อเดือนตุลาคมพ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ในเขตบ้านพักของ จ.ส.ต.มนัส และคุณสุนัน ติคำบริเวณที่พบเตาอยู่ริมแม่น้ำลักษณะของเตาหันหน้าเข้าหาแม่น้ำเพื่อสะดวกในการขนส่งภายในเป็นโพรงใหญ่เพื่อให้คนเข้าไปข้างในได้เตามีความลาดเอียงและมีปล่องระบายอากาศอยู่ด้านบน เตาโบราณจำนวน 2เตาได้รับการบูรณะ และก่อสร้างอาคารถาวรคลุม ส่วนบริเวณใต้ถุนบ้านจ่ามนัสจัดเป็นนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุจากแหล่งเตาเผา
การขุดค้นศึกษาแหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวกถือเป็นการเปิดมิติใหม่ในการทำงานวิจัยทาง "โบราณคดีชุมชน" โดยการร่วมมือระหว่างชาวบ้าน องค์กรเอกชน ส่วนราชการในท้องถิ่นและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความงอกงามทางความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนไปพร้อมกันในอนาคตจะมีการจัดตั้งกองทุนโบราณคดีชุมชนบ้านบ่อสวกและนำเงินจากกองทุนเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนเช่น การฟื้นฟูอาชีพเครื่องปั้นดินเผา การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านและการอบรมมัคคุเทศก์ชุมชน
น่าน
ข้อมูลการเดินทางของ "น่าน"
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 มาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 117 มาจนถึงจังหวัดพิษณุโลกและใช้ทางหลวงหมายเลข11 โดยจะผ่านจังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอเด่นชัย (จังหวัดแพร่)จากเด่นชัยใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านจังหวัดแพร่ไปจนถึงตัวจังหวัดน่านรวมระยะทางประมาณ 668 กิโลเมตร
รถไฟ
จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) ไปลงที่อำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ แล้วจึงต่อรถโดยสารประจำทางมาที่จังหวัดน่าน ระยะทาง 142กิโลเมตร รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 02223 7010, 0 2223 7020, 1690 www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง
สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 (หมอชิต 2)มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศไปจังหวัดน่านทุกวัน ติดต่อ บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th และมีบริษัทเอกชนหลายแห่งที่บริการเดินรถไปจังหวัดน่าน ติดต่อ แพร่ทัวร์โทร. 0 2245 2369, 0 2245 1697 และ 0 2936 3720 สมบัติทัวร์ โทร. 0 29362495-6 และ 0 5471 0122 เชิดชัยทัวร์ โทร. 0 5471 0362, 0 2936 0199
No comments:
Post a Comment