Monday, March 30, 2015

ท่องเที่ยวประเทศนอร์เวย์

คู่มือการท่องเที่ยวประเทศนอร์เวย์
ประเทศนอร์เวย์ มีชื่อทางการว่าราชอาณาจักรนอร์เวย์ (นอร์เวย์: Kongeriket Norge หรือ Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง

ดิน แดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์ และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราช อาณาจักร ในขณะที่เกาะบูเวตในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้วย

ที่ตั้งฝั่ง ตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทิศใต้ติดกับทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดกับฟินแลนด์ สวีเดน และรัสเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลนอร์วีเจียน

ประชากร4.5 ล้านคน

ภาษาNorwegian ภาษาเขียนมี 2 แบบคือ Bokmal และ Nynorsk

ศาสนาร้อยละ 88 นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Evangelical Lutheran(ซึ่งเป็น Official State-religion)

เมืองหลวงกรุงออสโล (Oslo)

สกุลเงินNorwegian Krone (NOK) อัตราแลกเปลี่ยน 1 NOK ประมาณ 5.65 บาท 7.07 NOK ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

วันชาต17 พฤษภาคม (วันรัฐธรรมนูญ)

ระบบการเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

สถาบันการเมือง- นอร์เวย์มีสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (Storting) มีจำนวนสมาชิก 165 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน(ประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงต้องมี อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์) และมีวาระสมาชิกภาพ 4 ปี และไม่อาจถูกยุบสภาได้
- คณะรัฐมนตรีได้รับแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ดำเนินนโยบายบริหารประเทศด้วยความเห็นชอบจากรัฐสภา
- สำหรับฝ่ายตุลาการ ผู้พิพากษาได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี แต่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอิสระ




ท่องเที่ยวตุรกี (Turkey)

คู่มือการท่องเที่ยวตุรกี (Turkey)
ตุรกี (Turkey)  ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจีย อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียน ทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและแทรสออกจากกันคือทะเลมาร์มารา และช่องแคบตุรกี (ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลส) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป

ที่ตั้งส่วน หนึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป (ร้อยละ 3) อีกส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชียตะวันตก ทิศเหนือติดทะเลดำ ทิศตะวันออกติดประเทศจอร์เจียและประเทศอาร์เมเนีย ทิศใต้ติดประเทศอิรัก ประเทศซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจดประเทศบัลแกเรียและประเทศกรีซ


พื้นที่
783,562 ตารางกิโลเมตร (รวมทะเลสาบและเกาะ)

ภูมิประเทศ
ตุรกี เป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดาเนลเลส (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร
ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ
ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัส ทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร
สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่ เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดาเนลเลสก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วาง ตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542

ภูมิอากาศ
ชาย ฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศ เป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40? อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี
ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1 ? ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30? ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉ ลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม

ประชากร-เชื้อชาติ
ใน ปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี
ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีชื่อสายเตอร์กิช ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์เมเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป

ภาษา
ประเทศ ตุรกีมีภาษาราชการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

การศึกษาการ ศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนว ความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ

ศาสนาร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือเป็นคริสเตียนและยิว


เมืองหลวง
กรุงอังการา

เมืองสำคัญ
Istanbul (9.2 ล้านคน), Ankara (3.7 ล้านคน), Izmir (3.2 ล้านคน), Adana (1.7 ล้านคน), Bursa (1.9 ล้านคน)


สกุลเงิน
ลิร่า (Lira - TRL) อัตราแลกเปลี่ยนธนาคารกลางตุรกี วันที่ 12 ตุลาคม 2547
1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,521,500 ลีร่า เช็คอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก

เงินสกุลใหม่
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2548 สกุลเงินของตุรกีจะเปลี่ยนจากเงินลีร่าเดิม "Turkish Lira" (TRL) เป็นเงินลีร่าใหม่ New Turkish Lira (TRY) โดยตัดเลข 0 ออก 6 หลัก และมีสกุลเงินย่อยเป็น New Kurush (YKr) เช่น เงิน 123,625,000 TRL จะกลายเป็น 123.63 TRY เป็นต้น ทั้งนี้ เอกสารทางการเงินหรือการทำสัญญาธุรกิจทางการเงินทั้งหมดจะต้องเปลี่ยนจากการ กำหนดใช้เงิน TRL เป็น TRY เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 อย่างไรก็ตาม ธนบัตรและเหรียญเงิน TRL จะยังได้รับการอนุโลมให้สามารถใช้ร่วมกับเงิน TRY ได้ในช่วงตลอดปี 2548

วันชาติ
29 ตุลาคม

เวลาต่างจากไทย
ฤดูร้อน ช้ากว่าไทย 4 ชั่วโมง ฤดูหนาว ช้ากว่าไทย 5 ชั่วโมง

รายละเอียดการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางไทย (Visa)
หนังสือเดินทางทูตและราชการ-สามารถยกเว้นการตรวจลงตรา ระยะพำนัก 90 วัน
หนังสือเดินทางธรรมดา-ต้องผ่านการตรวจลงตรา ณ สถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย

ระบบการเมือง
เป็น สาธารณรัฐ ที่แยกศาสนาออกจากการเมือง (secular state) มีการปกครองแบบรัฐสภา (republican parliamentary democracy) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตุรกี
เมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ในตะวันออกกลาง ตุรกีเป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือ หลักการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมืองอย่างเด็ดขาด “Secularism” ตุรกีมีนโยบายการเมืองใกล้ชิดกับตะวันตก เป็นสมาชิก NATO, OECD และสหภาพศุลกากร (Customs Union) ของยุโรป และยังได้เริ่มกระบวนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก EU แล้ว ในเดือนต.ค. 2548 ปัจจุบันมีชาวตุรกีที่ดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ เลขาธิการ OIC และ UNDP Administrator
รัฐบาลตุรกีภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan มีเสถียรภาพสูง พรรครัฐบาลได้รับความนิยมอย่างมากจากประชาชนเนื่องจากได้ฟื้นฟูการเจริญเติบ โตทางเศรษฐกิจ ลดภาวะเงินเฟ้อ และเปิดให้ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมบทบาทของประเทศในการเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของรัฐบาลตุรกี ได้แก่ การดำเนินการตามแผนปฏิรูปด้านเศรษฐกิจของ IMF ปัญหาผู้ก่อการร้ายชาวเคิร์ด (PKK) ปัญหาไข้หวัดนก และปัญหาไซปรัส

สถานเอกอัครราชทูตตุรกีประจำประเทศไทย
The Embassy of the Republic of Turkey
61/1 Soi Chatsan, Suthisarn Road
Bangkok 10310 Thailand
Office hour 09-17.00 (Mon-Fri)
Tel. 0-2274-7262-3
Fax 0-2274-7261
E-mail : tcturkbe@mail.cscoms.com

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตุรกี
www.mfa.gov.tr
http://www.turkishnews.com/


ท่องเที่ยวราชอาณาจักรเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Kongeriget Danmark)

คู่มือการท่องเที่ยวราชอาณาจักรเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Kongeriget Danmark)
ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (เดนมาร์ก: Kongeriget Danmark) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิก มีแผ่นดินหลักตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์ ทางทิศเหนือของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านทางบกเพียงประเทศเดียว ทางทิศใต้ของประเทศนอร์เวย์ และตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสวีเดน มีพรมแดนจรดทะเลเหนือและทะเลบอลติก เดนมาร์กมีดินแดนนอกชายฝั่งห่างไกลออกไปสองแห่ง คือหมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์ ซึ่งแต่ละแห่งมีอำนาจปกครองตนเอง

เดนมาร์ก เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและเป็นส่วนหนึ่ง ของสหภาพยุโรป แต่ยังไม่เข้าร่วมใช้สกุลเงินยูโร เดนมาร์กเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ

เมืองหลวงโคเปนเฮเกน (Copenhagen)

ที่ตั้งคาบสมุทรจัตแลนด์ (Jutland) ทางตอนเหนือของทวีปยุโรประหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก


ภูมิศาสตร์
เดนมาร์ก แต่เดิมเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อย พื้นที่ตลอดชายฝั่งเป็นสันทรายกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนอื่นเกิดจากธารน้ำแข็งและหนองน้ำ เดนมาร์กตั้งอยู่ระหว่างทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ล้อมรอบด้วยพื้นน้ำเกือบทั้งหมด ภูมิประเทศประกอบด้วยคาบสมุทร Jutland (Jylland) และเกาะต่างๆอีก 406 เกาะ ในจำนวนนี้ 76 เกาะมีผู้อยู่อาศัย เกาะใหญ่ที่สุดคือ Zealand (Sjælland), Funen (Fyn), Lolland และ Bornholm เกาะ Bornholm จะอยู่ในทะเลบอลติกทางด้านตะวันออกของประเทศ เกาะอื่นๆส่วนใหญ่จะเป็นเกาะที่มีขนาดเล็กมาก ที่มีผู้อยู่อาศัยเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย เกาะขนาดใหญ่จะเชื่อมต่อกันด้วยสะพาน สะพาน Øresund เชื่อมต่อเกาะ Zealand กับประเทศสวีเดน สะพาน Great Belt เชื่อมต่อเกาะ Funen กับเกาะ Zealand และสะพาน Little Belt เชื่อมต่อคาบสมุทร Jutland กับเกาะ Funen เรือเฟอร์รี่และเครื่องบินจะใช้เพื่อการเดินทางไปยังเกาะเล็กๆ เมืองหลวงหลักคือโคเปนเฮเกน (อยู่บนเกาะ Zealand) Århus, Aalborg, Esbjerg (อยู่บนคาบสมุทร Jutland) และ Odense (อยู่บนเกาะ Funen) พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นที่ราบไม่มีภูเขา นอกจากหมู่เกาะแฟโร และเกาะกรีนแลนด์ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลจะมีทั้งที่ราบสูง และภูเขาสูง

ภูมิประเทศ มีที่ราบสูงเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลเพียง 31 เมตร จุดที่อยู่สูงที่สุดตามธรรมชาติคือเนินเขา Møllehøj อยู่ที่ความสูง 170.86 เมตร[3] เนินเขาอื่นๆในบริเวณ Århus ตะวันตกเฉียงใต้ คือ Yding Skovhøj ที่ 170.77 เมตร และ Ejer Bavnehøj ที่ 170.35 เมตร ขนาดผืนน้ำบนผืนดินคือ 210 ตารางกิโลเมตร ในเดนมาร์กตะวันออก และ 490 ตารางกิโลเมตร ในเดนมาร์กตะวันตก

ช่องแคบออร์ซึนด์ (Oresund) ทางตะวันออกของประเทศ เป็นช่องแคบระหว่างเกาะ Zealand และประเทศสวีเดน เดนมาร์กมีอำนาจมากในการควบคุมทางผ่านช่องแคบนี้ สามารถเรียกเก็บภาษีจากผู้ผ่านเข้าออกได้


รูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

ประวัติโดยสังเขป
เดนมาร์ก เป็นราชอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดในยุโรป โดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของเดนมาร์กเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1528 (ค.ศ.985) และได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 2392 (ค.ศ.1849) ซึ่งเป็นปีที่รัฐธรรมนูญฉบับแรกได้ถูกร่างขึ้นราชอาณาจักรเดนมาร์กเคยครอบ คลุมถึงสวีเดนและนอร์เวย์ จนกระทั่งสวีเดนแยกตัวออกไปเมื่อปี 2066 (ค.ศ.1523) และเดนมาร์กสูญเสียนอร์เวย์ให้แก่สวีเดนภายใต้สนธิสัญญา Kiel เมื่อปี 2357 (ค.ศ.1814) ภายหลังสงครามนโปเลียนยุติลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี 2457 – 2461 (ค.ศ.1914-1918) เดนมาร์กได้ดำเนินนโยบายเป็นกลาง และเมื่อปี 2482 (ค.ศ.1939) ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2เดนมาร์กได้ประกาศความเป็นกลาง อย่างไรก็ดี เดนมาร์กถูกกองทัพเยอรมันเข้ายึดครองเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2483 (ค.ศ.1940) ซึ่งนำไปสู่การรวมตัวของขบวนการต่อต้านของประชาชนชาวเดนมาร์กโดยตลอดช่วง สงครามฝ่ายเยอรมันได้ตอบโต้ด้วยการเข้าปกครองเดนมาร์กโดยตรง จนกระทั่งวันที่ 5 พฤษภาคม 2488 (ค.ศ.1945) เดนมาร์กถูกปลดปล่อยโดยกองกำลังพันธมิตร และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เดนมาร์กได้รับรองความเป็นเอกราชของไอซ์แลนด์ (เป็นดินแดนหรือเกาะโพ้นทะเลที่เดนมาร์กได้ปกครองมาตั้งแต่ในสมัยที่ เดนมาร์กยังคงรวมราชอาณาจักรกับนอร์เวย์) ซึ่งได้ประกาศตัวเป็นเอกราชเมื่อปี 2487 (ค.ศ.1944) และต่อมาเดนมาร์กได้ให้สิทธิในการปกครองตนเองแก่หมู่เกาะแฟโรและเกาะ กรีนแลนด์ เมื่อปี 2491 (ค.ศ.1948) และปี 2522 (ค.ศ.1979) ตามลำดับ ในปี 2496 (ค.ศ.1953) รัฐธรรมนูญเดนมาร์กได้รับการแก้ไขซึ่งส่งผลทำให้มีบทบัญญัติใหม่ที่สำคัญๆ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ให้รัชทายาทสตรีมีสิทธิขึ้นครองราชสมบัติ กำหนดให้รัฐสภามีเพียงสภาเดียว และให้ประชาชนชาวเดนมาร์กชายและหญิงที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ปัจจุบันเดนมาร์กเป็นราชอาณาจักรโดยมีพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นประมุข คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอ ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2515 (ค.ศ.1972) และทรงเป็นพระประมุขแห่งเดนมาร์กลำดับที่ 52 (เดนมาร์กมีพระมหากษัตริย์ตั้งแต่ปี 1528 (ค.ศ.985)) สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอ ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2543 (ค.ศ.2000)



ภาษาภาษาเดนิช (Danish)

ศาสนาประชากรร้อยละ 97 นับถือศาสนาคริสต์ นิกาย Evangelical Lutheran

วัฒนธรรมฮัน ส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน เป็นที่รู้จักทั่วไปนะฐานะนักแต่งนิทานอันโด่งดังของเดนมาร์ก จากนิทานหลายๆ เรื่องของเขา เช่น พระราชากับชุดล่องหน (The Emperor’s New Clothes), เงือกน้อยผจญภัย (The Little Mermaid), และ ลูกเป็ดขี้เหร่ (The Ugly Duckling) ฯลฯ จากนี้ยังมี นักเขียนรางวัลโนเบล คาเรน บลิกเซน, เฮนริก พอนทอปพิแดน นักฟิสิกส์รางวัลโนเบล นีลส์ บอร์ นักวาดการ์ตูนล้อเลียน วิกเตอร์ บอร์จ และนักปรัชญา ซอร์เรน เคียร์เกการ์ด ทั้งหมดล้วนสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองและประเทศเดนมาร์กในระดับต่างประเทศ ทั้งสิ้น ในกรุงโคเปนเฮเกนล้วนมีสถานที่ที่สวยงามและน่าสนใจมากมายเช่น สวนทิโวลี, พระราชวังอาเมเลียนเบิร์ก (ที่พำนักของพระราชวงศ์เดนมาร์ก), พระราชวังคริสเตียนเบิร์ก, มหาวิหารโคเปนเฮเกน, ปราสาทโรเซนเบิร์ก, โรงละครโอเปร่า, โบสถ์เฟดเดอร์ริก, พิพิธภัณฑ์โทรวาร์ลด์เซน และรูปแกะสลักนางเงือก ฯลฯ ส่วนนครที่ใหญ่อันดับสองของประเทศคือ เมืองอาร์เธอร์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ที่ก่อตังขึ้นในสมัยไวกิง และเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศด้วย ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศและใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ที่ 2 ของภูมิภาคยุโรปเหนือ เดนมาร์กยังเป็นประเทศผู้นำทางด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเหมือนกับประเทศใน แถบสแกนดิเนเวียอื่นๆ เช่นการออกกฎหมายให้สื่อลามกเป็นสิ่งถูกกฎหมายหรือการออกกฎหมายให้ผู้รัก ร่วมเพศสามารถสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สกุลเงินเดนิชโครน (Danish Krone - DK)
อัตราแลกเปลี่ยน1 DK ประมาณ 5.5 บาท เช็คอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก

วันชาติ16 เมษายน (วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระราชินีนาถ
มาร์เกรเธอ ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (Her Majesty Queen Margrethe II)


สังคม
เมืองใหญ่ของเดนมาร์กที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด 4 เมืองตามลำดับ ได้แก่
1) กรุง Copenhagen (1.5 ล้านคน) ตั้งอยู่บนเกาะ Zealand ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศ
2) เมือง Arhus (265,000 คน) ตั้งอยู่บนคาบสมุทร Jutland
3) เมือง Odense (173,000 คน) ตั้งอยู่บนเกาะ Funen และ
4) เมือง Allborg (155,000 คน) ตั้งอยู่บนคาบสมุทร Jutland ระยะเวลาการดำรงชีพ (life expectancy) ถัวเฉลี่ยของสตรีและบุรุษในเดนมาร์กค่อนข้างจะสูง คือ 78 ปี และ 72 ปี ตามลำดับ เนื่องจากเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีมาตรฐานการสาธารณสุขในระดับสูง และชาวเดนมาร์กมีรายได้ต่อคนต่อปีประมาณ 26,000 ดอลลาร์สหรัฐเดนมาร์กเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีสตรีประกอบอาชีพในจำนวน ที่สูงมากกล่าวคือ ในอัตราส่วน 9 : 10 ต่อแรงงานชาย ซึ่งการมีงานทำของสตรีชาวเดนมาร์กก่อให้เกิดความรู้สึกที่ภาคภูมิใจและความ เป็นอิสระในทางการเมือง สตรีชาวเดนมาร์กยังได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้มาตั้งแต่ปี 2458 (ค.ศ.1915) และในทางเศรษฐกิจ สตรีชาวเดนมาร์กได้รับค่าจ้างเท่าเทียมบุรุษตามกฎหมายเดนมาร์ก

การเมืองการปกครอง
เดนมาร์ก เป็นประเทศปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงดำรงตำแหน่งพระประมุขของเดนมาร์ก

รัฐสภาเดนมาร์ก (Folketing) เป็นระบบสภาเดียว สมาชิกรัฐสภามีจำนวน 179 คน มาจากการเลือกตั้ง (แยกเป็น 175 คนจากเดนมาร์ก 2 คนจากหมู่เกาะ Faroeและอีก 2 คนจากเกาะ Greenland ซึ่งหมู่เกาะทั้งสองเป็นดินแดนโพ้นทะเลภายใต้ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ซึ่งได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง)

การคมนาคม
ทาง ด้านการคมนาคมของเดนมาร์กที่โดดเด่นที่สุดก็คือ สะพานโอเรซอนด์ ที่เชื่อมทางหลวงยุโรปสายอี 20 ระหว่างโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก ไปยัง มาลโม, สวีเดน โดยเป็นสะพาน – อุโมงค์ มีทั้งทางสำหรับรถยนต์และทางรถไฟ และระบบสะพานเกรตเบลต์ที่เชื่อมระหว่างเกาะซีแลนด์และเกาะฟูเนน ทางทะเลก็มีท่าเรือโคเปเฮนเกน มาลโม ซึ่งก่อนการสร้างสะพานโอเรซอนด์ ท่าเรือแห่งนี้ใช้เป็นเส้นทางหลักในการไปมาระหว่างสวีเดนและเดนมาร์ก ซึ่งปัจจุบันนี้ท่าเรือข้ามฝากระหว่างสองเมืองนี้ได้ลดความสำคัญลงไปแล้ว เป็นผลมาจากการสร้างสะพานโอเรซอนด์นั่นเอง ส่วนการคมนาคมทางรางของเดนมาร์กดำเนินการโดยการรถไฟแห่งเดนมาร์ก (Danish State Railways) สำหรับขบวนรถไฟโดยสาร ส่วนการเดินรถไฟบรรทุกสินค้าดำเนินการโดยบริษัทแรลลิออน (Railion) การควบคุมการจราจรทางรถไฟทั้งระบบควบคุมโดย บานด์ แดนมาร์ก นอกจากนี้ในกรุงโคเปนเฮเกนเองก็มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดินขนาดเล็กให้บริการและยัง มีบริการรถไฟชานเมืองด้วย สายการบินแห่งชาติของเดนมาร์กคือ สายการบินสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติร่วมกันของสามประเทศคือ นอร์เวย์, สวีเดน และเดนมาร์ก สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคือสนามบินโคเปนเฮเกน และยังเป็นสนามบินหลักที่ใหญ่ที่สุดของสายการบินแห่งชาติ ทางทะเลมีบริการเรือเฟอร์รี่ระหว่างเกาะแฟโรกับกรุงโคเปนเฮเกนและประเทศ เพื่อบ้านเช่น สวีเดน, นอร์เวย์ และเยอรมนี เป็นต้น ส่วนรถยนต์ของเดนมาร์กจากที่มีรถจดทะเบียนในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) อยู่ทั้งหมด 1,389,547 คัน เพิ่มขึ้นมาเป็น 2,020,013 คัน ใน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) แต่แม้กระนั้นภาษีของการจดทะเบียนรถยนต์ก็ยังคงสูงลิ่วอยู่เช่นเดิมที่ ประมาณ 180% และมาตรฐานรถยนต์ของเดนมาร์กได้รับการยอมรับว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูง ด้วย



ประเทศเดนมาร์ก อยู่ในเขตยุโรปเหนือระหว่างทะเลเหนือและทะเลบอลติก ทางทิศเหนือติดคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศเยอรมัน พื้นที่โดยส่วนใหญ่ของประเทศเดนมาร์กตั้งอยู่บนคาบสมุทรจัตแลนด์(Jutland)และเป็นพื้นที่ราบ ส่วนที่สูงที่สุดจากระดับน้ำทะเล มีความสูงเพียงราว 170 เมตรเท่านั้นเองคะ เดนมาร์กมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกประเทศหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวทัวร์ยุโรปสนใจมาแวะเที่ยวกันที่นี่

        ภูมิอากาศของที่นี่ ในช่วงของเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์จะเป็นฤดูหนาว -5 -  5 องศาเซลเซียส บางพื้นที่ของประเทศอากาศหนาวถึงหนาวจัดและจะถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ ภูมิประเทศเป็นที่ราบและมีเนินเขาต่ำจึงดูสวยงามมากขึ้น ในช่วงฤดูหนาวที่นี่จะยาวนาน ทำให้เดนมาร์กมีวัฒนธรรมประเพณีหลายในฤดูหนาวซึ่งเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ในช่วงของเดือนมีนาคม-มิถุนายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ มีอุณหภูมิ 10 - 15  องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ธรรมชาติของเดนมาร์กสวยงามมากที่สุดอีกช่วงหนึ่งเลยนะค่ะ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับธรรมชาติความเขียวชอุ่ม ดอกไม้ใบหญ้าเต็มทุกพื้นที่ ช่วงเวลานี้ที่อากาศสดชื่นเย็นสบายเหมาะแก่การท่องเที่ยวเดินทางไกลเป็นอย่างมากคะ เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ช่วงฤดูร้อน มีอุณหภูมิ  20 -  25 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวมาทัวร์ยุโรปนิยมที่สุด เพราะมีพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้าต่างๆ เปิดบริการ และยังมีการแสดงกลางแจ้งจะถูกจัดแสดงในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ช่วงเวลากลางวันจะยาวมากเป็นพิเศษ พระอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่ก่อนตีห้าและไม่ตกจนกว่าจะเลยเวลาไปถึง 21.00 น. ไปแล้ว และในช่วงของเดือนกันยายน-พฤศจิกายน  เป็นฤดูใบไม้ร่วง มีอุณหภูมิ10 - 15  องศาเซลเซียส อากาศในฤดูนี้จะค่อยๆ เย็นลงเรื่อยๆ แต่ไม่ถึงกับเย็นมากนัก ใบไม้จะเริ่มผลัดใบและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลทองก่อนจะร่วงหล่นลงพื้น ซึ่งทำให้เกิดภาพทัศนียภาพของธรรมชาติที่สวยงาม เวลาในเดนมาร์กจะช้ากว่าของไทย 5 – 6 ชั่วโมงคะ ขึ้นอยู่กับฤดูของที่นี่ด้วยคะ ในด้านของศาสนากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่นี่นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรันภาษาที่ใช้ในประเทศเดนมาร์ก เรียกว่า ภาษาแตนิช แต่คนเดนมาร์กส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษได้ดี รวมทั้งใช้ภาษาเยอรมันในเขตชายแดนที่ติดกับเยอรมนีได้อีกด้วยค่าเงินของเดนมาร์ก เป็นเงินแดนิชมีหน่วยเป็นโครน หรือ DKK 1 โครนมี 100 เอือร์  ธนบัตรของแดนิชมี 10 โครน เป็นสีเขียว,100โครน เป็นสีขาวม่วง และ 50 โครนเป็นสีน้ำเงินส่วนเหรียญแดนิช มี 10 โครน เป็นสีทอง, 5 โครน เป็นเหรียญเงินใหญ่ 2 โครน และ 1 โครน และเหรียญเงิน 50 และ 20 เอือร์

        สำหรับเวลาของเดนมาร์กจะช้ากว่าประเทศไทย 5 ถึง 6 ชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาลนะค่ะ ก่อนเข้าฤดูร้อน อาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม เวลาจะเร็วขึ้นหนึ่งชั่วโมงเวลาเดนมาร์กจึงช้ากว่าเมืองไทย 5 ชั่วโมง และฤดูหนาว อาทิตย์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เวลาจะช้าลงหนึ่งชั่วโมง ทำให้เวลาเดนมาร์กช้ากว่าเมืองไทย 6 ชั่วโมง ข้อมูลทั่วไปในการเดินทาทัวร์ยุโรปในเดนมาร์กคงสามารถช่วยนักท่องเที่ยวสำหรับการเตรียมได้มากเลยนะค่ะ

ท่องเที่ยวซอร์เบียและมอนเตเนโกร (Serbia and Montenegro: SCG) ประเทศมอนเตเนโกร มอนเตเนโกร (Montenegro)

คู่มือการท่องเที่ยวซอร์เบียและมอนเตเนโกร (Serbia and Montenegro: SCG)
ซอร์เบียและมอนเตเนโกร (Serbia and Montenegro: SCG) เป็นชื่อของอดีตสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นการรวมอย่างหลวม ๆ ของ เซอร์เบียและมอนเตเนโกร อดีตสาธารณรัฐของยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึง พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านตอนตะวันตกกลาง
เซอร์เบีย และมอนเตเนโกรมีความร่วมมือกันเฉพาะบางด้านในการเมือง (เช่น ผ่านสหพันธ์การป้องกันประเทศ) ทั้ง 2 รัฐมีนโยบายเศรษฐกิจและหน่วยเงินของตนเอง และประเทศไม่มีเมืองหลวงรวมอีกต่อไป โดยที่แบ่งแยกสถาบันที่ใช้ร่วมกันระหว่างเมืองเบลเกรด ในเซอร์เบียและเมืองพอดกอรีตซาในมอนเตเนโกร ทั้งสองรัฐแยกออกจากกันหลังจากมอนเตเนโกรจัดให้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน ทำให้เกิดประเทศใหม่คือ ประเทศมอนเตเนโกร และประเทศเซอร์เบียและมอนเตเนโกรเดิม ก็ได้กลายเป็น ประเทศเซอร์เบีย

สาธารณรัฐเซอร์เบีย ประกอบด้วย 2 มณฑล ได้แก่ โคโซโว และวอยโวดีนา (เดิมเซอร์เบียเป็นหนึ่งในสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวียซึ่งประกอบด้วย 2 รัฐ ได้แก่ เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเซอร์เบียและมอนเตเนโกร โดยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2549 มอนเตเนโกรได้มีการลงประชามติเป็นอิสระจากเซอร์เบีย จึงเหลือเพียงเซอร์เบียในปัจจุบัน)

ประเทศมอนเตเนโกร
มอนเตเนโกร (Montenegro) ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้

มอนเตเนโกร มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากร 660,000 คน

มอนเตเนโกร ในอดีตมีสถานะเป็น 1 ใน 6 สาธารณรัฐภายใต้สหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย (โครเอเชีย สโลวีเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และมาซิโดเนีย) ต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของเซอร์เบีย-มอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549

เมืองหลวงกรุงเบลเกรด (Belgrade)

ภาษาภาษาเซอร์เบียน (ภาษาราชการของประเทศ)

ภาษาโครเอเชียน(ภาษาราชการในวอยโวดีนา) ภาษาอัลแบเนียน (ภาษาราชการในโคโซโว)

ศาสนา คริสต์นิกายออร์ธอดอกซ์ 65% มุสลิม 19% โรมันคาธอลิก 4% โปรเตสแตนท์ 1% อื่นๆ 11%

สกุลเงินดีน่าร์ (dinar) และ ยูโร

วันชาติ(Day of Statehood) วันที่ 15 กุมภาพันธ์

การปกครองแบบ สาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งประธานาธิบดีได้รับเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ได้รับเลือกตั้งจากสภาสำหรับมณฑลอิสระโคโซโวอยู่ภายใต้การบริหารของสหประชา ชาติ

สถาบันการเมืองประกอบ ด้วยสถาบันหลัก คือ รัฐสภา ซึ่งมีลักษณะเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิก 250 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ มีวาระ 4 ปี





ท่องเที่ยวสาธารณรัฐซานมารีโน

คู่มือการท่องเที่ยวสาธารณรัฐซานมารีโน
สาธารณรัฐซานมารีโน (The Republic Of San Marino) เป็นประเทศในยุโรปใต้บนเทือกเขาแอเพนไนน์ ล้อมรอบโดยประเทศอิตาลี เป็นหนึ่งในจุลรัฐยุโรป

ประวัติศาสตร์
สาธารณรัฐ ซานมาริโน เป็นสาธารณรัฐที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ตั้งขึ้นในประมาณช่วงปี ค.ศ. 301 โดยช่างสกัดหินชาวคริสเตียนชื่อ Marinus the Dalmation ผู้หลบหนีอิทธิพลของจักรพรรดิโรมันชื่อ Diocletian ซึ่งต่อต้านคริสตศาสนา โดยหลบหนีมาจากเกาะ Arbe มาตั้งชุมชนชาวคริสต์ขนาดเล็กขึ้นที่ยอดเขา Titano บนเทือกเขา Apennines ต่อมา Marinus the Dalmation ได้เป็นนักบุญ (saint) ดังนั้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้ก่อตั้งชุมชน บริเวณดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า Community of San Marino และเปลี่ยนเป็น Land of San Marino และ Republic of San Marino ตามลำดับ ดินแดนของ San Marino ประกอบด้วยพื้นที่เฉพาะบริเวณยอดเขา Titano มาจนถึงปี ค.ศ. 1463 จากนั้น San Marino ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับสันตปาปา เพื่อต่อต้าน Sigismondo Pandolfo Malatesta, Lord of Rimini เมื่อได้รับชัยชนะ Pope Pius II Piccolomini จึงได้ยกเมือง Fiorentino, Montegiardino และ Serravalle ให้กับ San Marino ต่อมาในปีเดียวกัน เมือง Faetano ได้ขอเข้ามาอยู่ร่วมกับ San Marino ด้วยอีกแห่งหนึ่งดินแดนของ San Marino จึงขยายเพิ่มขึ้นและคงจำนวนพื้นที่ดังกล่าวมาจนปัจจุบัน
ดิน แดน San Marino ถูกกองกำลังต่างชาติเข้ายึดครอง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1503 Cesare Borgia หรือที่รู้จักกันในนาม Valentino เข้ายึดครองดินแดน แต่ San Marino เป็นอิสระได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี เมื่อ Valentino เสียชีวิตลง ต่อมา Cardinal Alberoni นำกองกำลังเข้ายึดครอง San Marino แต่ถูกชาวเมืองต่อต้านด้วยมาตรการไม่ให้การเชื่อฟัง (civil disobedience) และได้รับความช่วยเหลือจากสันตปาปาจนได้รับเอกราชกลับคืนมาในที่สุด โครงสร้างการปกครองแต่เดิมนั้น มีสภาที่เรียกว่า The Arengo ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นหัวหน้าครอบครัวจากแต่ละครอบครัว ต่อมาสภา Arengo ได้ส่งมอบอำนาจให้กับรัฐสภาในรูปแบบปัจจุบันที่เรียกว่า The Great and General Council ส่วนระบบผู้ครองนครร่วม (Co-chiefs of State หรือ Captains Regent) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1243

เมืองหลวงซานมาริโน

ภูมิศาสตร์
ซาน มารีโนถูกล้อมรอบด้วยประเทศอิตาลี ภูมิประเทศส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาแอเพนไนน์ โดยจุดที่สูงที่สุดอยู่ที่มอนเตตีตาโน ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 755 เมตร[1] ซานมารีโนไม่มีพื้นน้ำสำคัญใดๆ ภูมิอากาศของซานมารีโนเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน

วันชาต
3 กันยายน เป็นวันที่ระลึกการก่อตั้งสาธารณรัฐซานมารีโน

ศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก

ภาษาอิตาเลียน

สกุลเงินมีเงินเหรียญของตนเอง แต่นิยมใช้เงินยูโร


ท่องเที่ยวประเทศโครเอเชีย

คู่มือการท่องเที่ยวประเทศโครเอเชีย หรือ สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia)

ประเทศโครเอเชีย หรือ สาธารณรัฐโครเอเชีย (Republic of Croatia) 
มี ชื่อเรียกในภาษาเซิร์บและโครอัตว่า เฮอร์วัตสกา (Hrvatska)  พื้นที่ 56,542 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศรูปบูมเมอแรง ในยุโรปที่มีอาณาเขตจรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรปกลาง และบอลข่าน เมืองหลวงชื่อซาเกร็บ ในประวัติศาสตร์ปัจจุบัน โครเอเชียเคยเป็นสาธารณรัฐในยูโกสลาเวียเดิม แต่ได้รับเอกราชในพ.ศ. 2534 และได้สมัครเพื่อเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในอนาคต มีประชากรรวมทั้งประเทศจำนวน 4.4 ล้านคน (ปี 2549) ประกอบด้วยชาวโครอัท (89.6%) ชาวเซิร์บ (4.54%) และอื่นๆ ได้แก่ ชาวบอสเนีย ฮังกาเรียน สโลวีน เช็ก (5.9%)

ในอดีตโครเอเชียเคยรวมกับฮังการีมาตั้งแต่ปลายคริสต์สตวรรษที่ 11 ต่อมาได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ จักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในสมัยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1

หลังกจาสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โครเอเชียจึงสามารถแยกตัวเองเป็นรัฐอิสระได้ และรวมกับรัฐสลาฟใต้อื่นๆ มีชื่อเรียกว่า ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครอัต และ สโลวีเนีย (Kingdom of Serbs, Croats and Slovenes) ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ในปี พ.ศ. 2472
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มชาตินิยมชาวโครอัตไม่พอใจที่ประเทศปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ และ ถูกชี้นำโดยชาวเซิร์บซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ จึงเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออก จนกระทั่งประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2534 แล้วก็เกิดสงครามกลางเมืองในโครเอเชียครั้งรุนแรงอีกหลายครั้งในช่วงปี พ.ศ. 2535

โครเอเชียประกอบไปด้วยแคว้น ดัลมาเชีย ที่กินพื้นที่ทางตอนใต้แถบริมทะเลอาเดรียติก สลาโวเนีย อิสเทรีย ควาร์เนอร์ ลิกา-คาร์โลแวก และ โครเอเชียกลาง โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า กรุงซาเกรบ

ท่องเที่ยวเกาะ ฟาโร

ท่องเที่ยวเกาะ ฟาโร

ท่องเที่ยวกิบรัลต้า

คู่มือการท่องเที่ยวกิบรัลต้า

ท่องเที่ยวกรีนแลนด์

คู่มือการท่องเที่ยวกรีนแลนด์

ท่องเที่ยวกรีซ (Greece)

คู่มือการท่องเที่ยวกรีซ (Greece)
ประเทศกรีซ (Greece) หรือ มีชื่อประเทศเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป 

ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู่

ภูมิศาสตร์
ประเทศ กรีซประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่ในทางทิศใต้ไปจนถึงแหลมบอลข่านและเกาะมากมายกว่า 3,000 เกาะ รวมทั้งเกาะครีต (Vrete) เกาะโรด (Rhode) เกาะไคออส (Chios) เกาะเลสบอส (Lesbos) เกาะยูบีอา (Euboea) และหมู่เกาะโดเดคะนีส (Dodecanese) และพวกไซแคลดิกทางทะเลอีเจียน ที่เหมือนกับชาวกรีกบนหมู่เกาะไอโอเนียน กรีซมีแนวชายฝั่งทะเลยาว 15,000 กิโลเมตร และเส้นแบ่งเขตแดน ยาว 1,160 กิโลเมตร

ราวๆ 80% ของประเทศกรีซประกอบด้วยภูเขา และเนินเขา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กรีซเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีภูเขามากที่สุด ทางตะวันตกของกรีซจะเป็นทะเลสาบและพื้นที่ชื้นแฉะพินดัส เป็นภูเขาทางตอนกลางซึ่งมีความสูงถึง 2,636 เมตร เมื่อพิจารณาดูแล้ว ภูเขาพินดัสอาจจะมีการขยายออกมาจากเทือกเขาดิแนริดได้ แนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องกัน กลายเป็นแหลมเพโลพอนนีส เกาะคีทีรา (Kythera) และเกาะแอนติคีทีรา (Antikythera) พบที่จุดปลายของเกาะกรีก
ทาง ตอนกลางและทางตะวันตกของกรีซ เป็นที่สูงชัน มียอดเขาสูงที่แยกออก เป็นหุบเขาลึกมากมาย และมีลำธารระหว่างหุบเขาต่าง ๆ เช่น ช่องแคบ Meteora และ Vikos มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากแกรนด์แคนยอนในสหรัฐอเมริกา
ยอด เขาโอลิมปัสเป็นจุดที่สูงที่สุดของกรีซ คือ 2,919 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทางตอนเหนือก็ยังมีเทือกเขาสูง ๆ อีก อย่าง Rhodope ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมาซิโดเนียและเทรซ พื้นที่นี้ถูกปกคลุมไปด้วย ป่าทึบเก่าแก่ขนาดใหญ่ เหมือนกับ Dadia ที่เป็นที่รู้จักกัน

ทางตะวัน ออกของกรีซเต็มไปด้วยทุ่งกว้างมากมาย คือตรงตอนกลางของมาซิโดเนียและเทรซ โวลอสและลาริสซา เป็น 2 เมืองใหญ่ ของทางตะวันออกของกรีซ

สภาพอากาศ ของกรีซ แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เทือกเขาแอลป์ และ Temperate แบบแรก ภูมิประเทศแบบฝนตกในฤดูหนาว แห้งแล้งในฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ค่อยสูง อย่างไรก็ตามก็มีหิมะตกบางในกรุงเอเธนส์ หมู่เกาะซิคละดิส หรือเกาะครีตมีสภาพอากาศหนาว เทือกเขาแอลป์ก่อตัวมาจากทางตะวันตกของกรีซ สภาพอากาศแบบสุดท้ายก่อตัวจากทางตอนกลางและทางมาซิโดเนียตะวันออก เทรซ Xanthi และ Evros เหนือ มีอากาศหนาว ชื้น ในฤดูหนาว และ แห้งแล้งในฤดูร้อน เป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับกรุงเอเธนส์ที่ ตั้งอยู่ระหว่างสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับเทือกเขาแอลป์ ดังนั้นชานเมืองทางตอนใต้จะมีสภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในขณะที่ทางตอนเหนือมีสภาพอากาศแบบ เทือกเขาแอลป์

50% ของประเทศกรีซ ถูกปกคลุมไปด้วยป่า ที่มีพืชนานาชนิด จากเทือกเขาแอลป์ ป่าสนของทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ทะเล รอบ ๆ ประเทศกรีซ มีแมวน้ำ เต่าทะเล และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลที่หายากอาศัยอยู่ ในขณะที่ป่าของกรีซ เป็นที่บ้านหลังสุดท้ายของยุโรปตะวันตก ที่มีหมีสีน้ำตาล แมวป่า กวางโร แกะป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูป่า

ที่ตั้งและอาณาเขตกรีซ ตั้งอยู่ทางยุโรปตอนใต้ โดยอยู่ทางตอนใต้ของแหลมบอลข่าน และทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดแอลเบเนีย ยูโกสลาเวีย และบัลแกเรีย ทิศตะวันออกจรดตุรกี และทะเลอีเจียน ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกจรดทะเลไอโอเนียน

เมืองหลวงกรุงเอเธนส์ (Athens)

เมืองสำคัญ
1. เทสซาโลนิกิ (Thessaloniki) เป็นเมืองท่าและเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสอง อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
2. พาทราส (Patras) เป็นเมืองใหญ่อันดับสามและเมืองท่าทางตะวันตกของประเทศ
3. พิเรอุส (Piraus) เป็นเมืองท่าสำคัญ
นอกจากนั้นยังมีเมือง ลาริสสา (Larissa) อิราคลิออน (Iraklion)

สกุลเงินยูโร (Euro – EUR)

ภูมิอากาศสภาพอากาศโดยทั่วไปปกติมีอุณหภูมิสบายๆ ในฤดูหนาว อากาศหนาวเล็กน้อย ในฤดูร้อน อากาศร้อนและแห้ง

ภาษาภาษากรีก (ภาษาราชการ) และอื่นๆ (อังกฤษ และฝรั่งเศส)

ศาสนาคริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ (ร้อยละ 98) อิสลาม (ร้อยละ 1.3) และอื่นๆ (ร้อยละ 0.7)

วัฒนธรรม
กรีซ มีชื่อเสียงทางเรื่องศิลปะเป็นต้นแบบของงานสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเด่นและ สง่างามของเสาหินแบบวิหารพาร์เธนอน ที่ตกแต่งตรงส่วนบนของหัวเสาด้วยศิลปะแบบกรีกมี 3 แบบ คือ ดอริก, ไอโอนิก และคอรินเธียน จะเห็นเสาหินแบบกรีกเป็นส่วนตกแต่งด้านหน้าของอาคารสำคัญๆและสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นงานสถาปัตยกรรมเลื่องชื่อของโลกตามเมืองหลวงของประเทศต่างๆในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย สถานที่ทำงานสำคัญๆ ของประเทศที่มีชื่อเสียงต่างๆ ล้วนนำสถาปัตยกรรมศิลป์ของกรีซไปประยุคผสมผสาน ในการก่อสร้างเป็นการยอมรับในอารยธรรมที่รุ่งเรืองของกรีซโบราณและเป็นการ ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่เคยเฟื่องฟูในอดีตของกรีซไปทุกมุมโลกนอกจาก งานสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของกรีซที่เผยแพร่ไปทั่วโลกแล้ว งานจิตรกรรมและประติมากรรมของกรีซยังเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรดาพิพิธภัณฑ์และหอ ศิลป์ต่างๆ พยายามเสาะหามาเป็นสมบัติเก็บสะสมไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ถึงแม้งานศิลปะชั้นเยี่ยมของกรีซจะกลายเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของประเทศอื่นแต่กรีซก็ยังมีงานศิลปะโบราณอยู่ในประเทศอีกมาก



Saturday, March 28, 2015

ท่องเที่ยวทาจิกิสถาน (Tajikistan)

คู่มือการท่องเที่ยวทาจิกิสถาน (Tajikistan)
ทาจิกิสถาน (Tajikistan) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ประวัติศาสตร์
ทาจิกิสถานหลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ทา จิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปีค.ศ. 1990 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่ม Neo-communist และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิ กิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี 1997 จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmonov กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)

การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐ ทาจิกิสถานได้รับเอกราชภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ 9 กันยายน 2534 ก่อนได้รับเอกราชในปี 2533 การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) และปฏิรูป (Perestroika) ของนาย มิคาเอล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) อดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเกิดขบวนการชาตินิยมในทาจิกิสถานเช่นเดียวกับในรัฐอื่นๆ ของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้เกิดการจลาจลในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เนื่องจากมีข่าวลือว่าผู้อพยพชาวอาร์เมเนียจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองหลวง ของทาจิกิสถาน (ดูชานเบ) และต่อมาในปี 2535 นาย Rahmom Nabiyev ประธานาธิบดีทาจิกิสถานซึ่งเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ถูกบังคับโดยกลุ่มผู้เดิน ขบวนประท้วงให้ยอมรับรัฐบาลผสมที่เกิดจากการรวมกลุ่มอิสลามและกลุ่ม ประชาธิปไตย สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของประธานาธิบดี Nabiyev ผลักดันให้กลุ่มอิสลามและกลุ่มประชาธิปไตยถอนตัวออกจากรัฐบาลผสม และก่อตั้งกลุ่ม Neo-communist ขึ้น ในปี 2537 ประธานาธิบดี Nabiyev ได้ลาออกจากตำแหน่ง นาย Emomali Rahmon ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาในขณะนั้น จึงได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยปริยาย ในขณะเดียวกับที่ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลนำโดยพรรค Islamic Rebirth Party (IRP) ได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิ กิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี

นานาชาติ ได้พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของทาจิกิสถาน โดยเฉพาะรัสเซียและอิหร่าน ซึ่งได้มีส่วน ในการจัดการเจรจาระหว่างรัฐบาลทาจิกิสถานและกลุ่มต่อต้านให้มีการตกลงหยุด ยิงชั่วคราวในปี 2537 และได้ขอให้สหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา เลขาธิการสหประชาชาติจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์แห่งสห ประชาชาติ (the United Nation Mission of Observers in Tajikistan:UNMOT) เข้าดูแลกระบวนการสันติภาพ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเริ่มละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและมีการสู้รบเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเริ่มรุกเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

ใน ปี 2540 ด้วยความร่วมมือระหว่างอิหร่าน รัสเซีย และสหประชาชาติ สามารถโน้มน้าวให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่าง ประธานาธิบดี Emomali Rahmon กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ทำการดูแลการส่งผู้ลี้ภัยคืนถิ่น ตลอดจนการปลดอาวุธกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ และเริ่มกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างยุติธรรม

ใน ช่วงแรกภายหลังการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงยังได้รับการปฏิบัติตามไม่มากนัก ยังมีการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจากทั้งสองฝ่ายอยู่เรื่อยๆ แต่รัฐบาลทาจิกิสถานได้เรียกร้องให้ UNMOT ตลอดจนประเทศ ผู้ค้ำประกันความตกลงฯ ให้เข้ามามีบทบาทในการยุติการใช้กำลังอาวุธของกลุ่ม UTO โดย UNMOT ได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 70 คน เข้าไปสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในทาจิกิสถาน และจัดให้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจนกระทั่งสามารถจัดให้มี การเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งประธานาธิบดี Rakhmon ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน 2546 ได้มีการลงประชามติให้ประธานาธิบดี Rahmon สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก 2 สมัย (วาระ 7 ปี) ติดต่อ กันหลังจากหมดวาระในปี 2549 ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ทาจิกิสถานได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยมีผู้สมัครจำนวน 5 คน ซึ่งผลเป็นไปตามความคาดหมายคือประธานาธิบดี Rahmon ได้รับชัยชนะและปกครองประเทศต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่สำคัญ 3 พรรค คือ Islamic Revival Party Democratic Party และ Social Democratic Party ไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันและประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และพรรครัฐบาลจำกัดสิทธิพรรคการเมืองอื่นในการเข้าถึงสื่อทุกประเภท ในขณะที่องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ซึ่งส่งคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน 170 คน เพื่อติดตามการเลือกตั้งในทาจิกิสถานระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีสัญญาณของการแข่งขันอย่างแท้จริง และขาดตัวเลือกทางการเมือง (lack of political alternatives)

 
ระบบการเมืองประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ

ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้บริเวณเอเชียกลางของอดีตสหภาพโซเวียต ระหว่างอุซเบกิสถานและจีน โดยร้อยละ 90 ของภูมิประเทศเป็นภูเขา

พื้นที่143,100 ตารางกิโลเมตร

ประชากร7 ล้านคน (2550) แบ่งเป็น ชาวทาจิก รัอยละ 79.9 ชาวอุซเบก ร้อยละ 15.3 ชาวรัสเซีย ร้อยละ 1.1 คีร์กีซ ร้อยละ 1.1 อื่นๆ ร้อยละ 2.6

เมืองหลวงดูชานเบ (Dushanbe) (ประชากร 6 แสนคน)

ภาษาราชการภาษาทาจิก มีการใช้ภาษารัสเซียกันอย่างแพร่หลายในภาครัฐและภาคเอกชน และประมาณ 1/4 ของประชากรใช้ภาษาอุซเบก

ศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ ร้อยละ 85 นิกายชีอะห์ ร้อยละ 5 อื่นๆ ร้อยละ 10

ภูมิอากาศภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป (ฤดูหนาว อากาศหนาวจัด ฤดูร้อน อากาศร้อนจัด)

เวลาเร็วกว่ามาตรฐาน GMT 6 ชั่วโมง

สกุลเงินโซโมนิ (Somoni-TJS) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) = 3.2138 SM (กุมภาพันธ์ 2550)

วันชาติ9 กันยายน

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับทาจิกิสถาน
ปัจจุบัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวทาจิกิสถานเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีไม่ มากเท่าที่ควร (ในปี 2548 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 211 คน และปี 2549 จำนวน 252 คน) เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศ ส่งผลให้ศักยภาพของตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก







ท่องเที่ยวคาซัคสถาน (Kazakhstan)

คู่มือการท่องเที่ยวคาซัคสถาน (Kazakhstan)
คาซัคสถาน (Kazakhstan) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐคาซัคสถาน (Republic of Kazakhstan) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ครอบคลุมกว้างขวางในทวีปเอเชีย และเป็นสาธารณรัฐในอดีตสหภาพโซเวียต มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศในเอเชียกลาง ได้แก่ คีร์กีซถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน และมีชายฝั่งบนทะเลแคสเปียน คาซัคสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต
คาซัคสถานเป็นประเทศที่มี พื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก อย่างไรก็ดี มีพื้นที่กึ่งทะเลทราย (steppe) อยู่มาก จึงมีประชากรเป็นอันดับที่ 57 มีประมาณ 6 คน/ตร.กม.

ที่ตั้งอยู่ ในเขตเอเชียกลาง ทางตอนกลางของที่ราบ Eurasia ระหว่างรัสเซียและอุซเบกิซสถาน โดยทิศตะวันออกติดจีน ทิศตะวันตกติดทะเลสาบแคสเปียน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดคีร์กีซสถาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดเติร์กเมนิสถาน

พื้นที่2,717,300 ตารางกิโลเมตร (มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 9 ของโลก)


ระบอบการปกครองประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มีอำนาจเบ็ดเสร็จภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันคือนายนูร์ซุลตาน นาซาร์บาเยฟ (Nursultan Nazarbayev) (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2534)

เมืองหลวงกรุงอัสตานา (Astana) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีประชากรประมาณ 550,000 คน

ภูมิศาสตร์
ด้วย พื้นที่ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร (1.56 ล้านตารางไมล์) คาซัคสถานจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 9 ของโลก โดยมีขนาดพอ ๆ กับภูมิภาคยุโรปตะวันตก
เมืองใหญ่ของประเทศได้แก่ อัสตานา (เป็นเมืองหลวงตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2541) อัลมาตี (อดีตเมืองหลวง เคยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อัลมา-อะตา (Alma-Ata) และก่อน พ.ศ. 2460 (1917) ในชื่อเวียร์นืย) การากันดี ชิมเคนต์ เซเมย์ (เซมีปาลาตินสค์) และตูร์เคสถาน เคยเป็นที่รู้จักในชื่อ ยาซี
ลักษณะภูมิประเทศแผ่ขยาย จากตะวันออกจดตะวันตก ตั้งแต่ทะเลสาบแคสเปียนจนถึงแอ่งทาริม (ซินเจียง) และเทือกเขาอัลไต และจากเหนือจดใต้ ตั้งแต่ที่ราบไซบีเรียตะวันตกจนถึงโอเอซิสและทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียกลาง
ความ ยาวของพรมแดน: รัสเซีย 6,846 กิโลเมตร, อุซเบกิสถาน 2,203 กิโลเมตร, จีน 1,533 กิโลเมตร, คีร์กีซสถาน 1,051 กิโลเมตร และเติร์กเมนิสถาน 379 กิโลเมตร

แม่น้ำและทะเลสาบสำคัญได้แก่
ทะเลอารัล
แม่น้ำอีลี
แม่น้ำอีร์ติช
แม่น้ำอีชิม
ทะเลสาบบัลคัช
ทะเลสาบไซซัน

ภูมิอากาศทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีปฤดูหนาว หนาวจัด (ประมาณ -18 ถึง -30 องศาเซลเซียส) ฤดูร้อน ร้อนจัดและแห้ง (ประมาณ 20 – 35 อาศาเซลเซียส)

ประชากร 15.3 ล้านคน ประกอบด้วยชาวคาซัคร้อยละ 53 ชาวรัสเซียร้อยละ 30 ชาวยูเครนร้อยละ 3.7 ชาวอุซเบกร้อยละ 2.5ที่เหลือมีกว่า 100 เชื้อชาติร้อยละ 10.8 (ปี 2549)

ภาษาคาซัคเป็นภาษาราชการ (State Language) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 64.4ส่วนภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการ (Official) ที่มีคนใช้กว่าร้อยละ 95

ศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ร้อยละ 47 คริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ร้อยละ 44 โปรแตสแตนท์ ร้อยละ 2 อื่นๆ ร้อยละ 7

หน่วยเงินตราเต็งเก (Tenge-KZT) (เริ่มใช้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2536) อัตราแลกเปลี่ยน 123.78 เต็งเก เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)



การท่องเที่ยว
คา ซัคสถานมีสิ่งดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวคือ ความงดงามของธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของชาวมุสลิม คาซัคสถานจึงอาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจของชาวไทยในอนาคต ในขณะเดียวกัน เมื่อคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของคาซัคสถาน ประกอบกับความตั้งใจของผู้นำประเทศที่จะสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้ เกิดขึ้นแล้ว คาซัคสถานมีศักยภาพที่จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในเอเชียกลางได้ และชาวคาซัคซึ่งมีกำลังซื้อสูงขึ้นอาจเดินทางออกมาท่องเที่ยวนอกประเทศเพิ่ม ขึ้น รวมทั้งการเดินทางมายังประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่ สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันมีเที่ยวบินสายการบิน Air Astana ระหว่างกรุงเทพฯ – กรุงอัลมาตี สัปดาห์ละ 2 เที่ยว (อาทิตย์และพุธ) ใช้เวลาเดินทาง 6.45 ชั่วโมง โดยนักท่องเที่ยวจากกลุ่มเครือรัฐเอกราชเป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีการขยายตัวดี มาก และสถิตินักท่องเที่ยวจากคาซัคสถาน ปี 2549 มีจำนวน 10,773 คน (เพิ่มจากปี 2548 ที่มีจำนวน 4,745 คน)

สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทย
ที่ตั้ง Suite 4301, 43rd Floor, Jewelry Trade Center Building
919/501 Silom Road, Bangrak, Bangkok 10500
Tel: 0-22346365-6 Fax: 0-22346368


ท่องเที่ยวอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)

คู่มือการท่องเที่ยวอุซเบกิสถาน (Uzbekistan)
อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน (Republic of Uzbekistan) เป็นประเทศในเอเชียกลางที่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (doubly landlocked country) มีพรมแดนติดกับประเทศอัฟกานิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ประวัติศาสตร์
พระ เจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดครองดินแดนของประเทศอุซเบกิสถานเมื่อปี 367 ก่อนคริสตกาล ในภายหลังดินแดนนี้ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เซียในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 6 ก่อนจะถูกยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกลของเจงกีส ข่าน เมื่อ ค.ศ. 1220
ในศตวรรษที่ 13 ขุนศึกชื่อ ติเมอร์ (Timur; Tamerlane) ได้มีอำนาจเหนือมองโกลและตั้งอาณาจักรของตนเองขึ้นที่เมืองซามาร์คันด์ ซึ่งติเมอร์ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ในการสร้างชาติอุซเบกิสถานในยุคปัจจุบัน
คริสต์ ศตวรรษที่ 19 เมื่อจักรวรรดิรัสเซียได้ขยายอำนาจมาในย่านเอเชียกลาง อุซเบกิสถานได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสหภาพโซเวียต มีชื่อว่าสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตอุซเบกิสถาน ก่อนจะได้รับอิสรภาพหลังจากการล่มสลายของโซเวียตเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991

รูปแบบการปกครองประชาธิปไตยในแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ที่ตั้งภูมิภาคเอเชียกลาง ทางเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน

พื้นที่447,400 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นทะเลทรายล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง

ประชากร27.7 ล้านคน (2549) ประกอบด้วยชาวอุซเบกร้อยละ 80 รัสเซียร้อยละ 5.5 ทาจิกร้อยละ 5 คาซัคร้อยละ 3 คาราคาลปักร้อยละ 2.5 ตาตาร์ร้อยละ 1.5 อื่นๆ ร้อยละ 2.5

ภาษา
ร้อยละ 74.3 รัสเซียร้อยละ 14.2 ทาจิกร้อยละ 4.4 อื่นๆ ร้อยละ 7.1

ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่ ร้อยละ 88 คริสต์นิกายอีสเทิร์นออโธด๊อกซ์ ร้อยละ 9 อื่นๆ ร้อยละ 3

เมืองหลวงทาชเคนต์ (Tashkent) (ประชากร 2.5 ล้านคน)

ภูมิอากาศทะเลทรายแบบภาคพื้นทวีป หน้าร้อนๆ นาน หน้าหนาวอากาศเย็นสบาย

เวลาเร็วกว่ามาตรฐาน GMT 5 ชั่วโมง

สกุลเงินซุม-Soum (UZS) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 1,219.8ซุม (กรกฎาคม 2549)

วันชาติ1 กันยายน (วันประกาศเอกราช)






ท่องเที่ยวอินโดนีเซีย

คู่มือการท่องเที่ยวอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน แต่ต่อมาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์อยู่นานประมาณ 300 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นบุกอินโดนีเซีย และทำการขับไล่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมของอินโดนีเซียออกไปได้สำเร็จ จึงทำให้ผู้นำอินโดนีเซียคนสำคัญ ๆ ในสมัยนั้นให้ความร่วมมือกับญี่ปุ่น แต่ไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับญี่ปุ่นมากนัก เพราะมีเหตุเคลือบแคลง คือ เมื่อมีผู้รักชาติชาวอินโดนีเซียจัดตั้งขบวนการต่าง ๆ ขึ้นมา ญี่ปุ่นจะขอเข้าร่วมควบคุมและดำเนินงานด้วย

เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามและ ประกาศยอมจำนนต่อฝ่ายพันธมิตร อินโดนีเซียได้ถือโอกาสประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 แต่เนเธอร์แลนด์เจ้าอาณานิคมเดิมไม่ยอมรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย จึงยกกองทัพเข้าปราบปราม ผลจากการสู้รบปรากฏว่าเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถปราบปรามกองทัพอินโดนีเซีย อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรกับเนเธอร์แลนด์จึงเข้ามาช่วยเคลียแล้วโชว์เพาว์ เพื่อให้ยุติความขัดแย้งกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงลิงกัดยาติ (Linggadjati Agreement) เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยเนเธอร์แลนด์ยอมรับอำนาจของรัฐบาลอินโดนีเซียในเกาะชวาและสุมาตรา ต่อมาภายหลัง เนเธอร์แลนด์ได้ละเมิดข้อตกลง โดยได้นำทหารเข้าโจมตีอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลีย และอินเดียได้ยื่นเรื่องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าจัดการ สหประชาชาติได้เข้าระงับข้อพิพาท โดยตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย ออสเตรเลีย เบลเยียม และสหรัฐอเมริกา เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม และได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง แต่เนเธอร์แลนด์ได้เข้าจับกุมผู้นำคนสำคัญของอินโดนีเซีย คือ ซูการ์โนและฮัตตาไปกักขัง ต่อมาทหารอินโดนีเซียนำตัวผู้นำทั้งสองออกมาได้ ในระยะนี้ทุกประเทศทั่วโลกต่างตำหนิการกระทำของเนเธอร์แลนด์อย่างยิ่ง และคณะมนตรีความมั่นคงได้กดดันให้เนเธอร์แลนด์มอบเอกราชแก่อินโดนีเซีย

ใน วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2492 อินโดนีเซียได้รับเอกราช แต่ความยุ่งยากยังคงมีอยู่ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ไม่ยินยอมให้รวมดินแดนอิเรียนตะวันตกเข้ากับ อินโดนีเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงต่างเตรียมการจะสู้รบกันอีก ผลที่สุด เนเธอร์แลนด์ก็ยอมโอนอำนาจให้สหประชาชาติควบคมดูแลดินแดนอิเรียนตะวันตก และให้ชาวอิเรียนตะวันตกแสดงประชามติว่าจะรวมกับอินโดนีเซียหรือไม่ ผลการออกเสียงประชามติ ปรากฏว่าชาวอิเรียนตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการรวมกับอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงโอนอิเรียนตะวันตกให้อยู่ในความปกครองของอินโดนีเซียเมื่อ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506

ความเป็นมาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
- ในอดีตหมู่เกาะต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันยังไม่มีการรวมตัวกันเป็นรัฐ เดียว แต่ได้แยกกันเป็นแคว้นต่างๆ หลายแคว้น จนกระทั่งชาวดัทช์ได้เข้ามาปกครอง แต่เดิมหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้านการค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธ จนกระทั่งอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ในศตวรรษที่ 13
- ในศตวรรษที่ 15 อินโดนีเซียเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรปเนื่องจากเป็นแหล่งเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกสและสเปนได้เริ่มเข้ามาในภูมิภาคในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 16 และ โปรตุเกสได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคม การจัดตั้งบริษัท ดัทช์ อีส อินเดีย หรือ Vereniging Oost Indische
Compagnie-VOC ใน พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียใน

รูปแบบอาณานิคม
- ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดกระแสชาตินิยมในอินโดนีเซียต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคม ใน พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นมีชัยชนะเหนือบริษัทดัทช์ อีสท์ อินเดีย และได้เข้าปกครองอินโดนีเซียระยะหนึ่ง หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มชาตินิยม นำโดย ซูการ์โนและฮัตตา ได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินโดนีเซีย ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 อย่างไรก็ตาม ยังมีการต่อสู้กันระหว่างอินโดนีเซียกับดัทช์ ซึ่งพยายามกลับมาปกครองอินโดนีเซียในฐานะเจ้าอาณานิคม จนกระทั่ง 27 ธันวาคม 2488 ดัทช์จึงได้ยอมมอบเอกราชให้แก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์

- อินโดนีเซียได้ขยายเขตแดนของประเทศ 3 ครั้ง ได้แก่ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2506 ภายหลังจาก Dutch New Guinea หรือ Irian Jaya ในปัจจุบันได้รับเอกราช อินโดนีเซียได้ประกาศผนวกดินแดนในเดือนกันยายน 2512 ต่อมา ในปี 2518-2519 อินโดนีเซียได้บุกเข้ายึดครองและผนวกดินแดนติมอร์ตะวันออก ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส และได้ประกาศผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในเดือนกรกฎาคม 2519 แต่ประชาคมระหว่างประเทศไม่ยอมรับการอ้างสิทธิเหนือติมอร์
ตะวันออกของอินโดนีเซีย จนทำให้สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทดำเนินการให้
ติมอร์ตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) กลายเป็นประเทศอิสระ เมื่อ 20 พฤษภาคม 2545
- ในเดือนเมษายน 2525 นานาชาติได้ประกาศให้การยอมรับการอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเล ซึ่งเชื่อมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ทำให้อินโดนีเซียสามารถประกาศให้พื้นที่ทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศ ได้ในปี 2526

รูปแบบการปกครอง
ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ที่ตั้ง
อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
  • หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
  • หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์
  • หมู่เกาะมาลุกุ หรือ หมู่เกาะเครื่องเทศ ตั้งอยู่ระหว่างสุลาเวสี กับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
  • อีเรียนจายา อยู่ทางทิศตะวันตกของปาปัวนิวกินี
  • อินโดนีเซียตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทร อินเดีย และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทำให้อินโดนีเซียสามารถควบคุมเส้นทางการติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง ผ่านช่องแคบที่สำคัญต่างๆ เช่นช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบล็อมบอก ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก

เมืองหลวง
จาการ์ตา

เมืองสำคัญ
จาการ์ตา สุราบายา บันดุง เมดาน เซมารัง ปาเลมบัง

ภูมิอากาศ
อินโดนีเซียมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน)

ศาสนา
ชาวอินโดนีเซียร้อยละ 87 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 6 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ ร้อยละ 3.5 นับถือศาสนาคริสต์นิกายแคทอลิก
ร้อยละ 1.8 นับถือศาสนาฮินดู และร้อยละ 1.3 นับถือศาสนาพุทธ

ภาษา
ภาษาประจำชาติ ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย หรือ Bahasa Indonesia

การศึกษา
ร้อยละ 90 ของประชากรสามารถอ่านออกเขียนได้ อินโดนีเซียมีมหาวิทยาลัยของรัฐ 49 แห่ง และของเอกชนกว่า 950 แห่ง

เขตการปกครอง
อินโดนีเซียแบ่งการปกครองเป็น 30 จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ 3 เขต ได้แก่ กรุงจาการ์ตา นครย็อกยาการ์ตา และจังหวัดอาเจห์

สกุลเงิน
รูเปียห์ (Rupiah) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ประมาณ 9,500 รูเปียห์ (มกราคม 2549)



สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยแล้วการท่องเที่ยวในประเทศอินโดนีเซีย ก่อนหน้านี้ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก แต่หลังจากที่ สายการบินหางแดง สายการบินหนึ่งได้มีโปรโมชั่นบินในราคาจูงใจบ่อยๆ เลยทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทย ได้มีโอกาสไปสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ประเทศอินโดนีเซียกันมากขึ้น

คนไทยที่ไปเที่ยวอินโดนีเซียส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะไปเที่ยวที่ บาหลี ซึ่งเป็นเมืองชื่อดังของประเทศอินโดนีเซีย ที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมุ่งหน้าไปเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก




ท่องเที่ยวอาร์เมเนีย (Armenia)

คู่มือการท่องเที่ยวอาร์เมเนีย (Armenia)
อาร์เมเนีย (Armenia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์เมเนีย (Republic of Armenia) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส (Transcaucasus) มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์เมเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์เมเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

การเมืองระบบการเมืองของอาร์เมเนียเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

สถาบันทางการเมือง
ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาเดียว คือ สภาแห่งชาติ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทุก ๆ 4 ปี มี 131 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว (one-mandate electoral districts) จำนวน 75 ที่นั่ง และแบบบัญชีรายชื่อ (party lists) จำนวน 56 ที่นั่ง

ฝ่ายบริหาร  
  1. ประธานาธิบดี เป็นประมุข อยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนเดียวกันจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ มีอำนาจในการบริหารประเทศและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจำนวน 25 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
  2. นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี โดยคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรี 25 คน (21 กระทรวง)
ฝ่ายตุลาการ 
ศาลฎีกา (9 คน) ศาลรัฐธรรมนูญ (9 คน)

ภูมิศาสตร์
ประ เทศอาร์เมเนียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัสและอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลแคสเปียน โดยทางเหนือติดกับประเทศจอร์เจียและอาร์เซอร์ไบจาน ทางใต้ติดกับประเทศอิหร่านและตุรกี




ท่องเที่ยวอาเซอร์ไบจาน (Azerbaycan)

คู่มือการท่องเที่ยวอาเซอร์ไบจาน (Azerbaycan)
อาเซอร์ไบจาน (Azerbaycan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน (Republic of Azerbaijan) เป็นประเทศในแถบเทือกเขาคอเคซัส บริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อของภูมิภาคยุโรปตะวันออกกับเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทิศตะวันออกจรดทะเลแคสเปียน ทิศเหนือติดต่อกับสหพันธรัฐรัสเซีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับจอร์เจีย ทิศตะวันตกติดต่อกับอาร์เมเนีย และทิศใต้ติดต่อกับอิหร่าน อาเซอร์ไบจานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

สาธารณรัฐ ปกครองตนเองนาคีเชวาน (ดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) มีอาณาเขตติดต่อกับอาร์เมเนียทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดต่อกับอิหร่านทางทิศใต้และทิศตะวันตก และติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนเขตนากอร์โน-คาราบัคทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ได้ประกาศเอกราชจากอาเซอร์ไบจานในปี พ.ศ. 2534 แต่ไม่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ

ประวัติศาสตร์พอสังเขป
นัก ประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอาเซอร์ไบจานสืบเชื้อสายมาจากชนชาติ Seljuk Turks และชาว เปอร์เซียนโบราณ และสันนิษฐานว่าชื่อประเทศในปัจจุบันมาจากภาษาเปอร์เซียนโบราณที่แปลว่า “ดินแดนแห่งไฟ” เนื่องจากดินแดนแถบนี้มีทรัพยากรน้ำมันอุดมสมบูรณ์และมีสถานะเป็นศูนย์กลาง ของลัทธิโซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) ซึ่งเป็นกลุ่มชนโบราณที่บูชาไฟ

ดินแดน ของอาเซอร์ไบจานถูกครอบครองโดยชนเผ่าเติร์กตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 จึงทำให้ได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมแบบมุสลิม ศาสนา และภาษาโดยกลุ่มชนดังกล่าวกว่าหลายศตรวรรษ ต่อมาได้ถูกยึดครองโดยชาวมองโกลตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-15 และชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในศตวรรษที่ 16 ส่งผลให้อาเซอร์ไบจานรับเอาศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์เป็นนิกายประจำชาติ หลังจากนั้น อาเซอร์ไบจานได้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของหลายชนชาติ อาทิ รัสเซีย เปอร์เซีย และออตโตมัน ด้วยเหตุที่เป็นดินแดนที่มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นสะพานเชื่อมต่อ ระหว่างทวีปยุโรปกับเอเชียกลาง รวมทั้งอยู่ติดกับทะเลสาบแคสเปียนซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำมันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในที่สุดรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Turkmenchay กับเปอร์เซีย ในปี ค.ศ. 1828 เพื่อแบ่งดินแดนของอาเซอร์ไบจานออกจากอาณาจักรเปอร์เซีย และได้ใช้เริ่มสำรวจและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันในอาเซอร์ไบจานนับแต่ นั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นในบริเวณดังกล่าวในช่วงก่อนสงคราม โลกครั้งที่ 1

อาเซอร์ไบจานได้ประกาศเอกราชครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1918 หลังจากที่จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลง 1 ปี แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1920 กองทัพแดงของ Bolshevik ได้เข้ารุกรานและมีชัยชนะเหนืออาเซอร์ไบจานรวมทั้งดินแดนอื่นๆ ในส่วนที่เรียกว่า Transcaucasia (ได้แก่ จอร์เจีย อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบจาน) ส่งผลให้ในปี ค.ศ. 1922 อาเซอร์ไบจานได้ถูกผนวกเข้ากับสหภาพโซเวียตในฐานะส่วนหนึ่งของ Transcaucasia Soviet Federated Socialist Republic (SFSR) ร่วมกับจอร์เจียและอาร์เมเนีย และได้กลายเป็นสาธารณรัฐหนึ่งในสหภาพโซเวียต (Azerbaijan Soviet Socialist Republic) เมื่อ Transcaucasia SFSR ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1936 หลังจากนั้น นับแต่ทศวรรษ 1980 อาเซอร์ไบจานประสบกับความวุ่นวายภายในประเทศ รวมทั้งได้เกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกองทัพสหภาพโซเวียต ซึ่งส่งผลให้ชาวอาเซอร์ไบจานที่เรียกร้องเอกราชในกรุงบากูเสียชีวิตลงจำนวน 190 คนในปี ค.ศ. 1990 และต่อมาเมื่อสหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991 อาเซอร์ไบจานก็ได้ประกาศเอกราช

เมืองหลวงกรุง บากู (Baku) และเป็นเมืองท่าสำคัญ ประชากรจำนวน 1.8 ล้านคน นอกจากนี้ ยังมีเมือง Sumgayit ซึ่งเป็นเมืองท่าริมชายฝั่งทะเลสาบแคสเปียน และเป็นศูนย์อุตสาหกรรมสำคัญอันดับสองรองจากกรุงบากู และ Ganca เมืองอุตสาหกรรมทางตะวันตก
ภูมิอากาศอากาศ หนาวในเขตเทือกเขาคอร์เคซัสทางภาคเหนือของอาเซอร์ไบจาน ส่วนบริเวณที่ราบ Kura อากาศเย็นสบาย และมีอากาศแบบเขตร้อนบริเวณที่ราบต่ำ Lenkoran ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของชายฝั่งแคสเปียน (ประมาณ 27 องศาเซลเซียส ในเดือนกรกฎาคม และ 1 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม)

ภาษาราชการภาษาอาเซอรี และมีการใช้ภาษารัสเซียนและอาร์เมเนียนบ้าง และใช้ภาษาอังกฤษเฉพาะในเมืองหลวงและเมืองสำคัญบางแห่ง

ศาสนาอิส ลาม (ชีอะห์) ร้อยละ 93.4 คริสต์นิกายรัสเซียนออโธดอกซ์ ร้อยละ 2.5 คริสต์นิกายอาร์เมเนียนออโธด็อกซ์ ร้อยละ 2.3 อื่น ๆ ร้อยละ 1.8

หน่วยเงินตรามานัท (Manat)
อัตราแลกเปลี่ยน 0.894 Manat = 1 USD (ปี 2549)
หมายเหตุ - ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2549 ได้มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ให้ 1 Manat แบบใหม่ มีค่าเท่ากับ 5,000 Manat แบบเก่า

ระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญรับรองโดยประชาชนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995



ท่องเที่ยวอัฟกานิสถาน

คู่มือการท่องเที่ยวอัฟกานิสถาน
อัฟกานิสถาน (ภาษาดารี (เปอร์เซียน) และ ภาษาพาชตู (อัฟกัน) : เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกจรดปากีสถาน ทางทิศเหนือจรดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดจรดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงในเขตเทือกเขาฮินดูกูซ จุดต่ำสุดอยู่ที่แม่น้ำอมู สูง 258 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลไม่มีทางออกทะเล
ระหว่าง การล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของ โลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

การปกครอง
อัฟกานิสถาน เคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็น ประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน 
ระหว่างการยึดครองของ สหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกัน จัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึง ปี 2544

หลังเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Binladen) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอดจนถึง ปัจจุบัน

ประชากร
เชื้อชาติ: ปุชตู 42% ทาจิก 27% ฮาซารา 9% อุซเบก 9% เติร์กเมน 3% บาลอช 2% อื่นๆเช่น ปาไช นูริสตานี บราหุ่ย และคิซิลเบช 4%
การอ่านออกเขียนได้: ตั้งแต่อายุ 15 ปี ร้อยละ 36 (เป็นชาย 51% หญิง 21%)

ภาษา
ภาษา พาซตู 35% ภาษาดารี 56% ภาษากลุ่มเติร์ก (ส่วนใหญ่เป็นภาษาอุซเบก และภาษาเติร์กเมน) 11% และภาษาของชนเผ่าอีก 30 ภาษา รวมเป็น 4% ประชากรส่วนใหญ่พูดได้ 2 ภาษา

ศาสนาใน อดีตประเทศอัฟกานิสถานได้นับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้าเมนันเดอร์ หรือ มิลินท์และพระนาคเสน ก็เป็นประจักษ์พยานของการมีอยู่ของพระพุทธศาสนาในอดีต และมีหลักฐาน เช่น พระพุทธรูปบามิยัน ที่เมืองบามิยันซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี แต่ต่อมาในยุคหลังได้ถูกพวกตาลีบันทำลายทิ้งทั้งหมด
ชาว อัฟกานิสถานในปัจจุบันส่วนมากนับถือศาสนาอิสลาม98 %(สุหนี่83.2 % ชีอะห์ 14.9 %) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ 1.4 % ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.4 % ศาสนาคริสต์ 0.1 %





ท่องเที่ยวศรีลังกา (Sri Lanka)

คู่มือการท่องเที่ยวศรีลังกา (Sri Lanka)
ศรีลังกา (Sri Lanka) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (Democratic Socialist Republic of Sri Lanka) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีป อินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลงกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 และเป็นชื่อที่ยังคงใช้ในบางโอกาส ซึ่งชื่อในปัจจุบันคือ ศรีลังกา ชีวิตบนเกาะนี้ ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ระหว่างรัฐบาล และกบฏแบ่งแยกทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam) ซึ่งได้มีข้อตกลงหยุดยิงเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)

ประวัติโดยสังเขปชาว สิงหลจากอินเดียตอนใต้เข้ามาตั้งรกรากที่ประเทศศรีลังกา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ส่วนศาสนาพุทธได้เริ่มเผยแผ่ในศรีลังกาเมื่อกลางศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล สำหรับอารยธรรมในดินแดนนี้ได้ถือกำเนิดเป็นเมือง (เมื่อราว 200 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสตศักราชที่ 1000) และเมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์หนึ่งทางอินเดียตอนใต้ได้ยึดอำนาจในบริเวณตอนเหนือของเกาะ และได้ก่อตั้งราชอาณาจักรทมิฬ ต่อมาศรีลังกาถูกยึดครองโดยโปรตุเกสในคริสตศตวรรษที่ 16 และถูกยึดครองโดยดัตช์ในคริสตศตวรรษที่ 17 ในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษอย่างสิ้นเชิงในปี ค.ศ.1815 ศรีลังกาได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ.1948 และได้เปลี่ยนชื่อจาก Ceylon เป็นศรีลังกาเมื่อปี ค.ศ.1972

ความขัดแย้งระหว่างชาวสิงหลซึ่งเป็นคน ส่วนใหญ่กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทมิฬได้ปะทุขึ้นเป็นสงครามเมื่อปี ค.ศ.1983 เนื่องจากชาวทมิฬต้องการปกครองตนเอง ทำให้ประชาชนหลายพันคนเสียชีวิต เนื่องมาจากการปะทะกันระหว่างสองกลุ่มนี้ การต่อสู้ได้ดำเนินมาถึง 2 ทศวรรษ ต่อมารัฐบาลและกบฎพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam, LTTE) ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.2002 โดยนอร์เวย์เป็นตัวกลางในการเจรจา

ที่ตั้งเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากตอนใต้ของอินเดียประมาณ 80 กิโลเมตร

เมืองหลวงกรุงโคลัมโบ (Colombo)

เมืองสำคัญต่าง ๆแคนดี้ เป็นเมืองสำคัญทางศาสนา มีพระบรมสารีริกธาตุ(พระเขี้ยวแก้ว) และมีต้นพระศรีมหาโพธิ์เก่าแก่
รัตนะปุระเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านอัญมนีของประเทศศรีลังกา

ภูมิอากาศอากาศ ช่วงพื้นที่ราบลุ่ม ภูมิอากาศของโคลัมโบจะอยู่ประมาณที่ 27 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ราบสูงอากาศจะเย็น อุณหภูมิสามารถลงถึง 16 องศาเซลเซียส จากภูเขาที่มีความสูง 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แดดออกตลอดทั้งวัน ช่วงลมมรสุมอากาศของศรีลังกา ลมมรสุมทางตะวันออกเฉียงใต้จะพาฝนมาด้วยตั้งแต่เดือน พ.ค. ถึง ก.ค. และพัดต่อไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทางตอนใต้และทางภาคกลาง แต่ภาคเหนือและภาคตะวันออกจะได้รับอิทธิพลลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ม.ค.


เชื้อชาติสิงหล ร้อยละ 74 ทมิฬ ร้อยละ 8 แขกมัวร์ (มุสลิมจากอินเดียและตะวันออกกลาง) ร้อยละ 7 และอื่น ๆ คือ พวกเชื้อชาติเบอร์เกอร์ เวดด้า และมาเลย์

ภาษาภาษาสิงหล (ภาษาราชการและภาษาประจำชาติ) ภาษาทมิฬ (เป็นภาษาประจำชาติเช่นกัน) และภาษาอังกฤษใช้ติดต่อสื่อสารทั่วไปในภาครัฐ

ศาสนาพุทธศาสนาร้อยละ 70 ฮินดูร้อยละ 7 คริสเตียนร้อยละ 6 อิสลาม ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 10

วันสำคัญวันชาติ (Independence Day) วันที่ 4 กุมภาพันธ์

การศึกษาอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 92.3 (ปี2547) เพศชาย ร้อยละ 94.8 และเพศหญิง ร้อยละ 90

หน่วยเงินตรารูปีศรีลังกา (Sri Lankan Rupee) 1 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 113.1 รูปี (กุมภาพันธ์ 2558)






ท่องเที่ยวมัลดีฟส์ (Republic of Maldives)

คู่มือการท่องเที่ยวมัลดีฟส์ (Republic of Maldives)
มัลดีฟส์ หรือ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (Republic of Maldives) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมาก ในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ ประเทศอินเดียและศรีลังกา (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที จากกรุงโคลัมโบโดยเครื่องบิน)

ภูมิประเทศ พื้นที่ความยาวจากเหนือจรดใต้ 820 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 120 กิโลเมตร แต่เป็นพื้นที่ดินรวมเพียง 300 ตารางกิโลเมตรมีจุดสูงสุดเพียง 2.3 เมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการัง 26 กลุ่ม (atoll) รวม 1,190 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่เพียงประมาณ 200 เกาะ และได้รับการพัฒนาเป็นโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว 74 เกาะ ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 – 30 C (18-90 F) ตลอดทั้งบีช่วงที่ปราศจากมรสุม ได้แก่ ช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม

มัลดีฟส์ เป็นประเทศที่มีภูมิประเทศโดดเด่น พื้นที่ของประเทศทั้งหมดประกอบด้วยน้ำถึงร้อยละ 97 ส่วนที่เป็นพื้นดิน คือเกาะต่างๆ ที่เกิดจากการทับถมของแนวปะการัง เกาะเหล่านี้วางตัวเรียงรายกันคล้ายวงแหวน เรียกว่า Atoll* ซึ่งรวมแล้วมัลดีฟส์มีอะทอลวางตัวในแนวเหนือใต้ทั้งหมด 26 อะทอล โดยทั้ง 26 อะทอลแบ่งย่อยเป็นอะทอลการปกครองได้ 19 เขตการปกครอง และ 1 เขตการปกครองพิเศษ คือ มาเล่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในบรรดาเกาะทั้ง 1,190 เกาะของมัลดีฟส์ มีเพียง 200 เกาะเท่านั้นที่มีคนอยู่อาศัย บางเกาะอาจเป็นที่ตั้งของรีสอร์ทใดรีสอร์ทหนึ่งกินบริเวณทั่วทั้งเกาะ
* กล่าวกันว่า อะทอล คือแนวปะการังที่เกิดล้อมรอบแนวฐานภูเขาไฟ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ภูเขาไฟตรงกลางยุบตัวลงใต้มหาสมุทร คงเหลือแนวปะการังที่ทับถมกันเป็นกลุ่มเกาะขนาดย่อยๆ วางตัวกันเป็นวงกลมบ้างไม่กลมบ้าง


การเดินทางภายในมัลดีฟส์เนื่อง ด้วยภูมิประเทศที่ประกอบด้วยเกาะปะการังนับพัน วิธีเดินทางจากสนามบินนานาชาติมาสู่เกาะต่างๆรวมถึงการเดินทางระหว่างเกาะใน มัลดีฟส์ คือการเดินทางด้วยเรือ ทั้งเรือเร็วหรือสปีดโบ๊ตซึ่งเป็นที่นิยมในการใช้รับส่งแขกจากรีสอร์ทต่างๆ และการเดินทางด้วยเรือพื้นเมืองที่เรียกว่า โดนิ(Dhoni) ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก และยังเป็นการช่วยอนุรักษ์แนวปะการังใกล้เกาะไม่ให้เสียหายจากเครื่องยนต์ ของเรือโดยสารขนาดมหึมา บางแห่งมีการดัดแปลงเรือประมงหรือMasdhoni ซึ่งมีขนาดใหญ่และแล่นได้เร็วกว่าโดนิทั่วไป มาใช้รับส่งผู้โดยสารหรือให้เช่าเหมาลำไปตามแหล่งดำน้ำต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบริการเรือเฟอร์รี่ขนาด 280 ที่นั่ง แล่นระหว่างเมืองมาเล่กับอะทอลอัดดู ออกทุกสัปดาห์ และเรือซาฟารี ที่ให้บริการนำเที่ยวพร้อมที่พัก อาหาร เครื่องอำนวยความสะดวก อาทิ เครื่องออกกำลังกาย เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ความบันเทิง ตลอดระนยะเวลาการเดินทาง และเรือเฟอร์รี่บริการจากสนามบินนานาชสติถึงเมืองมาเล่ ค่าบริการคนละ 1 ดอลลาร์สหรัฐ(กลางวัน) และ 2 ดอลลาร์สหรัฐ(กลางคืน) การเดินทางโดยเครื่องบินเล็ก หรือ Sea-plane นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางภายในมัลดีฟส์ มีเที่ยวบินระหว่างเมืองมาเล่สู่เกาะอื่นๆ อาทิ เกาะเคาเดดูห์ และ เกาะจานในอะทอลอัดดู หรือเกาะฮานิมาดูห์ในทางตอนเหนือของประเทศ สำหรับการเดินทางทางบก ในมัลดีฟส์มีถนนสำหรับรถวิ่งอยู่เฉพาะในเมืองมาเล่และอะทอลอัดดูเท่านั้น และเนื่องจากแต่ละเกาะมีพื้นที่ขนาดกะทัดรัด ผู้คนจึงนิยมเดินและปั่นจักรยานมากกว่าใช้รถยนต์ 

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินทางช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินทาง คือ ระหว่างเดือนธันวาคม ถึง เดือนเมษายน


วีซ่านักท่องเที่ยวสามารถขอ Visa on Arrival ได้เมื่อไปถึงมัลดีฟส์ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ วีซ่ามีอายุ 30 วัน


การจับจ่ายใช้สอยหน่วยเงินของมัลดีฟส์เรียกว่า รูฟิยา(Rufiya: MVR)
1 รูฟิยาแบ่งย่อยออกเป็น 100 ลาริ มีธนบัตรขนาด 500, 100, 50, 20, 10 และ 5 รูฟิยา เหรียญขนาด 2 และ 1 รูฟิยา และ 50, 25, 10, 5, 2 และ 1 ลาริ อัตราแลกเปลี่ยน (ณ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550)
1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 12.95 รูฟิยา หรือ 1 รูฟิยา เท่ากับ 2.7 บาท
สกุล เงินต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับในมัลดีฟส์ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอริง ยูโร ฟรังก์สวิส ดอลลาร์ออสเตรเลีย และเยนญี่ปุ่น ซึ่งสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินรูฟิยาได้ที่ธนาคาร โรงแรม รีสอร์ท และร้านค้าชั้นนำ
นักท่องเที่ยวสามารถใช้เงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐจับจ่าย ซื้อของแทนเงินท้องถิ่น ที่พัก และร้านค้าส่วนใหญ่รับบัตรเครดิต สินค้ายอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนมัลดีฟส์ คืองานหัตถกรรมพื้นเมือง งานฝีมือและของตกแต่งบ้านจากผลิตภัณฑ์จากทะเล ปลาแห้ง และ ปลากระป๋องซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของที่นี่


เทศกาลสำคัญเช่น เดียวกับชาติมุสลิมอื่นๆ เทศกาลสำคัญๆ ของชาวมัลดีฟส์เป็นเทศกาลตามคติศาสนาอิสลาม ซึ่งยึดถือเอาปฏิทินจันทรคติของอิสลามเป็นที่ตั้ง อาทิ

Ramadan ช่วงเดือนเก้าของปฏิทินจันทรคติของอิสลามถือเป็นเดือนรอมฎอน หรือเดือนถือศีลอด

Eid-ul lhaa
เทศกาลบวงสรวง ตรงกับวันที่ 10 เดือน Zul Hiija หรือวันที่ 66 หลังวันเสร็จสิ้นการถือศีลอด เป็นช่วงวันหยุดยาวของชาวมัลดีฟส์ ราว 5-7 วัน ในช่วงนี้ผู้คนนิยมเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องเพื่อนฝูงตามเกาสะต่างๆ และมีการแสดงดนตรี เต้นรำ และกีฬาพื้นเมืองร่วมกับการเต้นรำและดนตรีสมัยใหม่

Kuda Eid
วันสิ้นสุดเดือนถือศีลอด ในตอนเช้าชาวมุสลิมจะเดินทางไผปสวดมนต์ที่มัสยิด จากนั้นจะมีการฉลองที่บ้าน เชิญญาติพี่น้อง เพื่อน และเพื่อนบ้านมาร่วมรับประทานอาหาร ถือเป็นช่วงวันหยุดยาว 3 วัน

วันประสูติศาสดา ชาวมัลดีฟส์เฉลิมฉองวันคล้ายวันประสูติศาสดาเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วโลก มีการเชิญแขกไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้าน

นอกจากนี้ยังมีวันหยุดประจำปี ได้แก่
วันปีใหม่สากล ( 1 มกราคม)
วันขึ้นปีใหม่ที่ทั่วโลกร่วมกันเฉลิมฉลอง

วันฉลองอิสรภาพ ( 26 กรกฎาคม) มีขบวนพาเหรดและกิจกรรมเฉลิมฉลองบริเวณจัตุรัสกลางเมืองมาเล่

วันสาธารณรัฐ (11 พฤศจิกายน)
 เป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มัลดีฟส์เปลี่ยนมาเป็นสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1968

วันชาติมัลดีฟส์
เป็นเทศกาลฉลองชัยในโอกาสที่ Mohamed Thakurufaanu ขับไล่พวกโปรตุเกสไปจากประเทศได้เมื่อปี 1573 โดยยึดเอาวันที่หนึ่งของเดือน Rabee ul Awwal อันเป็นเดือนที่ 3 ของปฏิทินจันทรคติของอิสลามเป็นวันฉลอง




สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำในมัลดีฟส์
อะทอลมาเล่ใต้ (South Malé Atoll) ใน บรรดาหมู่เกาะในอะทอลมาเล่ใต้ มีเพียง 3 เกาะเท่านั้นที่มีคนอาศัยอยู่ เกาะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือเกาะ Maafushi เป็นที่ตั้งเรือนจำและคลังสินค้า ทั้งยังเป็นตลาดรวมปลาทะเลตากแห้งเพื่อบรรจุขายต่างประเทศ

อะทอลมาเล่เหนือ (North Malé Atoll) เกาะ หลักคือ Thulusdhoo เป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตปลาแห้งและโค้ก มีชื่อเสียงในฐานะแหล่งเล่นกระดานโต้คลื่น ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอีกแห่งของอะทอลมาเล่เหนือ คือ เกาะHimmafushi ซึ่งเรียงรายไปด้วยร้านขายของที่ระลึกตลอดสองข้างถนนสายหลักของเกาะ

อะทอลอารี (Ari Atoll) อะทอลรูปไข่ซึ่งอยู่ห่างจากมาเล่ราว 30 นาทีหากเดินทางด้วยเครื่องบินระหว่างเกาะ เป็นอะทอลที่มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมากที่สุดแห่งหนึ่งทั่วทั้งอะทอ ลมีรีสอร์ทอยู่ตามเกาะต่างๆ กว่า 20 เกาะ แหล่งดำน้ำตามเกาะต่างๆ ภายในอะทอลอารีนับเป็นสถานที่ดำน้ำที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่ง อาทิ Mayafushi Thila, Manta Reef, Panetone หรือ Halaveli Mushimasmingali

อะทอลฟาฟู (Faafu Atoll) เกาะทางใต้สุดของอะทอลคือเกาะ Nilaudhoo เป็นที่ตั้งของAasaari Miskiiy มัสยิดเก่าแก่เป็นอันดับสองของมัลดีฟส์ สร้างจากหินตัดแต่งอย่างดี ภายในตกแต่งด้วยเครื่องไม้

อะทอลซีนู หรือ อะทอลอัดดู(Seenu หรือ Addu Atoll) เป็นอะทอลที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดในบรรดาอะทอลทั้งหมดของมัลดีฟส์ เคยเป็นฐานทัพเรือของอังกฤษในอดีต นอกจากมาเล่ Seenu เป็นอะทอลที่มีความเป็นชุมชนมากอีกแห่งหนึ่ง ประชาชนของเกาะใช้ชีวิตอย่างอิสระและใช้ภาษาที่แตกต่างจากเมืองหลวง ที่นี่จึงเหมาะสำหรับผู้ต้องการรู้จักประเพณีวัฒนธรรมแบบมัลดีเวียนของชาว เกาะ
Meedho ตั้งอยู่ทางใต้สุดของอะทอลซีนู เป็นหนึ่งในเกาะที่มีธรรมชาติน่าชมที่สุดในหมู่เกาะมัลดีฟส์ สถานที่สำคัญคือหลุมฝังศพ Koaganu ที่ฝังศพบุคคลสำคัญของประเทศอีกแห่งหนึ่ง
อะทอลดาลู(Dhaalu Atoll) เริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวเมื่อปี 1998 เมืองหลวงคือ Kudahuvahoo เป็นที่รู้จักในฐานะที่ตั้งของโบราณสถานซึ่งไม่ทราบที่มาแน่ชัด ที่เรียกว่า Hawitta ซึ่งเชื่อว่าเป็นซากวัดทางพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีสุเหร่าโบราณที่สวยงาม ซึ่งค้นพบโดยนักโบราณคดี Thor Heyerdahl




ท่องเที่ยวภูฏาน (Bhutan)

คู่มือการท่องเที่ยวภูฏาน (Bhutan)
ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) มีพื้นที่ทั้งหมด 38,394 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต ที่เหลือติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล

ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"


ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)


ภูฏาน มีเสน่ห์ในด้านของประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่นของผู้คนและวัดวาอารามใน นิกายตันตระที่ขรึมขลัง มีงานเทศกาลทางศาสนาที่สืบต่อปฏิบัติมาอย่างแนบแน่น เป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต รวมทั้งทัศนียภาพที่งดงามในม่านหมอกเหนือหุบเขา เมืองที่หลายๆ คนบอกว่า ต้องไปเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต


ประวัติของประเทศภูฏานใน สมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ปกครองเมือง Trongsa ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่ว แน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์ Wangchuck ปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก


ระบบการปกครอง

ราชา ธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขปกครองประเทศ ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก (His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549

การแบ่งเขตการปกครองประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร และแต่ละเขตบริหารก็แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขต รวมทั้งหมด 20 เขต
1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา
5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร
9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ
13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี
17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง


การเมืองการปกครอง

เดิม ภูฏานมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล จนกระทั่งเมื่อปี 2541 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะ มนตรีขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว และไม่ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป

ภูมิประเทศ ภูฏาน
ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย" เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่ แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630 ภูฏาน เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม

เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือ ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้
• ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ทิเบต (จีน)
• ทิศใต้ ติดกับ แคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก (อินเดีย)
• ทิศตะวันออก ติดกับ แคว้นอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย)
• ทิศตะวันตก ติดกับ แคว้นสิกขิม (อินเดีย)


ภูฏาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก

เขตที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศคือ บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ เขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงระหว่าง 300-1,600 เมตร ก่อนหน้าที่จะปิดพรมแดนด้านที่ติดกับทิเบตในปี ค.ศ. 1959 ทิวเขาสูงในหิมาลัยถือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปยังหลายๆท้องที่ ทำให้ภูฏานกับทิเบตมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาแต่ครั้ง โบราณ ช่วงครึ่งแรกในศตวรรษที่ 20 ท้องที่บางแห่งที่เข้าถึงได้ง่ายในเขตภาคใต้ของภูฏานมีชาวเนปาลผู้คุ้นเคย กับการใช้ชีวิตในที่ลุ่ม เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาปี ค.ศ.1962 ทางรัฐบาลภูฏานได้สร้างถนนราดยางสายเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมกับทิมพูเข้ากับพุนโซลิงในภาคตะวันตกเฉียงใต้สำเร็จ


ภูฏานภาคใต้ : เชิงผาหิมาลัย
• แต่เดิม เขตที่ราบภาคใต้เรียกว่า เขตดัวร์ แปลว่า ปากประตู กับเขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงไม่เกิน 1,700 เมตร กลายมาเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้ตลาดในภาคเหนือของอินเดียและบังคลาเทศ อาณาบริเวณแถบนี้จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเมืองศูนย์กลางการค้าเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย ประชากรในภาคใต้ของภูฏานส่วนใหญ่เป็นชาวนาเชื้อสายเนปาล ที่อพยพเข้ามาในปลายศตวรรษที่ 19 ไล่เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1950 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โฮตซัมปา พูดภาษาเนปาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู 


• ส่วนเขตหิมาลัยตอนกลาง คือแถบหุบเขาพาโร ทิมพู ปูนาคา วังดีโปดรัง ฮุนซี และบางส่วนของตาชิกัง เป็นถิ่นฐานของชาวไร่ชาวนาและคนเลี้ยงสัตว์กลุ่มมองโกลอยด์ พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ที่เรียกตนเองว่า ดรุ๊กปะ นิยมสร้างบ้านเรืออยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน แต่ปัจจุบัน เริ่มมีชุมชนเมืองเกิดขึ้นรอบ ซอง(ป้อมและอาราม) ซึ่งเป็นป้อมปรากรป้องกันข้าศึกรุกรานและเป็นศูนย์กลางบริหารและการปกครอง ท้องที่แต่ละแห่งในสมัยโบราณ มีเทือกเขาดำน้ำทำหน้าหน้าที่เป็นสันปันน้ำ แยกเขตลุ่มแม่น้ำสองแห่งออกไว้คนละฟากข้าง โดยแม่น้ำทั้งสองสายจะไหลจากเหนือลงใต้ ไหลไปออกยังที่ราบในเขตอินเดีย กลายเป็นสี่แควใหญ่ของแม่น้ำพรหมบุตร (โตชา ไรดัก สันโกศ และมานัส) มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงถึง 30,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน ภฏานได้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้วหลายแห่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากทั้งอินเดียและออสเตรเลีย


ภูฏานตะวันตก : หุบเขาทั้งห้า
• พื้นที่ภาคตะวันตกของภูฏานเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาฮา (2,700 เมตร) ปาโร (2,200 เมตร) และทิมพู (2,300 เมตร) ในขณะที่ปูนาคากับวังดีโปรดัง ประกอบกันขึ้นเป็นหุบเขายาว ความสูง 1,300 เมตร หุบเขาทั้งห้าที่ประกอบขึ้นเป็นภาคตะวันตก เป็นถิ่นฐานของพวก งาลง แปลว่า ผู้ลุกขึ้นเป็นกลุ่มแรก พูดภาษา ซงคา แปลว่ ภาษาของป้อม ซึ่งเป็นภาษาของภูฏานในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกที่หันมายอมรับนับถือพุทธศาสนา ผู้คนแถบนี้มีฐานะค่อนข้างดี และรัฐบาลภูฏานก็เข้ามาดูแลอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างเข้มงวด 


ภูฏานภาคกลาง : บุมทังภูมิหลังอันยาวนาน
• ภาคกลางประกอบขึ้นจากหลายท้องที่ แต่ละที่จะมีภาษาถิ่น (คา) ของตนเอง (อาทิ บุมทังคา เค็งคา กูร์เตคา) เป็นภาษาเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโบดิชโบราณที่แยกย่อยออกมาจากภาษาในตระกูลทิเบต-พม่าอีกต่อหนึ่ง มีช่องเขายูตงลา (3,300 เมตร เป็นประตูสู่เขตบุมทัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาสี่แห่งที่ระดับ 2,700-4,000 เมตร หุบเขาชูเมะและโชโกร์เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ส่วนหุบเขาตังและอูราจะทำการปศุสัตว์ บ้านเรือนส่วนใหญ่กอด้วยหินมากกว่าใช้ดินอัด ลวดลายดูบางตากว่าทางตะวันตก บุมทังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปะและมีภูมิหลังอันยาวนาน ขนบประเพณีทางศาสนายังเป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยมิได้หายสูญ วัดวาแต่ละแห่งล้วนมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่


ภูฏานตะวันออก : ดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอ
• ภูฏานตะวันออกมีพื้นที่ครอบคลุมเขตมงการ์ ตาชิกัง เปมากาเช และซัมดรุปจงคา มีหุบเขาเป็นรูปตัว V มีท้องทุ่งและบ้านเรือนตั้งอยู่บนเนินอันโล่งเตียน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านทรงภูฏานขนานแท้ ภาคตะวันออกเป็นถิ่นที่อยู่ของพวก ชาชปปะ (ซังลา) ซึ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ชาวชาชปปะเคร่งครัดศรัทธาในศาสนาจนขึ้นชื่อ ละแวกนี้จึงมีวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ทั่วไป วัดในท้องที่ห่างไกลจะมี กมเซ็น (พระบ้าน) อยู่ประจำร่วมกับครอบครัว สตรีชาชปปะมีฝีมือในการทอผ้าทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ที่หุบเขายาดีและพงเมจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอฝีมือประณีต


ภูฏานภาคเหนือ : ภูผาหิมาลัย
• ภาคเหนือของภูฏานเป็นจุดตั้งต้นเขตภูผาหิมาลัย ด้วยความสูงกว่า 3,500 เมตร เขตลิงเซ ลายะ และลูนานา มีวิถีชีวิตคล้ายกับเขตหุบเขาสูงอย่างเมรักกับซักเต็งในภาคตะวันออก ผู้คนยังชีพด้วยการเลี้ยงจามรีและเพาะปลูกเล็กๆ น้อยๆ โดยปลูกได้เพียงข้าวบาร์เล่ย์กับพืชมีหัวใต้ดิน เพราะมีความสูงเป็นข้อจำกัด อาหารหลักคือ นม เนย เนยแข็งและเนื้อจามรี ชาวบ้านเป็นพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในหนึ่งปีอาศัยอยู่ในกระโจมสีดำที่ทอขึ้นจากขนจามรี



ภูมิอากาศประเทศภูฏาน
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 15 - 25 องศาเซลเซียส กลางคืน 5 -10 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ 

• ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
• ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
• ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
• ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

ศาสนาประเทศภูฏาน
• ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่ท่านก็สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน ท่านมีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก

วัฒนธรรมประเทศภูฏาน
• การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป

• เครื่องแต่งกายประจำชาติ พระมหากษัตริย์จะผ้าผืนใหญ่พันองค์ ซึ่งผ้าพันกายนี้เป็นธรรมเนียมของบุรุษภูฏาน เพื่อแสดงถึงตำแหน่งฐานะ เช่นว่า ผ้าสีขาวมีขอบจะเป็นของสามัญชน ผู้พิพากษาจะพันด้วยผ้าสีเขียว สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สีส้มเหลือง เช่นเดียวกันกับพระสังฆราชาแห่งรัฐ ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชาย เรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิง เรียกว่า ฆีระ (Khira)

ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองคา หรือ ฌงฆะ (Dzongkha) ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป

ภาษาประจำถิ่นและภาษาสื่อสารของประเทศภูฎาน
• ภูฏานมีภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติเรียกว่า ภาษาซงคา หรือ ฌงฆะ หรือ ซองคา (Dzongkha) ก่อนหน้านั้นเป็นภาษาถิ่นใช้กันในแถบตะวันตก อักขรวิธีและการออกเสียงคล้ายภาษาทิเบต มีแบบอย่างมาจากเทวนาครีของสันสกฤต


• ซงคา คล้ายภาษาภาคกลางของทิเบต ซง หรือ ซอง แปลว่า ป้อมปราการที่อยู่ของเจ้าเมือง ซองคา หมายถึง ชาวป้อมปราการ เป็นภาษาที่ชาวชาชฮอปใช้กันมาก เมืองบุมทัง ภาคกลางของประเทศพูดคล้ายทิเบตและยังแยกย่อยไปอีกหลายภาษา ส่วนชาวเนปาลีอพยพอยู่ในภาคใต้พูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน


• ชาวภูฏานพูดภาษาอังกฤตได้ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อนเลย ทั้งนี้เพราะภูฏานมีโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤตเป็นภาคบังคับ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสื่อสารกับชาวภูฏานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการให้พลเมืองของตนไปศึกษาหาความ รู้ทางตะวันตกต่อไปในภายหน้า หรือรู้เท่าทันโลกภายนอกให้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อใช้สื่อสารกับอาคันตุกะจากต่างแดนและการแสวงหาวิทยาการของโลก รวมถึงสื่อสารกับชาวเนปาลและอินเดียได้ง่ายขึ้น


• อย่างไรก็ตามคนภาคตะวันออกจะพูดภาษา ชาชฮอป (Sharchop) หรือ ฮาชังลา ทางตอนใต้เป็นพลเมืองเชื้อสายเนปาลที่อพยพเข้ามาเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 จะพูดเป็นภาษาเนปาลี หรือ อินโดอารยัน ส่วนตอนกลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางในภูฏานที่ใช้ได้เกือบทุกภาค

สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
• เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า "ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ"
• ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน
• สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
• สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
• มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
• ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา
• สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รอ่นเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
• ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า "เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง" เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็ฯอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า "ทาคิน" จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย
• ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน
• นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย
• อาหารประจำชาติภูฏาน : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก


วันชาติ : 17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน ที่ป้อมปูนาคา

วันหยุดและเทศกาล
• วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
• วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
• วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว

ทรัพยากรธรรมชาติ
• ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
• เศรษฐกิจของภูฏานแม้ ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา
• รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
• ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)

ชนชาติประเทศภูฏาน
ภูฏาน ประกอบด้วยชนชาติ 3 เชื้อชาติใหญ่ คือ
1.ชาชฮอป คนพื้นเมืองเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก
2.งาลอป ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
3.ลาร์ทเชมส์ ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้ เป็นพวกที่อพยพมาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นๆ อีกหลายชนเผ่า มีภาษาแยกย่อยออกไปอีกราว 19 ภาษา

หน่วยเงินตรา
สกุลเงินของภูฏานคือ งุลดรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้ อัตราแลกเปลี่ยน 44 งุลตรัม เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 รูปี เท่ากับ 1 บาท (เงินงุลตรัมมีค่าเท่ากับเงินรูปีของอินเดีย และเงินรูปีของอินเดียก็สามารถใช้ได้ทั่วไปในภูฏาน)

เวลาเวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง


ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์


วีซ่าภูฏาน การเดินทางสู่ประเทศภูฏาน
วีซ่าภูฏาน
การขอวีซ่านักท่องเที่ยวจะทำได้โดยการติดต่อผ่านทางบริษัทท่องเที่ยวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวไม่สามารถขอวีซาและเดินทางไปตามลำพังได้ด้วยตนเอง ประเทศภูฏานไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังคนเดียว (นอกจากเป็นแขกรับเชิญ) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางเฉพาะกลุ่มเป็นหมู่คณะโดยผ่านบริษัทท่อง เที่ยวในภูฏานเท่านั้น

การขอวีซ่าภูฏาน
• สถานฑูตภูฏานทุกแห่งในทุกประเทศจะไม่ทำหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับการออกวีซ่าเข้าภูฏาน ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏาน มีหน่วยงานเดียวคือ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีสำนักงานอยู่ที่เมืองทิมพู สามารถติดต่อได้ที่ : Departnebt of Tourism , P.O. Box.126, GPO Thimphu, Bhutan โทรศัพท์ (975-2) 323 251, 323 252 แฟกซ์ (975-2) 323-695 อีเมล์ dot@tourism.gov.bt เว็บไซต์ www.tourism.gov.bt

เอกสารที่ใช้สำหรับขอวีซ่าเข้าประเทศภูฏาน
1.หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันเดินทาง
2.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรงรูปสีจำนวน 1 รูป
• การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่ายภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่กำหนดโดยรัฐบาลภูฏาน ซึ่งจะรวมค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าไกด์ท้องถิ่น เอาไว้ด้วย ถ้าเดินทางจำนวนน้อยคน เช่น จะขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนต่ำกว่า 3 คน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกต่างหาก วีซ่านักเรียน นักศึกษา ได้ลดค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ ไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังเป็นการส่วนตัว นอกจากจะเป็นแขกของรัฐบาลภูฏานเท่านั้น
• เมื่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวดำเนินการขอวีซ่า จะต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเดินทางเข้าภูฏานพร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างที่อยู่ในภูฏาน ทาง DOT จะใช้เวลาพิจารณาการอนุมัติวีซ่าประมาณ 10-15 วัน ทำการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะส่งรายชื่อผู้ได้รับวีซ่าเข้าภูฏานกลับคืนไปให้บริษัททัวร์ ในใบอนุญาตจะมีเลขรหัสสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภูฏานในเวลาที่เดินทางเข้าประเทส (ทางอากาศที่สนามบินปาโร ทางบกที่เมืองพูลโชลิง ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียกับภูฏาน)
• นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏานก่อนการเดินทาง และเมื่อถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านแรกของประเทศภูฏาน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารอนุมติวีซ่าที่ออกให้โดย DOT เมื่อเอกสารต่างๆ ถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งผู้เดินทางเข้าภูฏานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกคนละ 20 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับรูปถ่าย 2 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภูฏาน (เขียนชื่อกับเลขที่หนังสือเดินทางไว้ด้านหลังรูป)
• การขอขยายเวลาอยู่ต่อในประเทศภูฏานจะสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องต่อวีซ่าที่เมืองทิมพู ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 510 นู อยู่ต่อได้นานถึง 6 เดือน

สถานทูตภูฏานในประเทศไทย
ที่อยู่ : 375/1 ซอยรัชดานิเวศน์ ประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม 10310 โทรศัพท์ : 02 - 274 4740 - 2 โทรสาร : 02- 274 4743 เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 09:00-17:00 น. http://www.bhutan.gov.bt

ศุลกากร ภูฏานมีกฎหมายห้ามไม่ให้นำวัตถุโบราณ เช่น ทังกา (ของเก่า) พระพุทธรูป หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและสัตว์ออกนอกภูฏาน ผู้เดินทางจะต้องสำแดงของใช้ส่วนตัวที่นำเข้าไปในภูฏาน เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ คอมพิวเตอร์ และ เครื่องไฟฟ้า เป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในวันที่เดินทางเข้า เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบจำนวนสิ่งของที่สำแดงไว้กับเจ้าหน้าที่ในเวลาที่เดินทางออกนอกประเทศภูฏาน นักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจากภูฏานทางเครื่องบิน จะต้องเสียค่าภาษีสนามบิน คนละ 500 นู
ห้ามนำโบราณวัตถุ ชี (หินโมราฝังลายสีขาวถือเป็นอัญมณีล้ำค่าของภูฏาน) ไม้พุ่มไม้ดอกผีเสื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ออกนอกประเทศภูฏาน รวมถึงศาสนวัตถุ ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ทั้งพระพุทธรูป เทวรูป กระบอกมนต์ ผอบเก็บพระธาตุ ระฆังหรือวัชระ ฯลฯ ของที่ซื้อเข้าภูฏานจะต้องแจ้งให้มัคคุเทศก์ภูฏานทราบล่วงหน้า

สาเหตุที่ภูฏานจำกัดนักท่องเที่ยว สืบเนื่องมาจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ
1. สาธารณูปโภคและสาธารรูปการของภูฏานไม่เอื้ออำนวยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวคราวละจำนวนมากๆ ได้
2. รัฐบาลภูฏานต้องการให้ธรรมชาติในภูฏานคงไว้ได้นานแสนนานที่สุด
3. เป็นพระประสงค์ของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของภูฏาน ที่จะรักษาจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย และสถาปัตยกรรมบ้านเรือนแบบภูฏาน


การเดินทางไปภูฏาน
การเดินทางโดยเครื่องบิน
การเดินทางไปภูฏานมีสายการบินเดียวที่บินจากรุงเทพฯ ไปภูฏาน เป็นสายการบินแห่งชาติภูฏาน คือ สายการบิน ดรุกแอร์ มีเส้นทางบิน จากไทยไปภูฏาน 5 เที่ยว คือ อังคาร พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และ มีเที่ยวบินมาไทยสัปดาห์ละ 4 เที่ยว คือจันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ (สายการบินดรุกแอร์ เว็บไซต์ www. drukair.com.bt โทร. 02-535-1960

สายการบินดรุกแอร์ เริ่มดำเนินกิจการในปี ค.ศ. 1983 ด้วยเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ Dornier 288 ขนาด 17 ที่นั่งเพียงลำเดียว ครั้นมาถึงปี ค.ศ. 1997 มีทั้งหมด 3 ลำด ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ซื้อมาจากรัสเซีย อีก 2 ลำเป็น BAE 146 Four Engine Jets ขนาด 72 ที่นั่ง มี 10 ที่ในชั้นธุรกิจและ มี 62 ที่ในชั้นประหยัด สายการบินดรุกแอร์ บินระหว่างประเทศเพียง 5 ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ พม่า และ ไทย เท่านั้น ซึ่งพนักงานสายการบินดรุกแอร์ล้วนเป็นชาวภูฏานทั้งสิ้น โดยได้รับการฝึกอบรมจากการบินไทย

สนามบินภูฏานมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือสนามบินปาโร อยู่ห่างจากเมืองทิมพู 65 กิโลเมตร ในระหว่างฤดูมรสุม อากาศมักจะแปรปรวน สนามบินปาโรอยู่ท่ามกลางภูเขา การขึ้นลงของเครื่องบินนั้น นักบินจะต้องอาศัยทัศนวิสัยที่ปลอดโปร่ง (นักบินจะต้องมองเห็นลานบินก่อนจึงจะทำการบินขึ้นหรือบินลงได้) ดังนั้น กำหนดการบินของสายการบินดรุกแอร์ อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ นักท่องเที่ยวจึงควรเผื่อเวลาในการเดินทางอยู่ในภูฏาน และเวลาสำหรับการต่อเครื่องบินที่สนามบินอื่นในกรณีที่เครื่องบินอาจเสียเวลาไว้ด้วย

การเดินทางโดยรถยนต์
• สามารถทำได้โดยเข้าทางด้านชายแดนติดประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เมืองพุนโชลิง ซึ่งห่างจากเมืองทิมพูประมาณ 175 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางกว่า 7 ชั่วโมง
• สำหรับจากเมืองพาโร เดินทางโดยรถยนต์ไปยังเมืองหลวงทิมพู ระยะทาง 55 กิโลเมตร ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวมีทางรถยนต์ไปทางตะวันออกสายเดียว คือ ทิมพู-วังดี-ปูนาคา และ วังดี-ตองสา-บุมธัง
• ภูฏาน มีถนนลาดยางเส้นยาวเชื่อมเมืองสำคัญๆ ในเขตแคว้นต่างๆ จากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และจากเหนือสู่ใต้ แต่ถนนในภูฏานจะค่อนข้างชันและมีโค้งมาก

การคมนาคมในภูฏาน
• พาหนะที่ใช้เดินทางในภูฏาน ใช้รถยนต์ เท่านั้น ถนนสายหลักของภูฏานมีสายเดียวคือ ถนน National Highway ถนนกว้าง 3 เมตรครึ่ง ที่มีเส้นทางผ่านเมือง ผ่านป่าเขา ข้ามแม่น้ำหลายสายที่มีมากมายในภูฏาน การเดินทางท่องเที่ยวที่รักความสะดวกสบาย แต่สนุกและได้ประสบการณ์หลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท้าทาย สำหรับนักท่องเที่ยว บริษัททัวร์ในภูฏานจะเป็นผู้จัดการพาหนะในการเดินทางระหว่างอยู่ในภูฏานเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ที่นิยมใช้คือรถมินิแวน รถจี๊ป และรถโฟร์วีล (ภูฏานไม่มีสนามบินภายในประเทศ ไม่มีทางรถไฟ ดังนั้น การคมนาคมที่ใช้กันอยู่เป็นประจำคือ ใช้รถยนต์และการเดินเท้า) มีบริษัททำธุรกิจให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากขี่มอร์เตอร์ไซค์ แต่ด้วยสภาพถนนและสภาพอากาศที่มักจะแปรปรวนและมีฝนตกบ่อยๆ ทำให้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะที่ค่อนข้างอันตราย ทั้งจากสภาพถนนที่เกือบทุกสายเป็นเหมือนทางเกวียน และอันตรายจากรถบรรทุก ที่ขับกันแบบไม่คำนึงถึงกฎจราจรใดๆ ทั้งสิ้น การขี่มอเตอร์ไซค์ในภูฏานจึงเปรียบเสมือนการเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ
• รถแท็กซี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางในภูฏาน ปกติแท็กซี่ในภูฏานจะติดมิเตอร์ทุกคัน ค่าโดยสารต่อเที่ยวอยู่ที่ระหว่าง 30-50 นู สำหรับเส้นทางภายในเมืองทิมพู ค่ารถแท็กซี่จากทิมพูไปที่ชายแดนเหมาจ่ายเที่ยวละประมาณ 800-1,000 นู

ข้อมูลควรรู้ก่อนเที่ยวภูฏาน เตรียมตัวเที่ยวภูฏาน
เตรียมตัวก่อนเที่ยวภูฏาน ข้อมูลควรรู้ก่อนเที่ยวภูฏาน
• ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในอาณาจักรหิมาลัย เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา ที่คงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษ และด้วยความตระหนักและหวงแหนในคุณค่านี้ ภูฏานจึงวางกรอบจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งยิ่งทำให้น้อยคนนักที่จะมีโอกาสไปเยือนภูฏาน
• ประเทศภูฏานได้เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจะต้องผ่านองค์การท่องเที่ยวแห่งรัฐเพียงผู้เดียว (Tourism Authourity of Bhutan : TAB) และยังจำกัดนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิน 3,000 คนต่อปี แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง The Little Buddha ได้ถ่ายทำที่ภูฏานและแพร่ภาพไปทั่วโลก ทำให้ใครก็อยากมายลโฉมแท้จริงของภูฏาน ดังนั้น ทางการภูฏานจึงต้องปรับตัวเลขนักท่องเที่ยวเป็น 5,000 คนต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา
• ปัจจุบัน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน โดยมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว ภูฏาน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด
• โรคแพ้ความกดดันอากาศในที่สูง ความสูงโดยเฉลี่ยในเส้นทางท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2,300 เมตร แต่ถ้าเป็นเส้นทางเดินเท้าท่องชมธรรมชาติอาจสูงได้ถึง 5,400 เมตร การเมาความสูงอาจเป็นปัญหารุนแรงสำหรับนักท่องเที่ยวบางคน ถ้าเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีปัญหาปัสสาวะติดขัด ให้ลงมายังบริเวณที่ตำทันที การเมาความสูงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก แต่มัคคุเทศก์นำทางก็ได้รับการฝึกอบรมทางด้านนี้มาเป็นอย่างดี เวลาขึ้นสู่ที่สูง ร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเดินทางมายังภูฏาน ส่วนอาการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากการขึ้นมาอยู่บนที่สูงนั้น สามารถใช้ยานอนหลับอ่อนๆ ช่วยได้ ไม่ควรแตะต้องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ข้อควรรู้ทัวร์ภูฏาน
1. ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
2. ภูฏานมีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์ 1 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
3. ภูฏานมีเคเบิลทีวี 2 สถานี ถ่ายทอดทำสารคดีจากซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี รายการบันเทิงทางเอ็มทีวี และ รายการกีฬาทางอีเอสพีเอ็น ละครและรายการโทรทัศน์วาไรตี้จากอินเดีย มีโทรทัศน์ของรัฐ 1 แห่ง
4. ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที
5. นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน
6. นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยาน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขา บางเส้น
7. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย อีกทั้ง มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย
8. วัดวาอารามและป้อมปราการส่วนใหญ่ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมได้แต่ภายนอก ไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในตัวอาคาร

ซอง : เอกลักษณ์ของภูฏาน
• ซอง (Dzong) เป็นภาษา ซองคา แปลว่า ป้อมปราการ คือในสมัยโบราณใช้เป็นที่มั่นต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน แต่ “ซอง” ทุกวันนี้ กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของเขตนั้นๆ และจะใช้ชื่อเป็นชื่อเดียวกับเขต เช่น Paro Dzong-Khag ก็คือมีเมืองปาโรเป็นเมืองเอก โดย ซองคัก (Dzong-Khag) เป็นภาษาซองคา แปลว่า เขต เพราะภูฏานแยกการปกครองออกเป็นเขต ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งถ้าไปเยือนเขตในในภูฏาน มักจะให้ดูซองของเขตการปกครองนั้นอยู่เสมอ
• ซอง ยังเป็นวัดหลักประจำเขต ใช้ประกอบกิจการทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์และสามเณร ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาล ที่ประชุมสภา และสำนักงานราชการในระดับต่างๆ อีกทั้งยังมีโรงเรียนสงฆ์รวมอยู่ด้วย ส่วนสถานที่ที่เป็นเพียงวัดนั้น ภาษาซองคาเรียกว่า “ลาคัง” (Lahkhang) ซองทุกแห่งมีรูปแบบการก่อสร้างอันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะภูฏาน วัสดุทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นซองนั้น มาจากจิตวิญญาณและรากเหง้าประวัติศาสตร์ของภูฏานทั้งสิ้น ดังนั้น ซอง จึงเป็นทั้งเอกลัษณ์และเป็นหัวใจของชาวภูฏานมาโดยตลอด
• บรรพบุรุษชาวภูฏานสร้างซองขึ้นมาเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู อีกทั้งยังแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในแต่ละยุค นอกเหนือจากการใช้เป็นป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในยุคที่แว่นแคว้นต่างๆ มีการรบพุ่งช่วงชิงอาณาจักรกันและกัน
• รูปร่างอาคารและหลังคาของซองในภูฏาน เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบตและจีน มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัด วัง อาคารโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งใช้สอยและแหล่งสั่งสมวัฒนธรรมมายาวนาน ซองบางแห่งถูกก่อสร้างตามเชิงชั้นไหล่เขา
• การสร้างซองเริ่มเกิดขึ้นในต้นคริสศตวรรษที่ 12 โดยผู้ตั้งตัวเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น จนมาถึงศตวรรษที่ 17 ท่าน นาวัง นัมเกล เป็นสังฆราชา ซอง หรือ ป้อมปราการ หรือ อารามขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหลายแห่ง ทั้งเพื่อผลทางยุทธศาสตร์และทางการปกครอง ซอง จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและศูนย์กลางการปกครองและกลายเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ซองประกอบด้วย อาคารของอาคาร ก่อด้วยอิฐ ฉาบด้วยดิน หลังคาเป็นเชิงชั้น ตัวอาคารประกอบด้วยโครงไม้แกะสลัก พื้นอาคารปูด้วยแผ่นศิลา มีวิหาร ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรม สำนักงานข้าราชการ ที่พักสงฆ์ อาคารสถานศึกษา อยู่กันเป็นสัดส่วน รอบตัวอาคารตกแต่งสลักเสลาล้วนมีความหมายหรือเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
• ซิมโตคาซอง (Simtokha Dzong) ในเมืองทิมพู เป็นซองแห่งแรกในประเทศภูฏาน ที่ซับดรุง นาวัง นัมเกล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1629 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วังชุก (พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก) โปรดให้ดัดแปลงซิมโตคาซองแห่งนี้ เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในภูฏาน ซองบางแห่งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน
• ธนบัตรของภูฏาน ด้านหนึ่งมีซองปรากฎอยู่ด้านหลังของธนบัตร และอีกด้านหนึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ในองค์ต่างๆ แห่งราชวงศ์วังชุก


ข้อธรรมเนียมปฏิบัติของชาวภูฏาน
การแสดงความเคารพยกย่อง ชาวภูฏานมีสำนึกในเรื่องลำดับชั้น และการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างชาติชน ชาติอื่นๆ ในเอเชีย ยิ่งถ้าเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาก็ยิ่งให้ความเคารพและนอบน้อมยำเกรงเป็นพิเศษ โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธีด้วยกัน กล่าวคือ ถ้ายืนอยู่ก็ต้องยืนค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยูใน ท่านั่งก็ต้องนั่งขาตรงชิดติดกับเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่าคลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่ฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรก เปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เมื่อจะจบประโยคต้องจบด้วยคำว่า "ลา" เพื่อแสดงความเคารพ (ไม่เว้นแม้กระทั่งประโยคภาษาอังกฤษ)
ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง เช่นเดียวกับที่กราบพระพุทธรูป เวลาไปเที่ยววัดควรบริจาคเงินเล็กๆ น้อยๆ ทำบุญกับทางวัดบ้าง ห้ามพูดเสียงดัง และต้องถอดรองเท้าออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่ ร่มและหมวกเป็นของต้องห้ามทั้งในวัดและซอง
ชาวภูฏานถือว่าศีรษะเป็นของสูง ในขณะที่เท้าเป็นของต่ำ จึงห้ามไปแตะหรือตบศีรษะใครเข้าเป็นอันขาด และห้ามเหยียดหรือยื่นเท้าออกไปข้างหน้าด้วย เวลานั่งกับพื้นต้องนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ ถ้านั่งบนเก้าอี้ก็ห้ามนั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอาขาไขว้กันอย่างเด็ดขาด

เจ้าบ้านกับแขกเหรื่อ การต้อนรับแขกเหรื่อของชาวภูฏาน หากไม่ยกน้ำชาหรือสุรามาให้ถือว่าเป็นการแสดงความหยาบคายอย่างยิ่ง ถ้าเป็นบ้านส่วนตัว ผู้เป็นแขกควรดื่ม (หรือแค่จิบ) เครื่องดื่มที่เจ้าของบ้านยกมาให้อย่างน้อยสองถ้วย แต่ไม่ควรรีบตกปากรับคำในทันทีที่เจ้าของบ้านเอ่ยถามว่า จะดื่มอะไรไหม ถ้าได้เป็นแขกรับเชิญให้ไปกินข้าวที่บ้านของชาวภูฏาน เจ้าบ้านจะยกเครื่องดื่มกับของว่างนานาชนิดมาให้รองท้องก่อนจะถึงมื้ออาหารจริงๆ ซึ่งอาจจะยื่ดเยื้อนานกว่าหนึ่งชั่วโมง ถ้าเป็นครอบครัวคนธรรมดาที่แขกไม่สนิทสนมคุ้นเคยด้วยนัก มีโอกาสที่เจ้าของบ้านจะไม่มานั่งคุยกับแขก จนกว่าจะถึงเวลายกอาหารมาเสริฟ และระหว่างกินอาหารไม่จำเป็นต้องมีเรื่องสนทนากัน เพราะการกินเป็นเรื่องจริงจังสำหรับชาวภูฏาน ไม่ควรหาหัวข้ออื่นมาหันเหความสนใจ ถ้าจะคุยต้องคุยให้เสร็จก่อนเริ่มลงมือกินอาหารและเมื่อกินเสร็จ แขกไม่ควรนั่งคุยเรื่องสัพเพเหระ กับเจ้าบ้าน แต่จะรีบกลับบ้านไปในทันที่ทีการอาหารจบลง กฎข้อนี้ใช้กับงานเลี้ยงของทางการด้วย

การไปร่วมงานพิธี ธรรมเนียมที่เป็นทางการและสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของภูฏานคือ ชาวภูฏานทั้งหญิงและชายจะต้องห่มผ้ากับเนะ งานพิธีทางการที่พบได้บ่อยที่สุดในภูฏานมีอยู่สองงานคือ พิธีประสาทพรให้เจริญรุ่งเรืองหรือให้บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า พิธีซุกเดรล โดยมีพระลามะเป็นผู้ประกอบพิธี ส่วนงานที่สองคือพิธีบวงสรวงบูชาท้าวมหากาฬ (เทพผู้ปกปักรักษาประเทศภูฏาน) เรียกว่า พิธีมาชัง ซึ่งผู้ประกอบพิธีจะเอาสุราที่หมักขึ้นในท้องถิ่น (เรียกว่า ชัง) เทใส่ในถ้วยที่ใช้เนยปั้นเป็นรูปเขาสัตว์สี่อัน ประดับไว้ตามขอบ นำไปตั้งไว้บนแท่นบูชาสามขา ใช้ทัพพีตักสุราขึ้นมาชูขึ้นเหนือศีรษะ แล้วท่องมนก่อนเทสุราในทัพพีลงพื้นพอเป็นพิธี เสร็จแล้วจึงจะต้องธงมนต์ขึ้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การเลื่อนตำแหน่ง ในการเลื่อนตำแหน่งหรือฐานะทางสังคมของชาวภูฏาน ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจะนิมนต์พระมาทำพิธีประสาทพรให้ที่บ้านเช่นเดียวกับงานแต่งงาน โดยจะนั่งอยู่บนที่สูง และรับของขวัญพร้อมผ้ากาตาสีขาว จากแขกเหรือที่มาแสดงความยินดี

การเกิด การถือกำเนิดของบุตรหลานชาวภูฏานไม่ว่าหญิงหรือชายล้วนเป็นเรื่องน่ายินดี ช่วงสามวันแรกหลังคลอดผู้เป็นมารดาจะไม่พบใครนอกจากคนในครอบครัว ต้องรอจนถึงวันทำพิธีฮาซัง (พิธีอาบน้ำ) ผ่านพ้นไปก่อน แขกเหรื่อจึงจะมาเยี่ยมเยือนแสดงความยินดีได้ ตามหมู่บ้านในชนบทญาติมิตรจะนำไข่ ข้าว หรือข้าวโพดมามอบให้เป็นของขวัญ แต่ในเมืองจะนิยมนำเสื้อผ้าเด็กหรือผ้าอ้อมมามอบให้มากกว่า นอกจากนี้ยังต้องมอบเงินก้นถุงเล็กๆ น้อยๆ ให้กับทารกเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต แม่จะต้องกินอาหารดีๆ และเครื่องดื่มที่ทำจากสุรา อาระผสมกับเนยและไข่ เพื่อจะได้มีน้ำนมมากๆ เครื่องดื่มดังกล่าวเจ้าของบ้านมักนำออกมาเลี้ยงแขกเหรื่อด้วย
การตั้งชื่อเด็ก พ่อแม่ะตั้งชื่อให้ลูกเอง แต่จะรอให้พระหรือลามะผู้เป็นโหราจารย์ที่ตนเคารพนับถือตั้งให้พร้อมกับทำการผูกดวง โดยจดวันเดือนปีเกิด เวลาตกฟาก และพิธีต่างๆ ที่จะต้องทำในแต่ละปีหรือในกรณีที่ดวงตกเอาไว้ให้ ปัจจุบันพ่อแม่จะต้องไปแจ้งเกิดกับทางการด้วย

การแต่งงาน ช่วงวัยหนุ่มสาวของชาวภูฏานจะไม่มีงานพิธีใดๆ เป็นพิเศษจนกว่าจะถึงกำหนดแต่งงาน การแต่งงานในภูฏานอาจเป็นงานใหญ่มีพิธีรีตองต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย หรืออาจไม่มีการจัดพิธีใดๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคมของครอบครัวและขึ้นอยู่กับว่าคู่บ่าวสาว รู้จักกันด้วยวิธีใด กล่าวคือ อาจเป็นการแต่งงานกันด้วยความรักชอบพอหรือเป็นการแต่งงานตามความต้องการของ ผู้ใหญ่ ซึ่งพ่อแม่จะถามความสมัครใจของลูกว่าจะยอมแต่งหรือไม่ โดยปกติแล้ว จะไม่ใช่เป็นการมาเจอหน้ากันครั้งแรกในวันแต่ง และถ้าลูกไม่สมัครใจก็สามามรถบอกปฏิเสธได้ ส่วนการแต่งงานจากการรักชอบพอกันเองนั้น ความเห็นชอบของพ่อแม่ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ ถ้าครอบครัวของคู่บ่าวสาวมีฐานะดี การแต่งงานก็ต้องจัดเป็นงานใหญ่ มีญาติมิตรมาร่วมงานมากมาย เมื่อถึงฤกษ์ดีที่โหราจารย์ให้มา เจ้าบ่าวกับเพื่อนจะยกขบวนไปรับเจ้าสาวจากบ้านของฝ่ายหญิง และพากลับมายังบ้านของตน ที่หน้าบ้านจะมีสมาชิกในครอบครัวสองคนถือชามใส่นมและน้ำเป็นสัญลักษณ์แทน ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของคู่สมรส
เสร็จจากพิธีมาชัง คู่บ่าวสาวจะออกไปนั่งฟังพระสวด แต่พิธีสงฆ์ของทางพุทธก็ไม่ได้มีน้ำหนักหรือความศักดิ์สิทธิ์เท่าพิธีทางศาสนาของพวกคริสเตียนหรือฮินดู จากนั้นคู่บ่าวสาวจะดื่มสุราประกาศความเป็นสามีภรรยากัน ญาติมิตร จะนำกับเนะสีขาวมาคล้องและนำของขวัญมามอบให้ ส่วนใหญ่เป็นผ้าจำนวนสาม ห้า หรือเจ็ดผืน มีการกินเลี้ยง ดื่มสุราและเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนถึงค่ำ ถ้าเป็นครอบครัวคู่บ่าวสาวที่มีฐานะไม่ดี หนุ่มสาวจะย้ายมาอยู่ด้วยกันเฉยๆ ปัจจุบัน ทางการภูฏานส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ตามชนบทจะไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก
ในภูฏาน การหย่าร้างถือเป็นเรื่องธรรมดามาแต่ครั้งโบราณ ถ้าภรรยาเป็นฝ่ายเรียกร้องต้องการหย่าขาด ชายคนใหม่ของเธอจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับสามีเก่า ปัจจุบัน กฎหมายยังกำหนดว่าอีกฝ่ายจะต้องแบ่งรายได้หรือเงินเดือนร้อยละ 25 ให้กับคู่ชีวิต

พิธีศพ งานศพเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดในภูฏาน นับเป็นพิธีที่แพงที่สุดสำหรับชาวภูฏาน ความตายไม่ใช่เป็นการสิ้นสุด แต่เป็นการผ่านไปสู่ชีวิตใหม่ พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างให้ขั้นตอนนี้ของชีวิตเป็นไปในทางที่ดีที่สุด เมื่อมีคนใกล้ ญาติจะรีบไปนิมนต์พระ ลามะ หรือ กมเซ็น (พระบ้าน) มาประกอบพิธีเพื่อช่วยปลดปล่อยดวงจิตออกจากร่างและอ่านภัมคีร์มรณะ เพื่อชี้นำวิญญาณให้ก้าวผ่านนิมิตและขั้นตอนต่างๆ ไปด้วยดี ดินแดนที่อยู่ระหว่างความตายและการไปเกิดใหม่เรียกว่า บาร์โด

พิธี ศพในภูฏานค่อนข้างสลับซับซ้อน และถ้าเป็นคนมีฐานะดีจะดำเนินงานพิธีติดต่อกันไปโดยมีหยุดนานถึง 49 วัน แต่่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดติดต่อกันแค่เจ็ดวัน แล้วมาทำพิธีเพิ่มในวันที่ 14, 21 และ 49 แทน พิธีช่วงวันที่ 21-49 จะจัดขึ้นที่วัดไม่ใช่ที่บ้าน หลัง 49 วันผ่านพ้นไป จึงถึงคราวของการทำพิธีชำระความเศร้าหมองและพิธีนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ ผู้ที่ยังอยู่เบื้องหลังซึ่งจะกระทำกันที่บ้านของผู้ตาย
ทันที่ที่มีการเสียชีวิตลง ศพของผู้ตายจะถูกจัดให้อยู่ในท่านั่งบนที่ตั้งศพที่ใช้ผ้าหลากสีคลุมไว้ โดยปกติแล้วจะตั้งศพไว้นอกบ้าน แขกเหรือที่มาแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้ตายจะนำเงินและแถบผ้ายาวสีขาวมา คลุมที่ตั้งศพเป็นการแสดงความคารวะ ครอบครัวจะต้องนำอาหารมาเซ่นผู้ตายทุกมื้อและทุกวันจนกว่าพิธีต่างๆ จะเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์
พิธีฌาปนกิจจะทำตามฤกษ์ที่โหราจารย์กำหนดให้ แต่ต้องหลังวันตายอย่างน้อยสามวัน ถ้าผู้ตายเป็นพระ ลามะ หรือผู้มีอันจะกิน เชิงตะกอนสำหรับเผาศพจะใช้ดินเหนียวก่อขึ้นเป็นพิเศษ ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาก็แค่ห่อผ้าตราสังข์นำขึ้นวางบนกองฟืนแล้วเผาได้เลยทันทีที่จุดไฟ ญาติมิตรจะโยนแถบผ้าสีขาวกับเงินเข้ากองไฟพร้อมสวดมนต์ขอให้ผู้ตายได้ไปเกิดใหม่ในชาติภพที่ดี จากนั้นครอบครัวจะต้องประกอบพิธีในวันครบรอบวันตายติดต่อกันสามปี โดยในปีที่สามจะเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นที่สิ้นสุดของพิธีศพอย่างแท้จริง
หลังพิธีฌาปนกิจ ลูกหลานมักนำเถ้าอัฐิไปลอยอังคารหรือนำไปผสมกับดินเหนียวทำเป็นป้ายบูชา จากนั้น ทางครอบครัวจะทำธงมนต์และสร้างเจดีย์เป็นการสร้างกุศลให้กับผู้ตาย แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาและฐานะทางการเงินของครอบครัว ถ้าผู้ตายเป็นเด็ก ครอบครัวจะนำศพไปทิ้งให้แร้งกากินหรือไม่ก็นำไปทิ้งน้ำแทนการเผา

สถานที่เที่ยวสำคัญในประเทศภูฏาน
เมืองทิมพู เป็นเมืองหลวงของภูฏาน เป็นที่ตั้งอขงศูนย์กลางการบริหารงาน ราชการ การเมือง และ เศรษฐกิจ มีประชากรประมาณ 1 แสนคน
เมื่องมาเที่ยวที่เมืองทิมพูแล้วไม่ควรพลาดเยือน

ทาชิโช ซอง (Tashichho dzong)

ทาชิโช ซอง (Tashichho dzong) คำว่า ซอง แปลว่า พระราชวัง สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรและศาสนจักร ประกอบด้วยพระราชวัง ทำเนียบรัฐบาล สภา

วัดอนุสรณสถาน Memorial Chorten

องค์ สถูปสีขาวที่ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2517 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กษัตริย์องค์ที่ 3 กษัตรย์จิกมี คอร์จิ ซิมโตก้าซอง (Simtokha Dzong) ซึ่งเป็นพระราชวังแห่งแรก สร้างขึ้นโดย ซับดรุง งาวังนัมเกล ลามะจากฑิเบตที่รวบรวมเมืองได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2182 นับว่าเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏาน ปัจจุบันเป็นสถาบันภาษาและวัฒนธรรมของประเทศภูฏาน

เมืองปูนาคา อดีตเคยเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 เมืองปูนาคาตั้งอยู่ห่างจากเมืองทิมพู ราว 72 กิโลเมตร และด้วยความที่เป็นเมืองที่มีความสูงต่ำที่สุดของภูฏาน ซึ่งมีความสูงราว 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงทำให้เป็นเขตที่อบอุ่นที่สุด และมีการทำนาข้าวอย่างกว้างขวาง

เมื่อมาเที่ยวเมืองปูนาคาแล้วไม่ควรพลาดเยือน
ปูนาคาซอง (Punakha Dzong)
ปูนาคา ซอง ตั้งอยู่บนทัศนียภาพที่สวยงาม ณ จุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือแม่น้ำโพ และ แม่น้ำโม ที่แปลว่า แม่น้ำพ่อ กับ แม่น้ำแม่ และเนี่องจากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนความสูงที่นับว่าต่ำที่สุดของภูฏาน ที่นี่จึงเป็นที่ประทับของพระสังฆราชในช่วงฤดูหนาวอีกด้วย

เมืองพาโร เป็นเมืองการค้าและพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ และถือเป็นเมืองหน้าด่านของประเทศ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติภูฏาน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางศาสนจักรที่สำคัญได้แก่

พาโรซอง (Paro Dzong)
พา โรซอง ถูกสร้างขึ้นบนเนินเขาริมแม่น้ำพาโร เพื่อเป็นป้อมปราการต่อต้านการรุกรานจากฑิเบต ต่อเมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการปรับปรุงให้เป็นวัดสำคัญของประเทศ โดยมีงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ พาโรเซซู ที่ถือว่าเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูฏาน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาโร (National Museum Paro)

พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติกรุงพาโร ตั้งอยู่ในเขต ตาซอง หอคอยของป้อมปราการในอดีต เป็นที่เก็บรวบรวมเหรียญเก่า แสตมป์ เครื่องแต่งกาย อาวุธโบราณ รวมกระทั่งสัตว์ในภูฏาน ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ นกต่างๆ

วัดทักซัง (Tiger's Nest)

วัด ทักซัง ตามตำนานเล่าว่า คุรุปัทมสัมภวะ วิปัสนาอยู่บนเขาสูงกว่า 3,000 เมตร โดยมีผู้พบเห็นท่านขี่เสือกระโจนจากยอดเขาแห่งนั้น ผู้เลื่อมใสในตัวท่าน จึงได้ร่วมแรงศรัทราสร้างวัดบนเขาสูงนับ 800 เมตร ทุกวันนี้ เป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญ