Saturday, March 28, 2015

ท่องเที่ยวเนปาล

ประเทศเนปาล (Nepal) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใน เอเชียใต้ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนติดกับทิเบตของจีน และประเทศอินเดีย เนปาลเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบราชาธิปไตยมาเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยใน ปี พ.ศ. 2550 โดยก่อนปีพ.ศ. 2549 เนปาลเคยเป็นรัฐเดียวในโลกที่มีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาประจำชาติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของเนปาลระบุให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐโลกวิสัย นอกจากศาสนาฮินดูที่คนเนปาลส่วนใหญ่นับถือแล้ว เนปาลยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานสำคัญของพุทธศาสนา คือลุมพินีวัน ที่ประสูติของพระโคตมพุทธเจ้า

เมืองหลวงกรุงกาฐมาณฑุ (Kathmandu)

เมืองสำคัญต่างๆ   
จานักปูร (Janakpur)เป็นเมืองด้านการท่องเที่ยว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล
โภคครา (Pokhara) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ทางตอนกลางของประเทศ
ลุมพินี (Lumbini) เป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ทางตอนใต้ ติดอินเดีย

ภูมิอากาศมีพายุฝนในฤดูร้อนและมีอากาศเย็นจัดในฤดูหนาว

เชื้อชาติมองโกลอยด์ จากทิเบต และอินโด-อารยันจากทางตอนเหนือของอินเดีย และชนเผ่าต่างๆ เช่น กูรุง (Gurung) ลิมบู (Limbu) เนวาร์ (Newar)ไร (Rai) เชอร์ปา (Sherpa) และ ทามัง (Tamang)
ภาษาภาษาเนปาลีเป็นภาษาราชการ

ศาสนาฮินดูร้อยละ 90 พุทธร้อยละ 8 และอิสลามร้อยละ 2

วันชาติ7 กรกฎาคม (พ.ศ.2489 หรือ ค.ศ.1946) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชาธิบดีกิเนนดรา แต่ได้ยุติการเฉลิมฉลองไปในปี 2549 ซึ่งรัฐบาลเนปาลประกาศไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ โดยขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเปลี่ยนวันชาติเป็นวันอื่นหรือไม่

การศึกษาอัตราการรู้หนังสือโดยรวม ร้อยละ 45.2 (ปี 2546) ในเพศชายร้อยละ 62.4 และเพศหญิงร้อยละ 27.6 (ปี 2546)

ระบบการปกครองหลัง จากที่พระราชาธิบดีฯ ทรงยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ได้ปลดนาย Sher Bahadur Deuba นายกรัฐมนตรี และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยพระองค์เอง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ได้ทรงมีพระราชดำรัสประกาศมอบอำนาจทางการเมืองให้แก่ประชาชน และเมื่อวันที่ 30 เมษายน2549 ได้แต่งตั้งให้นาย Girija Prasad Koirala ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 ซึ่งรัฐบาลภายใต้การนำของนาย Koirala อยู่ระหว่างการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของเนปาล เพื่อกำหนดบทบาทของสถาบันกษัตริย์ และระบอบการปกครองของเนปาลในอนาคต พร้อมทั้ง จัดการเจรจาสันติภาพกับกลุ่ม Maoists และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวร่วมกันระหว่างรัฐบาลและ กลุ่ม Maoists ดังนั้น ในขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระบอบการปกครองของเนปาลจนกว่าจะมีการร่างรัฐ ธรรมนูญเสร็จสิ้น



No comments:

Post a Comment