มาเลเซีย เป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย และ ไทย รวมทั้งอีกหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัวคุณ จะได้สัมผัสกับความตื่นตาตื่นใจ เพลิดเพลินไปกับทุกแง่มุมและทุกรสชาติของความเป็นเอเชีย ณ ที่นี่ที่เดียว คุณจะได้สัมผัสกับไออุ่นของชนชาติมาเลเซียต้องที่นี่..มาเลเซีย
ประเทศมาเลเซียมีระบบการเมืองการปกครองที่มั่นคงมากทำให้มีการพัฒนาประเทศ ได้อย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ มีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นตึกแฝด Petronas, สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ (Kuala Lumpur International Airport) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเที่ยวใน ประเทศมาเลเซียกันมากๆ
ข้อมูลประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ 2 ส่วน คือ 11 รัฐบนแหลมมลายู และอีก 2 รัฐบนเกาะบอร์เนียว คือ ซาราวักและ ซาบาห์ ซึ่งรวมเข้ากับประเทศมาลาเซียหลังจากได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ดังนั้นประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย จึงกล่าวถึงเฉพาะพื้นที่บนแหลมมลายูเท่านั้น ในอดีตเส้นทางเดินเรือจากยุโรปสู่เปอร์เซียมายังตะวันออกจำเป็นต้องผ่านช่อง แคบระหว่างแหลมมลายูและเกาะสุมาตราเพื่อเป็นการย่นระยะทางทำให้ดินแดนทางทิศ ตะวันตกของแหลมมลายูได้รับการพัฒนาเป็นเมืองท่า คือ เมืองท่ามะละกา จนเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบมะละกา” ความเจริญนี้นำมาซึ่งการต้องการครอบเมืองท่าที่เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดิน เรือ เป็นเหตุให้มะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกถึงสามชาติ เริ่มจาก โปรตุเกส ฮอลันดา จนถึงอังกฤษ ซึ่งการตกเป็นอาณานิคมนี้ไม่ได้ถูกครอบครองเฉพาะพื้นที่ในส่วนของมะละกาแต่ รวมไปถึงพื้นที่ทั้งหมดของแหลมมลายู เมืองปะลิส เกดะห์ (หรือไทรบุรี รวมทั้งเกาะหมากหรือปีนัง) กลันตัน และตรังกานู จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กองทหารป่าภายใต้การนำของตนกูอับดุล เราะห์มาน ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของอังกฤษจนนำมาซึ่งเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งได้กำหนดให้เป็นวันชาติมาเลเซีย แต่ประเทศมาเลเซียได้ถือกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ. 2506 เมื่อมีการผนวกรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์ และเกาะสิงคโปร์ (ภายหลังจากนั้น 2 ปี สิงค์โปร์ได้แยกตัวออกมาเป็นอีกประเทศหนึ่ง) โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Federation of Malaysia หรื สหพันธรัฐมาเลเซีย
ภูมิประเทศและการปกครอง
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบไม่มากนัก
การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วย
- รัฐปะลิส (Perlis)
- รัฐเกดะห์ (Kedah)
- รัฐปีนัง (Penang)
- รัฐเประ (Perak)
- รัฐกลันตัน (Kelantan)
- รัฐตรังกานู (Trengganu)
- รัฐสลังงอร์ (Selangor)
- รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Sembilan)
- รัฐมะละกา (Melaka)
- รัฐปะหัง (Pahang)
- รัฐยะโฮร์ (Jahor)
- รัฐซาราวัก (Sarawak)
- รัฐซาบาห์ (Sabah)
- รัฐสลังงอร์ ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่
ประเทศมาเลเซียนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมี ยัง ดี เปอร์ตวน อากง (Yang di Pertaun Agong) หรืพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเวียนกันของสลุต่านจากรัฐต่าง ๆ ทุก ๆ 5 ปี และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
ประชากรและศาสนา
• ประชากรในมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ ชนเชื้อสายมาเลย์ รองลงมาคือ จีน และอินเดีย นอกจากนั้นคือชนพื้นเมือง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
สภาพภูมิอากาศ
• เนื่องจากตั้งอยู่เกือบถึงเส้นศูนย์สูตร สภาพภูมิอากาศจึงเป็นแบบเขตร้อน อีกทั้งอยู่บนคาบสมุทร ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ฝนตกชุกเกือบตลอดปีโดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม และตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฝั่งตะวันออกของประเทศจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมมากกว่าทำให้ฝนตกนานจน ถึงเดือนกุมภาพันธ์
เมืองหลวง - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ภูมิอากาศ - ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส และ อาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวัน แต่สำหรับอุณหภูมิบางแห่งเช่น บนคาเมร่อน ไฮด์แลนด์ และ บนเก็นติ้ง ไฮด์แลนด์ อุณหภูมิอาจจะต่ำกว่า 20 องศาตลอดทั้งปี
ประชากร - 26.24 ล้านคน (ปี 2549)
ภาษา
มาเลเซียมีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ แต่ชาวมาเลย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการพูดกันอย่างแพร่หลาย
ศาสนา - อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)
หน่วยเงินตรา - ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 3.75 ริงกิต /1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10.65 บาท/1 ริงกิต)
การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเลเซีย - ผู้ เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าได้ไม่จำกัดจำนวน และผู้เดินทางสามารถนำเงินริงกิตของมาเลเซียออกนอกประเทศได้ไม่เกินคนละ 1,000 ริงกิตเท่านั้น
วันชาติ - 31 สิงหาคม
ระบอบการเมือง - ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)
ฤดูกาลท่องเที่ยวและเทศกาลงานประเพณี
• มกราคม
• การแข่งเรือนานาชาติ จัดขึ้นที่ Royal Lankawi Yatch Club เกาะลังกาวี
• เทศกาลโคมไฟ จัดขึ้นบนถนนยองเกอร์ในเมืองมะละกา ซึ่งตามบ้านเรือนแหละเหล่าโบราณสถานจะประดับโคมไฟอย่างสวยงาม อีกทั้งถนนสายนี้ยังเป็นถนนคนเดินเต็มไปด้วยร้านอาหารและศิลปวัฒนธรรม
• เทศกาลไทปูซัม เป็นเทศกาลใหญ่ของศาสนาฮินดู จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม (บางปีอาจอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์) ที่ถ้ำบาตู เพื่อเทิดพระเกียรติเทพเจ้ามูรูก้า โดยจะมีขบวนแห่พระราชรถและการทรมานตนด้วยเหล็กแหลมของเหล่าสาวก
• กุมภาพันธ์
• วันดินแดนแห่งสหพันธรัฐ หรือรู้จักกันในชื่อ “ซิตี้เดย์” จัดขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพื่อระลึกถึงการประกาศเป็นสหพันธรัฐโดยมีกัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2517 ในงานจะเต็มไปด้วยขบวนพาเหรด พลุ ดอกไม้ไฟ และการละเล่นต่าง ๆ
• เทศกาลตรุษจีน จัดขึ้นในย่านไชนาทาวน์ของทุกเมือง
• มีนาคม
• เทศกาลอาหารนานาชาติ จัดขึ้นที่ International Sports Arena เมืองปีนัง
• เมษายน
• Malaysia Water Festival จัดขึ้นที่ Desaru เมืองชายฝั่งทะเลในรัฐยะโฮห์ และที่ซีนัง ชายหาดบนเกาะลังกาวี เป็นงานแข่งขันกีฬาทางน้ำ
• พฤษภาคม
• เทศกาลอาหารและผลไม้ จัดขึ้นที่จัตุรัสเมอร์เดกา กัวลาลัมเปอร์
• มิถุนายน
• วันเฉลิมพระชนมายุของพระราชาธิบดี ตรงกับวันเสาร์แรกของเดือนมิถุนายน จัดขึ้นที่จัตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยจะมีการสวนสนามของเหล่ากองทัพ พร้อมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรม และดนตรี
• กรกฎาคม
• Malaysia Mega Sale จัดขึ้นทุกห้างสรรพสินค้าทั่วกรุงกัวลาลัมเปอร์
• สิงหาคม
• วันชาติมาเลเซีย ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองหลวงของแต่ละรัฐทั่วประเทศจะมีการแสดงต่าง ๆ ขบวนพาเหรด พลุและดอกไม้ไฟ
• กันยายน
• เทศกาลฮารีรายออิดิลฟิตรี้ (Hari Raya Aidilfitri) การฉลองหลังถือศีลอดของชาวมุสลิม โดยชาวมุสลิมจะประดับประดาบ้านเรือนด้วยโคมไฟในยามค่ำคืน และมีพิธีละหมายอิดิลอัฎฮาที่มัสยิด (เทศกาลนี้อาจแตกต่างกันในแต่ละปี เนื่องจากการนับตามปฏิทินจันทรคติ ควรตรวจสอบจากปฏิทินอิสลาม)
• ตุลาคม
• วันดีปาวาลี (Deepavali) งามเฉลิมฉลองของชาวฮินดู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าความดีอยู่เหนือความชั่ว
• Penang World Music Festival งานแสดงดนตรีท้องถิ่นของมาเลเซียและจากทั่วโลก จัดขึ้นที่ Botanic Gardens ที่เกาะปีนัง
• พฤศจิกายน
• Malaysia Savings Sales คืองานลดราคาสินค้าในทุกห้างสรรพสินค้าทั่วกรุงกัวลาลัมเปอร์
• ธันวาคม
• Langkawi International Maritime and Aerospace Exhibition (LIMA) จัดขึ้นทุก ๆ สองปีที่เกาะลังกาวี เป็นการแสดงเรือและเครื่องบินผาดโผนการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ และเทศกาลอาหารจากทุกรัฐในมาเลเซีย
อาหารการกิน
• ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งมลายู จีน อินเดีย และไทย ทำให้อาหารการกินในมาเลเซียมีให้เลือกหลากหลาย ในกัวลาลัมเปอร์ที่ถนนเพทาลิง (Jalan Petaling) หรือไชน่าทาวน์ในกัวลาลัมเปอร์ อยู่ไม่ไกลจากสถานีขนส่ง Puduraya ถนนสายนี้เต็มไปด้วยร้านอาหารจีน และในฝั่งตรงข้ามสถานี Puduraya ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียจึงมีร้านอาหารอินเดียวหลายร้าน สามารถชิมอาหารอินเดียได้ที่นี่
• ในเขตเมืองกัวห์ ที่ลังกาวี บนถนนเคอลิบัง (Jalan Kelibang) ตลอดเส้นทางบนถนนสายนี้เต็มไปด้วยอาหารทะเล และยังมีอาหารมุสลิม อาหารอาหรับ หรืออาหารมาเลย์จำพวกเนื้อย่างหรือสะเต๊ะ โดยเปิดให้บริการในช่วงค่ำ
• ปีนัง ในเมืองจอร์จทาวน์มีร้านอาหารจีนเป็นจำนวนมาก และที่ตลาดเช้าในรัฐกลันตัน Pasar Siti Khadijah จะเต็มไปด้วยสารพัดอาหารหวาน และอาหารคาวที่น่าสนใจ คือ นาซิเลอมัก (Nasi Lemak) คือข้าวหุงกับน้ำกะทิ กินกับแกง หรือปลาหมึกผัดน้ำขลุกขลิก โรยหน้าด้วยปลาตัวเล็กทอด ราดซอส
• เมนูขึ้นชื่อของรัฐตรังกานู ซี่โครงหมูตุ๋นยาจีน หรือ บักกุตเกต๋ และฉาก๋วยเตี๋ยว คือก๋วยเตี๋ยวผัดแบบมาเลย์นั่นเอง
• มะละกา บนถนนยองเกอร์ (Jonker Street) มีอาหารที่ไม่ควรพลาดคือ ข้าวมันไก่ Chicken Rice Ball โดยเสิร์ฟไก่สับมาพร้อมกับข้าวที่ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองมะละกา และมีขนมหวานที่น่าลิ้มลองคือ มะละกาทาร์ต (Melaka Tart) ส่วนในตอนค่ำถนนสายนี้จะปิดการจราจรและเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินจำหน่ายสินค้า ที่ระลึก เสื้อผ้า และยังเป็นแหล่งอาหารอีกด้วย
ของที่ระลึก
• รูปปั้นนกอินทรี สัญลักษณ์ แห่งลังกาวีหาซื้อได้บริเวณจัตุรัสนกอินทรี และชายหาดต่าง ๆ ของที่ระลึกจากมะละกา คือรองเท้า หรือเกี๊ยะไม้คู่จิ๋วที่ตกแต่งลวดลายอันงดงาม หาซื้อได้บริเวณร้านค้าบนถนนยองเกอร์ ในกัวลาลัมเปอร์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตึกแฝดเปโตรนาสไม่ว่าจะเป็นโมเดล จำลอง ที่ใส่นามบัตร เสื้อยืดพิมพ์ลาย กริชจำลอง หาซื้อได้จากย่านไชน่าทาวน์ และย่านบูกิตบินตัง
• ช็อกโกแลต ในมาเลเซียมีการผลิตช็อกโกแลตและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก มีให้เลือกหลากหลายและราคาถูก สามารถเลือกซื้อได้ในซูปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป
• ผ้าบาติก ผ้าซงเก็ต (ผ้าปักดอก ทอแทรกด้วยด้ายสีเงินหรือสีทอง) งานไม้ ภาพวาด และเครื่องจักสานได้ที่เซนทรัลมาร์เก็ต หรือคราฟท์คอมเพล็กซ์ในกัวลาลัมเปอร์ กัวลาตรังกานู และบนเกาะลังกาวี หรือถ้าอยากช้อปปิ้ง สามารถไปที่ Suria KLCC ที่อยู่ชั้นล่างของตึกแฝดเปโตรนาส หรือดงช้อปปิ้งเซนเตอร์ในย่านบูกิตบินตัง
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
• สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย
อาคารสาธรการ์เด้น ชั้น 1 เลขที่ 33 – 35 ถนนสาธรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์ 0 – 2679 – 2190 – 9 โทรสาร 0 – 2679 – 2208
• การท่องเที่ยวมาเลเซีย (ประจำประเทศไทย)
ยูนิต 1 ชั้น 3 อาคารซิลลิค เลขที่ 1 – 7 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 0 – 2636 – 3380 – 3 โทรสาร 0 – 2636 – 3384
วันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 น. – 16.30 น.
วันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ของไทยและมาเลเซีย
ข้อมูลท่องเที่ยวกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
• กัวลาลัมเปอร์ หมาย ถึง แม่น้ำที่เป็นโคลน เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำคลาง (Sungai Klang) และแม่น้ำกอมบัก (Sungai Gombak) บริเวณจัตุรัสเมอร์เดกา เมืองนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในราวปี พ.ศ. 2403 โดยกัปตันเรือชาวจีนค้นพบว่าบริเวณนี้มีสายแร่ดีบุกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิด อุตสาหกรรมเหมืองแร่และทำให้เมืองนี้เจริญขึ้น จนกระทั่งมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ กัวลาลัมเปอร์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2517 แม้ปัจจุบัน ศูนย์กลางการปกครองจะย้ายไปที่ปุตราจายา แต่กัวลาลัมเปอร์ ยังคงเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการคมนาคมของประเทศ
• กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
สถานที่ท่องเที่ยวในกัวลาลัมเปอร์
• ตึกแฝดเปโตรนาส
ตึกแฝดเปโตรนาส เคย เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกสร้างโดยบริษัทปิโตรเลียมเนชั่นแนลเบอ์ฮาด หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปิโตรนาสซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายน้ำมันของมาเลเซีย สามารถยืนความงามของตึกได้ภายนอกโดยยืนอยู่ฟากที่น้ำพุกำลังเริงระบำและ สามารถเข้าไปในตึกเพื่อชมทิวทัศน์ของกัวลาลัมเปอร์จากสกายบริดจ์ (Sky Bridge) ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชั้นที่ 41 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
• หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (KL Tower) เป็นสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคม ชั้นบนสุดของหอคอยมีผนังกระจกรอบด้านเพื่อเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเปนที่ตั้งของภัตตาคารเสรีอังกาซารีโวลวิง (Seri Agkasa Revolving)
• อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย
อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย หรืออนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารหาญที่เสียชีวิตจากสงครามในอดีตได้แก่สงครามโลก ครั้งที่ 1 (คศ.1914-1918) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) ญี่ปุ่นบุกยึดมาเลเซีย และการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ (1948-1960) อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงซึ่งตกแต่งให้เป็นสวนสาธารณะและเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่ทั้งชาวมาเลเซียและชาวต่างชาติเดินทางมาชมกันเป็นจำนวน มาก
• จตุรัสเมอร์เดกา ( Merdeka Square หรือ Dataran Merdeka)
จัตุรัสเมอร์เดกา ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบของแม่น้ำคลางกับแม่น้ำกอมบัก เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ที่ซึ่งธงชาติอังกฤษถูกปลดลงแล้วแทนที่ด้วยธง ชาติมาเลเซีย คำว่า “เมอร์เดกา” หมายถึงเอกราช จุดเด่นอยู่ที่เสาธงขนาดใหญ่สูงถึง 100 เมตร และเต็มไปด้วยอาคารในยุคอาณานิคมและกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมอังกฤษ
จตุรัสเมอร์เดกา เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ที่ใครมาเที่ยวกรุงกัวลาลัมเปอร์ ก็ต้องมาเดินที่จตุรัสกลางเมืองหลวงมาเลเซีย อันเป็นสถานที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของชาติ และของประชาชนชาวมาเลเซีย เพราะเป็นสถานที่จัดพิธีคืนความเป็นเอกราชให้กับเจ้าของประเทศ หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกนานถึง 446 ปี (พ.ศ 2054 - 2500 ) เริ่มจากประเทศโปรตุเกส ที่บุกมาทางเรือและเข้ายึด เมืองมะละกา อันเป็นเมืองท่า จากนั้นก็อยู่ภายใต้การปกครองของชาวดัทช์ และอังกฤษในเวลาต่อมา จนมาถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2500 มาเลเซียก็ได้อธิปไตยกลับคืนมาจากประเทศอังกฤษ พร้อมกับมีการชักธงชาติของมาเลเซียขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ณ บริเวณจตุรัสแห่งนี้ และ ในวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี จะมีพิธีสวนสนามและเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ มีประชาชนชาวมาเลเซียร่วมในพิธีหลายหมื่นคน
• อาคารสุลต่านอับดุลซามัด (Sultan Abdul Samad Building)
อาคารสุลต่านอับดุลซามัด สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2440 ตั้งชื่อตามพระนามของสุลต่านแห่งสลังงอร์ โดยใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครอง ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานของศาลฎีกา
อาคารสุลต่านอับดุลซามัค และ หอนาฬิกา สูง 40 เมตร เป็นตัวอาคารเก่าแถบ Merdeka Square ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม แบบ มัวร์ ส่วนที่เป็นหอนาฬิกาสูง 40 เมตรที่นั้นมักจะเรียกกันว่าเป็น บิ๊กเบนของมาเลเซีย ส่วนด้านบนจะเป็นโดมขนาดใหญ่สีทอง อาคารนี้สร้างเมื่อเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อใช้เป็นศูนย์บริหาร อาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันใช้อาคารที่ทำการของรัฐบาล
• พระราชวังอิสตาน่า ไนการ่า (istana negara palace)
พระราชวังอิสตาน่าไนการ่า พระราชวังแห่งชาติ สถานที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดี หรือยังดีเปอร์ตวนอากง พระราชวังแห่งนี้จะเป็นกลุ่มอาคารรูปทรงโดมเชื่อมกับทางหลวงไปยังตัวเมือง และมีถนนทางเข้าพิเศษหลายเส้นทางพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร ซึ่งมีการครอบครองมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และกลายเป็นเขตพระราชฐานนับตั้งแต่นั้น
• มัสยิมจาเม็ก (Masjid Jamek) เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกัวลาลัมเปอร์และในรัฐสลังงอร์ สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2450 โดยสุลต่านแห่งรัฐเพื่อเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามของรัฐ คำว่า Jamek หมายถึง สถานที่ชุมนุมทางศาสนา
• พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National History Museum หรือ Muzium Serajah Nasional) เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซียจนกระทั่งได้รับเอกราช
• KL Old Railway Station สถานีรถไฟเดิมก่อนจะสร้าง KL Sentral เป็นสถาปัตยกรรมแบบมัวร์
• KL Sentral เป็นจุดศูนย์กลางการคมนาคมของกัวลาลัมเปอร์ รถไฟฟ้า สถานีรถบัส โรงแรม ศูนย์การค้า และร้านอาหาร
• พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (National Museum หรือ Muzium Negara) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เพื่อจัดแสดงวัตถุโบราณต่าง ๆ พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของชาวมาเลย์ในรัฐต่าง ๆ
• National Planetarium ท้องฟ้าจำลองของมาเลเซีย ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับยานอวกาศ และการสำรวจอวกาศ และมีการฉายภาพยนตร์สั้น และการ์ตูนเกี่ยวกับอวกาศด้วย
• มัสยิดแห่งชาติ (National Mosque หรือ Majid Negera) เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่สุดในกัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเพื่อแทนที่มัสยิดจาเม็ก ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
สถานที่ท่องเที่ยวเก็นติ้งไฮแลนด์
• เก็นติ้งไฮแลนด์ (Genting Highlands) อยู่ในพื้นที่รัฐปะหัง ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 51 กิโลเมตร จากนั้นนั่งกระเช้าขึ้นสู่ยอดเขาที่มีความสูงถึง 2,000 เมตรอากาศหนาวเย็น และมีหมอกตลอดปี บนยอดเขาเต็มไปด้วยความบันเทิงหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น คาสิโน โรงแรมหรู โรงภาพยนตร์ สนามกอล์ฟ และสวนสนุกอีก 2 แห่ง คือ Outdoor Theme Park และ First World Indoor Theme Park
ถ้ำบาตู (Batu)
• ถ้ำบาตู (Batu) เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูทุกวัน ในช่วงเช้าจะมีชาวฮินดูมากมายมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่นี่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของถ้ำบาตู คือรูปปั้นสีทองขนาดใหญ่ของพระขันธกุมาร ลูกของพระศิวะ บริเวณปากทางเข้าในถ้ำต้องขึ้นบันได 272 ขั้นสู่โถงถ้ำด้านบนเพื่อชมความงามของหินงอก หินย้อยได้
ข้อมูลท่องเที่ยวลังกาวี (Langkawi)
• ลังกาวี อยู่ในเขต การปกครองของรัฐเกดะห์มีทั้งชายหาดที่งดงาม น้ำตกในผืนป่า สถานบันเทิงที่ทันสมัยและรายรอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ถึง 104 เกาะ การเดินทางสู่ลังกาวีที่สะดวกคือ ทางเรือโดยสารไปยังท่าเรือเมืองกัวห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจและโรงแรม คำว่า “ลังกาวี” หมายถึงนกอินทรีย์สีน้ำตาลแดงซึ่งเคยโผบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือทะเลรอบเกาะ สิ่งที่โดดเด่นของลังกาวี คือ ดาตารันลัง (Dataran Lang) หรือจัตุรัสนกอินทรีย์ซึ่งสามารถมองเห็นได้เมื่อเรือเข้าเทียบท่าที่เมือง กัวห์
• หาดซีนัง (Cenang Beach) เป็นชายหาดที่งดงามและได้รับความนิยมที่สุดบนเกาะลังกาวีตลอดแนวชายหาดเรียงรายด้วยโรงแรมและรีสอร์ตสวย ๆ หลายแห่ง และยังเป็นที่ตั้งของลามันปาตี (Laman Padi) ซึ่งเปนศูนย์จัดแสดงวิวัฒนาการการปลูกข้าว ทุ่งข้าวเขียวขจีที่อยู่ใกล้กับท้องทะเล
• พิพิธภัณฑ์โลกใต้ทะเล (Underwater World) เป็นสถานที่จัดแสดงสัตว์ทะเลกว่าห้าพันชนิด และที่โดดเด่นคืออุโมงค์ใต้น้ำที่มีความยาวถึง 15 เมตร
• แหลมตันจุงรูห์ (Tanjung Rhu) อย่างทิศเหนือสุดของเกาะตามแนวชายหาดที่ทอดยาว มีเกาะเล็ก ๆ อยู่ไม่ไกล ช่วงเวลาน้ำลงจะเกิดสันทรายทอดจากชายฝั่งไปยังเกาะนั้นได้ และ “หาดทรายดำ” Pantai Pasir Hitam หรือ Black Sand Beach ซึ่งเกิดจากแร่ธาตุนานาชนิดที่ปะปนอยู่กับทรายนั่นเอง
• น้ำตก แม้จะเป็นเกาะแต่ลังกาวีมีผืนป่าที่เป็นต้นกำเนิดน้ำตกหลายแห่ง น้ำตกเทลากาทูจุห์ (Telega Tujuh Waterfall) แปลว่า 7 บ่อ ซึ่งธารน้ำที่ไหลผ่านหน้าผาหินเกิดจากบ่อน้ำเจ็ดบ่อในผืนป่านั่นเอง และน้ำตกทุเรียน (Durian Perangin Waterfall)
• หมู่บ้านออเรียนทัล (Oriental Village) ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร ลานแสดงวัฒนธรรมและเป็นสถานีลังกาวีเคเบิลคาร์ (Langkawi Cable Car) โดยจะไต่ระดับความสูงไปสู่ยอดเขาแมชินซาง (Machincang) ที่ความสูง 708 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลสามารถมองไกลไปถึงฝั่งรัฐเกดะห์และภาคใต้ของไทยด้วย
• สุสานพระนางมัสสุหรี (Makam Mahsuri) หรือสุสานพระนางเลือดขาว สถานที่ฝังศพของพระนางมัสสุหรี ผู้ถูกกล่าวหาว่านอกใจสามีจนถูกประหารชีวิตด้วยกริชเมื่อราวสองร้อยปีก่อน ก่อนตายเธอได้สาปแช่งว่า หากเธอมิได้กระทำความผิดขอให้เลือดของเธอเป็นสีขาวและลังกาวะจะต้องตกอยู่ ใต้คำสาปแช่งนี้เจ็ดชั่วคน ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าเลือดของเธอมีสีขาวดังคำสาปทำให้ผู้คนเรียกขานเธอว่า “พระนางเลือดขาว” และนอกจากนี้สุสานพระนางมัสสุหรี ยังเป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของมาเลเซีย เรือนไม้จำลองตามแบบบ้านเรือนของพระนางมัสสุหรี และมีการแสดงนาฏศิลป์อีกด้วย
• แกลเลอเรียเปอร์ดานา (Galeria Perdana) คือพิพิธภัณฑ์แสดงของที่ระลึกจากทั่วโลก ซึ่งของที่ระลึกเหล่านี้ได้มาจากผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่มอบให้แด่นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย
• ลังกาวีคราฟต์คอมเพล็กซ์ (Langkawi Craft Complex) ศูนย์การจัดแสดงงานหัตถกรรมพร้อมการสาธิต เช่น ผ้าทอ ผ้าบาติก ชุดประจำชาติ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา และขนมพื้นเมืองต่าง ๆ
• ลังกาวียังมีสถานที่น่าสนใจอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น เทอลากาไอเยอร์ฮังกัต (Telaga Air Hangat) ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนที่มีความแปลกเพราะน้ำร้อนนี้เป็นน้ำทะเล หรือสวนสัตว์ต่าง ๆ นอกจาก Underwater World แล้วยังมีสถานที่แสดงสัตว์อีกหลายแห่ง เช่น Wildlife Park, Buffalo Park, Langkawi Crocodile Farm หรือการนั่งช้างชมป่า ที่ Langkawi Elephant Adventures
ข้อมูลท่องเที่ยวปีนัง (Penang)
เกาะปีนัง หรือ ที่ชาวไทยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนคุ้นเคยในชื่อเกาะหมาก เป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรี ซึ่งรัฐบาลไทยถือว่าเป็นหัวเมืองมลายูที่ขึ้นต่อสยามประเทศ แต่ภายหลังเมื่อการล่าเมืองขึ้นขยายตัวมายังภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ไทยจึงต้องเสียดินแดนทางภาคใต้แก่อังกฤษ อันประกอบด้วย 4 เมือง คือ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี (รัฐเกดะห์ในปัจจุบัน) อังกฤษเข้าครอบครองปีนังเนื่องากรัฐบาลอังกฤษมีนโยบายขยายอิทธิพลในภูมิภาค นี้ ในปี พ.ศ. 2329 ชาวอังกฤษนามว่าฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) แห่งบริษัทอินเดียตะวันออกเล็งเห็นความโดดเด่นในการพัฒนาเพื่อเป็นเมืองท่า เรือจึงเจรจากับสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ เพื่อขอเกาะปีนังโดยแลกกับการคุ้มครองด้วยกองกำลังทหารอังกฤษเพื่อแยกรัฐเก ดะห์ (หรือไทรบุรี) จากการปกครองของสยามประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นแหงการเสียดินแดนของไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งรัฐปีนัง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรัฐปีนัง แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ เกาะปีนังซึ่งเป็นท่าเรือ กับฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท บนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมและศูนย์กลางการคมนาคมของรัฐ การเดินทางระหว่างเกาะปีนังกับบัตเตอร์เวิร์ทมีสองทางคือ เรือข้ามฟาก และรถยนต์โดยใช้สะพานปีนัง ซึ่งมีความยาว 13.5 กิโลเมตร นับเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• เมืองจอร์จทาวน์ (Georgetown) เมืองแรกของเกาะปีนังที่ได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือ มีสิ่งก่อสร้างยุคอาณานิคมมากาย เมืองจอร์จทาวน์นี้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษและสถานที่สำคัญในเมืองจอร์จทาวน์ เช่น
• ป้อมฟอร์ตคอร์นวอลลิส (Port Cornwallis) สถานที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปีนัง เพราะเป็นสถานที่ซึ่งฟรานซิส ไลต์ ยกพลขึ้นบกและพัฒนาปีนังจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญต่อมา
• Town Hall & City Hall ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปกครองในปีนัง สร้างขึ้นสมัยที่ปีนังยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2423 รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบบริติชเอ็มไพร์ (British Empire)
• พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ปีนัง (Penang Museum and Art Gallery) เป็นอาคารจัดแสดงภาพวาดและภาพถ่าย และจำลองวิถีชีวิตของชาวปีนังในอดีต
• คฤหาสน์เฉิงฟัตเต๋อ (Cheong Fatt Tze Mansion) คฤหาสน์เก่าแก่หลังงามอายุร่วมร้อยปีของคหบดีชาวจีนนาม “เฉิงฟัตเต๋อ” สีฟ้าสดใสจนได้รับฉายาว่า Blue Mansion ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับล้ำค่าต่าง ๆ
• วัดเจ้าแม่กวนอิม (Goddess of Mercy Temple) วัดจีนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าแม่กวนอิมองค์สีทองประดิษฐานอยู่ภายใน ทุกวันจะมีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนเข้ามาที่วัดเพื่อนมัสการเจ้าแม่กวนอิมเป็นจำนวนมาก ฝั่งตรงข้ามของวัดนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวอินเดีย (Little India) มีวัดศรีมหามาเรียมมัน (Sri Mahamariamman Temple) ศาสนสถานของชาวฮินดูเป็นจุดศูนย์กลางด้วย
• มัสยิดกัปปิตันเคอลิง (Kapitan Kelling Mosque) สร้างขึ้นโดยกัปตันเคอลิง พ่อค้าชาวอินเดียด้วยศิลปแบบมัวร์มีโดมขนาดใหญ่ดูโดดเด่นอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของมัสยิด
นอกจากนี้ยังมีมัสยิด Acheen Stree Malay หรือที่ชาวปีนังเรียกติดปากว่า มัสยิดมลายู (Masjid Melayu) และวัดจีนอีกสองแห่ง คือ คูกงสี (Khoo Kongsi Temple) และหันเจียง (Han Jiang Ancestral Temple) บนถนนเลียบชายฝั่งทะเล ถนนเปงกลันเวลด์ (Pengkalan Weld) ซึ่งสองฝั่งถนนเต็มไปด้วยอาคารในยุคล่าอาณานิคมหลายแห่ง และยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือข้ามฟากไปยังบัตเตอร์เวิร์ทและท่าเรือไปยังเกาะลังกาวีอีกด้วย และสุดถนนเป็นวงเวียนที่ตั้งหอนาฬิกาควีนวิคตอเรีย (Queen Victoria Memorial Clock Tower ซึ่งเป็นหอนาฬิกาสูง 60 ฟุต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 เพื่อระลึกถึงวาระครบรอบเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษาของพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ปัจจุบันในย่านจอร์จทาวน์มีศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่นามว่า Komtar เป็นอาคารที่สูงที่สุดในปีนัง สูง 232 เมตร 65 ชั้นย่อมาจาก Komplex Tun Abdul Razak ตามชื่อของนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย ภายในมีห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร และหอประชุม โดยที่ชั้นที่ 55 เปิดเป็นจุดชมวิวของเมืองจอร์จทาวน์ซึ่งสามารถมองไปถึงฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท
• ปีนังฮิลล์ (Penang Hill) เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของเกาะปีนัง สามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์บนยอดเขาด้วยการขึ้นรถรางที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ไปชมวิวของเกาะปีนังที่ความสูงถึง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล
• วัดศรีรุทราวีรามุทูมหามาเรียมมัน (Sri Rutha Veeramuthu Maha Mariamman Devasthanam) เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่งดงามยิ่งด้วยรูปปั้นเหล่าทวยเทพที่มีสีสันสดใสและลวดลายแกะสลักที่สวยงาม
• วัดเค้กลกซี (Kek Lok Si) เป็นวัดจีนในพุทธศาสนานิกายมหายานตั้งอยู่บนเขาไอเยอร์อิตาม (Air Itam) สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือเจดีย์สีทองแปดเหลี่ยมบนยอดเขา ซึ่งโดยรอบองค์เจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักมากกว่า 10,000 องค์
ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐมะละกา
• มะละกา เป็นเมืองหลวงของรัฐมะละกา 1 ใน 13 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย เราคงเคยได้ยินชื่อช่องแคบมะละกาบ่อยๆ โดยช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้าง 1.5 ไมล์ เป็นยุทธศาสตร์ทางการเดินเรือที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• รัฐมะละกา เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุข แต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามาก ว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัชต์และมาเลย์ ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ในปี 2008
• รัฐมะละกา (Melaka) ชาว มาเลย์ทุกคนถือว่ารัฐนี้เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศ เพราะเป็นทั้งจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์และเป็นสถานที่ประกาศเอกราชจากการ ปกครองของอังกฤษ มะละกาได้รับการก่อร่างสร้างเมืองโดยเจ้าชายปรเมศวร (Prine Parameswara) ที่ลี้ภัยมาจากชวาใน พ.ศ. 1939 เมืองนี้เจริญขึ้นเมื่อมีการค้าขายทางทะเลด้วยตำแหน่งของเมืองที่ตั้งอยู่ใน ช่องแคบระหว่างเกาะสุมาตราและแหลมมลายู ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทางเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียไปทะเลจีนใต้ทำให้มะละกาสามารถเจริญ สัมพันธไมตรีกับชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะจีน และยังการค้าทางทะเลนี้ยังเป็นการนำพาพ่อค้าชาวอาหรับมาที่นี่มิใช่แค่เพื่อ การค้า แต่เป็นการมาเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วยจนกระทั่งพระราชาผู้ปกครอง มะละกาทรงเปลี่ยนพระยศเป็นสุลต่าน และรับเอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติจนปัจจุบัน ความเจริญรุ่งเรืองทำให้มะละกาเป็นที่หมายปองของชาติตะวันตกเพื่อควบคุมเส้น ทางเดินเรือในภูมิภาคนี้
สถานที่ท่องเที่ยวมะละกา
มะละกา บนเส้นทางการท่องเที่ยว
• ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ทำให้เมืองมะละกากลายเป็นเมืองท่าริมทะเลที่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างชาติตะวันตกและตะวันออก สินค้าสำคัญก็มีทั้ง เครื่องเทศ ผ้าไหม ชา ฝิ่น ยาสูบ ทองคำ ฯลฯ มะละกาจึงเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจจากบรรดานักล่าอาณานิคมชาวตะวันตก โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามายึดครองมะละกาใน ค.ศ.1511-1641 ก่อนที่จะถูกดัตช์ (ฮอลแลนด์) เข้ามาครอบครองต่อใน ค.ศ.1641-1795 จากนั้นเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาเป็นอังกฤษใน ค.ศ.1795-1941 และญี่ปุ่นเข้ามายึดครองในช่วงสั้นๆ ระหว่าง ค.ศ.1941-1945 ก่อนจะกลับไปอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษอีกครั้ง ใน ค.ศ.1945-1957 และท้ายที่สุด มาเลเซียได้ประกาศอิสรภาพใน ค.ศ. 1957 ซึ่งมะละกาคือสถานที่ประกาศเอกราช โดยปัจจุบันตึกอนุสรณ์ประกาศอิสรภาพยังคงตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในย่านท่อง เที่ยวสำคัญของเมืองนี้
• การตกอยู่ใต้อาณัติของชาติตะวันตกเป็นเวลานานทำให้มะละกามีลักษณะของ สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัชต์และมาเลย์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
• สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองเก่ามะละกา จุดเริ่มต้นจาก “เรด สแควร์” (Red Square) หรือจัตุรัสแดง หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า จัตุรัสดัตช์ เนื่องจากที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางชุมชนดัตช์ในสมัยที่เข้ามาปกครองมลายู อาคารต่างๆ ที่ล้อมรอบจัตุรัสเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ใจกลางจตุรัสเป็นลานน้ำพุแบบอังกฤษที่สร้างถวายแด่พระราชินีวิคตอเรียใน ค.ศ.1904 ส่วนรอบๆ ลานน้ำพุคือหอนาฬิกา โบสถ์คริสต์ (Christ Church) ศิลปกรรมดัตช์ประยุกต์ ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1753 และอาคารสตัดธิวท์ (Stadhuys) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1650 เป็นอาคารดัตช์เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย ปัจจุบันอาคารสตัดธิวท์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดีของมะละกา อาคารทั้งสามต่างทาด้วยสีแดงเข้ม จนกลายเป็นชื่อเรียกจัตุรัสแดงนั่นเอง
• จากจัตุรัสแดงก็ไปเที่ยว ป้อม A’Famosa ป้อมปืนที่โปรตุเกสสร้างขึ้นใน ค.ศ.1511 ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงป้อมเดียว ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของมะละกาที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนกัน ป้อมแห่งนี้ตั้งที่อยู่เชิงเขาเล็กๆ ซึ่งบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของโบสถ์เซนต์ปอล (St.Paul) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1753 ด้านหน้าโบสถ์มีรูปปั้นของนักบุญ Francis Xavier ตั้งอยู่ สำหรับการเดินขึ้นไปยังโบสถ์เซนต์ปอลนั้นมีสองเส้นทาง คือขึ้นจากทางป้อม A’Famosa หรือจะเลือกขึ้นทางอาคารสตัดธิวท์ก็ได้ และหากขึ้นทางนี้ก็จะได้ชมต้นมะละกาหรือต้นมะขามป้อม และยังสามารถชมทิวทัศน์ของช่องแคบมะละกาไกลๆ ได้ด้วย
• นอกจากป้อมเก่าแก่แล้ว ยังมี ตึกอนุสรณ์ประกาศอิสรภาพ ที่ภายในจัดเก็บข้อมูลเหตุการณ์การประกาศอิสรภาพของชาวมาเลเซีย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม เมืองเก่ามะละกานี้มีพิพิธภัณฑ์อยู่เยอะมาก นั่นเพราะมะละกาถือเป็นต้นทางประวัติศาสตร์ของมาเลเซียที่เต็มไปด้วยร่องรอย ทางประวัติศาสตร์ระหว่างชาติตะวันตกยุคล่าอาณานิคม
• การเที่ยวชมมะละกา สามารถ เดินท่องเที่ยวได้เพราะสถานที่เที่ยวแต่ละที่อยู่ไม่ไกลนัก แต่ถ้าหากอยากได้สีสันที่มาพร้อมความประทับใจสามารถใช้บริการสามล้อถีบซึ่ง แต่ละคันตกแต่งประดับประดาไม่ซ้ำกันเลยสักคัน จุดรวมของสามล้อจะอยู่บริเวณหน้าจัตุรัสดัชต์ (Dutch Square)
• โบสถ์คริสต์มะละกา (Christ Church Melaka) โบสถ์สีแดงในคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2284 เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบตอบ 100 ปีที่ชาวดัตช์ปกครองมะละกาใช้เวลาในการสร้าง 12 ปี แต่ภายหลังเมื่ออังกฤษเข้าปกครองได้เปลี่ยนเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันและมี การนำเครื่องวัดทิศทางลมรูปไก่ (Weathercock) มาติดไว้เหนือระฆังบนยอดโบสถ์ และมีการสร้างน้ำพุหินอ่อนและหอนาฬิกาด้านหน้าเพิ่มเติม ปัจจุบันยังคงเป็นโบสถ์ของชาวคริสต์เช่นเดิม นักท่องเที่ยวและผู้นับถือศาสนาอื่นสามารถเข้าชมได้ แต่ห้ามถ่ายรูป
• พิพิธภัณฑ์มะละกา (Cultural Museum) อยู่บนเนินเขาหน้าโบสถ์ดัตช์ โดยดัดแปลงจากศูนย์กลางการปกครองของชาวดัตช์ภายในจัดแสดงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายปรเมศวรทรงก่อตั้งมะละกา ตลอดจนช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวยุโรปหลายชาติ มีการจัดแสดงวัตถุโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผา กริช เหรียญกษาปณ์ เครื่องแต่งกายของสุลต่าน และภาพถ่ายในอดีต
• โบสถ์เซนต์ปอลต์ (St. Paul’s Chruch) ตั้งอยู่บนเนินเขาเซนต์ปอล สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2064 ปัจจุบันเหลือเพียงผนังสี่ด้านไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คน รุ่นหลังได้เรียนรู้เท่านั้น ในยุคที่โปรตุเกสปกครองมะละกา โบสถ์แห่งนี้ชื่อว่า Nosa Senhora แต่เปลี่ยนเป็น St. Paul เมื่อชาวดัตช์เข้ามาปกครอง ด้านหน้ามีรูปปั้นนักบุญฟรานซิส เซเวียร์ (St. Francis Xavier) ผู้มีชื่อเสียงด้านการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคและมาเผยแผ่ศาสนา ที่มะละกาถึง 4 ครั้งจนกระทั่งเสียชีวิตศพของนักบุญฟรานซิสจึงได้รับการฝังไว้ที่หน้าโบสถ์ แห่งนี้ก่อนจะนำส่งต่อไปยังประเทศอินเดีย
• ป้อมประตูซานติเอโก (Porta De Santiago) อยู่บริเวณเชิงเขาเซนต์ปอล สร้างขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 เป็นส่วนที่ยังหลงเหลือของป้อมเอฟาโมซาที่ถูกทำลายลงในระหว่างสงครามแย่งชิง มะละกาของโปรตุเกสและฮอลันดา จนเมื่อชาวดัตช์ได้เข้าปกครองมะละกา ป้อมเอฟาโมซาได้รับการบูรณะอีกครั้ง แต่ถูกทำลายอีกครั้งด้วยกองทัพเรืออังกฤษ คงเหลือไว้เพียงป้อมประตูซานติเอโกเท่านั้น
• ตึกอนุสรณ์การประกาศเอกราช (Proclamation of Independence Memorial) อยู่ตรงข้ามกับป้อมประตูซานติเอโก สร้างขึ้นในสมัยที่อังกฤษเข้าปกครองมะละกาตามแบบสถาปัตยกรรมวิคตอเรียแต่ยัง คงมีสัญลักษณ์ของอิสลามด้วยยอดโดมคู่สีทอง ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่ถูกปกครองโดยชาติ ตะวันตก และเหตุการณ์วันประกาศอิสรภาพในวันที่ 31 สิงหาคม 2500
• วังสุลต่านแห่งมะละกา (Melaka Sultanate Palace หรือ Istana Kesultanan Melaka) อยู่บริเวณด้านหลังตึกอนุสรณ์การประกาศเอกราชสร้างขึ้นแทนของเดิมที่ถูกไฟ ไหม้ โดยสร้างจำลองจากวังสุลต่านในสมัยก่อนถูกโปรตุเกสเข้ายึดครอง ภายในจัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้านการเดินเรือสมัยถูกปกครองด้วย ชาติตะวันตก พร้อมทั้งเรื่องราววิถีชีวิต การแต่งกาย การละเล่นต่าง ๆ
• พิพิธภัณฑ์อิสลาม (Islamic Museum) อาคารสีแดง แต่เดิมเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดในมะละกา ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซีย
• ถนนยองเกอร์ (Jonker Street) ซึ่งเป็นถนนคนเดินจำหน่ายอาหารและของที่ระลึกมากมาย บริเวณนี้เต็มไปด้วยโบราณสถานและศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่งผสมผสานกันระหว่าง จีน ฮินดู และมุสลิม
• พิพิธภัณฑ์บาบาโนนยา (Baba Nyonya Heritage Museum) สร้างด้วยสถาปัตยกรรมตามแบบชิโน – โปรตุกีสเป็นห้องแถวของคหบดีชาวจีน ชานเชงชิว (Chan Cheng Siew) ภายในจัดแสดงเป็นห้อง ๆ เช่นห้องนอน ห้องนั่งเล่น เครื่องประดับบ้าน สัตว์มงคลตามความเชื่อของชาวจีน คำว่า Baba หมายถึง ผู้ชาย ส่วน Nyonya หมายถึง ผู้หญิง รวมกันจะหมายถึง ลูกหลานที่เกิดจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากในแหลมมลายู
• มัสยิดกัมปุงคลิง (Kampung Kling Mosque) และมัสยิดกัมปุงฮูลู (Kampung Hulu Mosque) มัสยิดสองแห่งมีลักษณะคล้ายกัน มัสยิดกัมปุงฮูลู สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2271 มีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไปเพราะเป็นมัสยิดที่ไม่มียอดโดมแต่กลับสร้างแบบ มีหลังคาทรงพีระมิดตามแบบสถาปัตยกรรมชวา ภายในมีสระน้ำวุฎูอ์ ที่เป็นสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมใช้ชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้าก่อนทำละหมาด
• ศาลเจ้าเช็งฮุนเต็ง (Cheng Hoon Teng Temple) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2189 ในแต่ละวันจะมีชาวมาเลย์เชื้อสายจีนเป็นจำนวนมากเข้ามานมัสการเจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้ากวนอู และเหล่าเทพเจ้าในศาลเจ้าแห่งนี้ ปัจจุบันได้มีการก่อสร้างขยายไปอีกฟากฝั่งถนนเป็นศาลเจ้าหินอ่อนขนาดใหญ่สอง ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวที่อัญเชิญมาจากประเทศพม่า
• วัดศรีโพยาธาวินยากามูรติ (Sri Poyyatha Vinayaga Moorthy Temple) เป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2324 ภายในประดิษฐานพระพิฆเนศวร และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวฮินดูในมะละกา
• Bukit China หรือ เนินเขาของชาวจีน ลึกเข้าไปในเขตเมืองเก่ามะละกามีเนินเขาที่เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “เนินเขาซำปอกง” ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศาลเจ้าซำปอกง (Sam Po Kong Temple) คำว่าซำปอกงเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกแม่ทัพที่เดินทางมาทางเรือในยุคอดีต ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง “เจิ้งเหอ” แม่ทัพชาวจีนที่เดินทางมายังมะละกาตั้งแต่ยุคเจ้าชายปรเมศวร การเดินทางมาของแม่ทัพผู้นี้ก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างจีนและ มะละกา นำมาซึ่งความเจริญสู่มะละกาในเวลาต่อมา และข้าง ๆ ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีสถานที่อีกแห่งคือ Hang Li Poh’s Well บ่อน้ำโบราณ ในตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นบ่อน้ำที่เจ้าหญิง ฮัง ลี โปห์ ราชธิดาจากเมืองจีนเคยใช้ในคราวเดินทางมาอภิเษกสมรสกับสุลต่านแห่งมะละกา ซึ่งต่อมาเป็นกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของมะละกา
นอกจากโบราณสถานและศาสนสถานแล้วมะละกายังมีสิ่งก่อสร้างยุคใหม่ที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ คือ Taming Sari Tower หอคอยสูง 110 เมตร ซึ่งสามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์ของมะละกาได้ในแบบ 360 องศาและ Eye on Melaka ชิงช้าสวรรค์ ที่มีจำนวนกระเช้าถึง 42 ใบ และมีความสูง 60 เมตร
ข้อมูลท่องเที่ยวปุตราจายา (Putrajaya)
• ปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ เกิดขึ้นจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่จะสร้างเมืองเพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ราว 4,932 เฮกเตอร์
ส่วนประกอบสำคัญของเมืองได้แก่ทะเลสาบที่สร้างขึ้นโดยการขุด จึงทำให้เมืองปุตราจายามีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีสะพานที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพาน
• ปุตราจายา เป็นเขตปกครองพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่อยู่บนพื้นที่ของรัฐสลังงอร์ อยู่ห่างไปจากกัวลาลัมเปอร์ทางทิศใต้ 25 กิโลเมตร ชื่อ “ปุตราจายา” นี้มาจากชื่อนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย นามว่า “ตนกู อับดุล รามัน ปุตรา อัลฮัจ”
• Putrajaya Sentral เขตเมืองใหม่แห่งนี้มีศูนย์กลางการคมนาคม คล้ายกับ KL Sentral ในกัวลาลัมเปอร์นั่นเอง
สถานที่สำคัญในเมืองนี้มี มัสยิดปุตรา (Putra Mosque) หรือมัสยิดสีชมพู มีทะเลสาบด้านข้างมัสยิดซึ่งสามารถมองเห็นเงาสะท้อนสีชมพูที่ผิวน้ำจนดูเหมือนมัสยิดลอยน้ำ และที่ริมทะเลสาบยังมีสะพานเสรีวาวาซาน (Seri Wawasan) สะพานขึงรูปร่างแปลกตาอีกด้วย ด้านหน้าของมัสยิดปุตรา คือ ปุตราสแควร์ (Putra Square) ลานกว้างแห่งนี้มีรูปดาว 13 แฉก หมายถึงรัฐทั้ง 13 ของมาเลเซีย มีธงของแต่ละรัฐตั้งอยู่ตามแฉกต่าง ๆ ตรงกลางเป็นธงชาติมาเลเซีย และสถานที่อีกแห่งคือ ที่ทำการนายกรัฐมนตรี (Perdana Putra Complex) เป็นอาคารขนาดใหญ่มียอดโดมสีฟ้า ด้านหลังมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ตรงกลางสวนเป็นที่ตั้งของวังเมลาวาตี (Istana Melawati)
ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐกลันตัน (Kelantan)
• กลันตัน เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดทางด้านตะวันออกของมาเลเซีย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสมีเมืองหลวงชื่อ โกตาบารู (Kot Bharu) มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำกลันตัน และเป็นรัฐที่มีความอนุรักษ์นิยมมากที่สุดในประเทศ จึงมากไปด้วยพิพิธภัณฑ์ที่ดัดแปลงมาจากวังของสุลต่าน ในอดีตยังเคยเป็นหนึ่งในหัวเมืองมลายูที่ไทยเคยปกครองดังนั้นวิถีชีวิตและ อาหารการกินจึงคล้ายคลึงกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ศูนย์กลางของเมืองโกตาบารูอยู่ที่จัตุรัสเมอร์เดกา ซึ่งลักษณะในการสร้างและจุดประสงค์ในการสร้างเหมือนกับที่กัวลาลัมเปอร์คือ เป็นสัญลักษณ์แห่งการประกาศอิสรภาพนั่นเอง
• พิพิธภัณฑ์ในโกตาบารู เดิมเป็นวังของสุลต่านแห่งกลันตัน จนถึงปี พ.ศ. 2534 ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในจัดแสดงเป็นห้อง ๆ เช่น ห้องเสวยพระกระยาหาร ห้องบรรทม โดยจัดแสดงเครื่องใช้ต่าง ๆ ขององค์สุลต่านและครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องเงิน เครื่องคริสตัลที่งดงาม และมีรูปถ่ายประวัติศาสตร์เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือน กลันตันในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 โดยสุลต่านมุฮัมมัดที่ 4 เฝ้ารับเสด็จ
• พิพิธภัณฑ์พระราชวังจาฮาร์ (Istana Jahar) สร้างโดยสุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 เพื่อเป็นของขวัญแด่องค์รัชทายาทซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสุตล่านมูฮัมมัดที่ 3 และยังเป็นที่ประทับต่อ ๆ มาของสุลต่านอีกหลายพระองค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 จึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์โดยจัดแสดงเป็นห้อง ๆ ตามราชประเพณี และด้านหลังยังมีอาคารแสดงอาวุธโบราณโดยเฉพาะกริชที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมาเลย์อีกด้วย และใกล้ ๆ กันนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจ คือ มัสยิสมูฮัมมาดีซึ่งถือเป็นมัสยิดกลางของรัฐกลันตัน
• พิพิธภัณฑ์สงคราม (War Museum) เดิมอาคารนี้เป็นที่ทำการธนาคารพาณิชย์แห่งอินเดีย สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2455 ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
• พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐ (Kelantan State Museum) เดิมเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองโกตาบารู ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2533 ได้ทำการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปะและประวัติศาสตร์ของรัฐกลันตัน
• นอกจากนี้ในรัฐกลันตันยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นผืนป่า น้ำตก หรือชายหาดทางฝั่งตะวันออก และในเมือตุมปัตซึ่งอยู่ทางเหนือสุดและติดกับชายแดนไทย มีวัดไทยอีกหลายแห่งที่เป็นศูนย์กลางความศรัทธาของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย เช่น วัดโพธิวิหาร วัดมัชฌิมาราม และวัดใหม่สุวรรณคีรี
ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐตรังกานู
เมืองกัวลาตรังกานู (Kuala Trengganu) เป็นเมืองหลวงของรัฐตรังกานู อยู่บริเวณปากแม่น้ำตรังกานูเมืองนี้มีขนาดไม่ใหญ่นักสามารถเดินเที่ยวชม เมืองได้ เริ่มจาก (Water Front) ท่าเรือริมแม่น้ำตรังกานู ซึ่งบริเวณนี้เป็นปากแม่น้ำที่แผ่กว้าง อีกฟากของแม่น้ำคือ มัสยิดคริสตัล (Crystal Mosque) เป็นมัสยิสที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยโครงเหล็กและประดับประดาด้วยกระจกอย่างสวย งาม เมื่อเดินเลียบไปตามแม่น้ำจะพบย่านไชน่าทาวน์ที่เรียงรายไปด้วยบ้านเรือนที่ สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส มีอาหารจีนอร่อย ๆ มากมาย เมื่อพ้นจากย่านไชน่าทาวน์จะเป็นย่ายเซนทรัลมาร์เก็ต (Central Market) สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในย่านนี้คือมัสยิดอบิดีน (Abidin Mosque) มัสยิสสีขาวสะอาดตาจนชาวเมืองเรียกติดปากว่า “มัสยิดสีขาว”
• เขาพูเทอรี (Bukit Puteri) เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณปากแม่น้ำตั้งอยู่ริมทะเล บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของป้อมปราการที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2374 เพื่อป้องกันตัวเมืองตรังกานูจากการโจมตีทางทะเลจึงมีปืนใหญ่จำนวนมากตั้งอยู่บนนี้ เมื่อลงจากเขาพูเทอรีจะพบกันสวนอิสตานามาเซียห์ (Istana Maziah) สวนสไตล์มาเลย์ที่เต็มไปด้วยดอกไม้นานาพันธุ์
• ถนนสุลต่านไซนัลอบิดิน (Jalan Sultan Zainal Abidin) เป็นถนนที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งสุดปลายของถนนเส้นนี้คือหาด พริมูลา (Primula Beach) ก่อนถึงปากทางเข้าหาดมีมัสยิดมุกตาฟีบิลลาห์ชาห์ (Musjid Al Muktafi Billah Shah)
• เต็งกูเต็งงะห์ซาฮาราห์ (Tengku Tengah Zaharah Mosque) หรือมัสยิดลอยน้ำมัสยิดสีขาวที่ตั้งอยู่บนเกาะที่รอบล้อมด้วยน้ำใสสะอาดจนเกิดเงาสะท้อนที่งดงาม
• ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐปะหัง (Pahang)
• ปะหัง เป็นรัฐในแหลมมลายูที่มีพื้นที่มากที่สุด มีเมืองกวนตัน (Kuantan) เป็นเมืองหลวงแห่งรัฐอยู่ติดทะเลบนดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำกวนตัน
• มัสยิดสุลต่านอะห์หมัดที่ 1 เป็นอาคารสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้นส่วนบนสุดคือโดมสีฟ้าขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยหอคอยยอดแหลม 4 ด้านสามารถจุคนได้ถึง 10,000 คน
• พิพิธภัณฑ์รัฐปะหัง (Museum Tokho Negeri Pahang) ภายในเป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่และวิถีชีวิตของชาวปะหัง
• สวนเกอโลรา (Taman Gelora) เป็นสวนสาธารณะริมทะเล มีแนวสวนสนที่ร่มรื่น อยู่ห่างจากปากแม่น้ำกวนตันไปประมาณ 2 กิโลเมตร
• คาเมรอนไฮแลนด์ (Cameron Highlands) ดินแดนที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,524 เมตร มียอดสูงสุดที่มีความสูงถึง 2,032 เมตร คือ Gunung Brinchang ทำให้มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี พื้นที่นี้จึงเหมาะแก่การเพาะปลูพืชเมืองหนาว ไม่ว่าจะเป็นไร่ชา หรือสตรอว์เบอร์รี่
ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐยะโฮร์ (Johor)
• รัฐยะโฮร์นี้เกิดขึ้นเมื่อเมืองมะละกาถูกครอบครองโดยโปรตุเกส สุลต่านมาห์มุดซาห์แห่งมะละกาจึงถอยร่นมายังพื้นที่ตอนใต้ของแหลมมลายูใน พ.ศ. 2054 และก่อตั้งเป็นอาณาจักรยะโฮร์แต่ภายหลังตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่ง อังกฤษคืนเอกราชแก่รัฐต่าง ๆ ในมลายูเมื่อพ.ศ. 2500 ยะโฮร์จึงเข้าร่วมกับรัฐอื่น ๆ เป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีเมืองหลวงแห่งรัฐชื่อ ยะโฮบาห์รู (Johor Bahru) ที่สุดปลายแหลมมลายู เดิมมีเมืองชื่อว่า เมืองบันดาร์ตันจุงพูเทอรี (Bandar Tanjung Puteri) ซึ่งสุลต่านเตเมงกอง อิบราฮิมได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2420 และสร้างวังสุลต่านอิบราฮิม (Bangunan Sultan Ibrahim) ซึ่งมีลักษณะคล้ายป้อมปราการบนเนินเขา และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวชมได้จากภายนอกเท่านั้น
• มัสยิดสุลต่านอบู บาการ์ (Masjid Sultan Abu Bakar) ตั้งอยู่บนเนินเขาช่องแคบยะโฮร์ ที่เป็นช่องแคบระหว่างยะโฮร์กับเกาะสิงคโปร์จึงสามารถมองเห็นเกาะสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน และใกล้ ๆ กับมัสยิดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์รอยัลอบูบาการ์ (Royal Abu Bakar) และสวนสัตว์ให้เข้าชม
• ดาตารันบานดารายา (Dataran Bandaraya) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสถาปนาเมืองยะโฮร์บาห์รูเป็นเมืองหลวง และที่ใกล้ ๆ กันกับดาตารันบานดารายา คือ หาดลิโด้ (Lido Beach) ชายหาดที่งดงามที่สุดของแหลมมลายู
พื้นที่ใต้สุดของแหลมมลายูนี้มีช่องแคบยะโฮร์คั่นกลางระหว่างแหลมกับเกาะสิงคโปร์ ฉะนั้นเมื่อต้องการไปสิงคโปร์สามารถไปได้สะดวกโดยรถประจำทางและรถไฟซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
No comments:
Post a Comment