Saturday, March 28, 2015

ท่องเที่ยวปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan)

คู่มือการท่องเที่ยวปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan)
ประเทศปากีสถาน หรือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วย ปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์ หรือกัษมีระ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูชิสถาน (BaluchisTAN)

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
อาณาเขต ของประเทศปากีสถานในปัจจุบันเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ ซึ่งเคยถูกปกครองโดยชาวอารยัน เปอร์เซีย มาเซโดเนีย กลุ่มชนจากเอเชียกลาง อาณาจักรออตโตมัน ชาวอาหรับ และจักรวรรดิ์โมกุลตามลำดับ จนถึงช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิ์อังกฤษได้ขยายอิทธิพลมายังอินเดียและดินแดนต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้แทนที่จักรวรรดิ์โมกุลที่เสื่อมอำนาจลง และต่อมาอังกฤษสามารถปกครองอนุทวีปเอเชียใต้นี้ได้โดยสมบูรณ์

ในยุค อาณานิคมนั้น ดินแดนปากีสถานในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย และชาวมุสลิมในอินเดียได้ดำเนินการเผยแพร่ความคิดที่จะสถาปนาดินแดนอิสระของ ชาวมุสลิม (separate Muslim state) ขึ้นในอินเดีย ระหว่างปี 2480-2482 (ค.ศ. 1937-1939) กลุ่มชาวมุสลิมรวมตัวกันภายใต้ชื่อ All-India Muslim League และผลักดันข้อเสนอดังกล่าว จนฝ่ายปกครองต้องเห็นชอบกับข้อมติที่เรียกกันว่า Pakistan Resolution เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2483 (ค.ศ. 1940) จึงเกิดดินแดนที่มีชาวมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่ขึ้นในอนุทวีปเอเชียใต้ ในนามดินแดนปากีสถาน

ต่อมาอินเดียได้เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ จนประสบความสำเร็จในวันที่ 14 สิงหาคม 2490 (ค.ศ. 1947) และทำให้ปากีสถานมีสถานะเป็นประเทศอีกประเทศหนึ่งแยกจากอินเดีย โดยแบ่งดินแดนปากีสถานเป็น 2 ส่วน คือ ปากีสถานตะวันตกและปากีสถานตะวันออก โดยมี Quaid-i-Azam Muhammad Ali Jinnah เป็นผู้นำประเทศคนแรกในตำแหน่ง Governor General (ขณะนั้นยัง ไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี) และเป็นบุคคลที่ชาวปากีสถานยกย่องเป็นบิดาของประเทศ (Father of the Nation) ซึ่งต่อมาในปี 2514 (ค.ศ. 1971) ปากีสถานตะวันออกได้แยกตัวเป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน

ที่ตั้งตั้ง อยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับจีน ทิศตะวันตกติดกับ อิหร่านและอัฟกานิสถาน ทิศตะวันออกติดกับอินเดีย และทิศใต้ติดกับทะเลอาหรับ

เมืองหลวงกรุงอิสลามาบัด (Islamabad)

เมืองสำคัญกา ราจี (Karachi) เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางใต้ของประเทศ ละฮอร์ (Lahore) เป็นเมืองศูนย์กลางของธุรกิจอุตสาหกรรม ทางเหนือของประเทศ

ภูมิอากาศบริเวณส่วนใหญ่ของประเทศอากาศร้อนและแห้งแล้ง ยกเว้นภาคตะวันตกเฉียงเหนือที่อากาศอบอุ่น และภาคเหนือมีอากาศเย็น

เชื้อชาติปัญ จาบร้อยละ 59 ปาทานร้อยละ 14 ซินด์ร้อยละ 12 บาลูชีร้อยละ 4 และมูฮาเจียร์ (Muhajir - ชาวมุสลิมที่อพยพมาจากอินเดีย) ร้อยละ 8 และอื่นๆ ร้อยละ 3

ภาษาภาษาอูรดูเป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาอังกฤษใช้ในรัฐบาลกลางและแวดวงธุรกิจ และมีภาษาท้องถิ่นอาทิ ปัญจาบี ซินดิ ปาทาน และบาลูชี

ศาสนาอิสลามร้อยละ 97 (ในจำนวนนี้ ร้อยละ 77 เป็นนิกายสุหนี่ และร้อยละ 20 เป็นนิกายชีอะห์) คริสต์ ฮินดูและอื่นๆ รวมร้อยละ 3

วันสำคัญวันที่ 23 มีนาคม (Pakistan Day)

การศึกษาประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปี ที่อ่านออกเขียนได้เฉลี่ยร้อยละ 45.7 (แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 59.8 เพศหญิง ร้อยละ 30.6)

หน่วยเงินตรารูปีปากีสถาน (Pakistani Rupee) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 59.9 รูปี

ระบอบการเมืองกึ่งประชาธิปไตย โดยประธานาธิบดีมีอำนาจสูงสุดจากการรัฐประหาร

ระบบการปกครองสาธารณรัฐ (Republic) แบ่งเป็น 4 รัฐ 1 เขตปกครอง และแคว้นแคชเมียร์ ซึ่งปากีสถานและอินเดียโต้แย้งเรื่องสิทธิที่จะปกครองแคว้นทั้งหมด ในทางปฏิบัติทั้งสองประเทศแบ่งดินแดนเป็น 2 ส่วน และแยกกันปกครอง

ปากีสถาน เป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ การกระจายอำนาจการปกครองเป็นในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ 4 รัฐ (State หรือแคว้น - Province) ได้แก่ ซินด์ (Sindh) ปัญจาบ (Punjab) บาโลจีสถาน (Balochistan) รัฐตะวันตกเฉียงเหนือ (North West Frontier Province) นอกจากนั้นปากีสถานมี 1 เขตปกครอง (territory) เรียกว่าเขตชนเผ่า (Tribal Area) ซึ่งปกครองตนเองแต่อยู่ภายใต้อาณัติของรัฐบาลกลาง ส่วนแคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งปากีสถานและอินเดียต่างอ้างสิทธิในการปกครองนั้น ในทางปฏิบัติได้แบ่งเขตปกครองเป็นสองส่วน คั่นกลางด้วยเส้นควบคุม (Line of Control) และแต่ละประเทศปกครองในเขตของตน

ปากีสถานมีรัฐบาลกลาง (Federal Government) และรัฐบาลระดับรัฐ (State Government หรือ Provincial Government) แบ่งการปกครองเป็นระดับประเทศและระดับรัฐ ทำให้แต่ละรัฐมีระบบการบริหารภายในของตนเองด้วย


No comments:

Post a Comment