ลาว
: ดินแดนแห่งขุนเขาและสายน้ำ (Lao)
ลักษณะภูมิศาสตร์ ใน อดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยาม จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีเนื้อที่เหลือเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สาย ด้วยกัน อาทิเช่น น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ ซึ่งบางส่วนของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวในแขวงจำปาศักดิ์มีความกว้าง ถึงหนึ่งกิโลเมตร เกิดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขงคือ น้ำตกคอนตะเพ็ง ซึ่งมีความยาวตามลำน้ำเกือบสิบกิโลเมตร และมีความสูงราว 20 เมตร จากนั้นกระแสน้ำจึงไหลเข้าสู่จังหวัดตึงเตรงในประเทศกัมพูชาต่อไป จากเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ในแขวงเชียงขวาง ยอดเขาหลายแห่งมีความสูงกว่า 2,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือ ภูเบี้ย มีความสูงประมาณ 2,820 เมตร
ลาว...ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่กว่า 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายน้ำที่ยังสมบูรณ์ดังเช่นครั้งหนึ่งไทยเราเคยมี
นานมาแล้วที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันถึงหลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาวมาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาวก็ว่าได้
"ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงช่วงที่คดโค้งสวยงาม หันไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพร
นานมาแล้วที่เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผี
ลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา แรกทีเดียวอาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกวาส “เมืองชวา” อันเนื่องมาจากมีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่ากลุ่มอื่น ในปี พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ เมืองเชียงทอง กระทั่งกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “หลวงพระบาง”
ปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง
ต่อมาอาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ
1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
• กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยังคงสืบทอดราชบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์อันมีสาเหตุหลักมาจาก ตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียตนามและฝรั่งเศส
• เหตุนี้เองหลวงพระบางจึงมาความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษ
หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือมีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรืออันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม
• ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้
• ปัจจุบันเมืองหลวงพระบางมีประชากรประมาณห้าแสนคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ที่ตั้ง : หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงด้วยกันด้วยถนนที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที
ลักษณะภูมิศาสตร์ ใน อดีตที่ผ่านมาประเทศลาวมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก แต่ต่อมาภายหลังมาเสียดินแดนบางส่วนให้กับสยาม จนกระทั่งเข้าสู่ยุคปลดปล่อยจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ประเทศลาวมีเนื้อที่เหลือเพียง 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญถึง 13 สาย ด้วยกัน อาทิเช่น น้ำคาน น้ำงึม น้ำซับ น้ำแบง ฯลฯ แม่น้ำที่สำคัญที่สุดของลาวและเป็นแม่น้ำนานาชาติคือแม่น้ำโขง หรือที่คนลาวเรียกกันว่า แม่น้ำของ ซึ่งบางส่วนของแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวในแขวงจำปาศักดิ์มีความกว้าง ถึงหนึ่งกิโลเมตร เกิดเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขงคือ น้ำตกคอนตะเพ็ง ซึ่งมีความยาวตามลำน้ำเกือบสิบกิโลเมตร และมีความสูงราว 20 เมตร จากนั้นกระแสน้ำจึงไหลเข้าสู่จังหวัดตึงเตรงในประเทศกัมพูชาต่อไป จากเขตแดนลาวมีความยาวทั้งสิ้น 4,500 กิโลเมตร ชายแดนที่ติดกับประเทศไทยมีความยาว 1,730 กิโลเมตร ส่วนใหญ่มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนทั้งสองประเทศ มีความยาวทั้งสิ้น 1,400 กิโลเมตร มีเทือกเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ในแขวงเชียงขวาง ยอดเขาหลายแห่งมีความสูงกว่า 2,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือ ภูเบี้ย มีความสูงประมาณ 2,820 เมตร
ลาว...ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณห้าล้านคน แม้จะน้อยนักแต่หากว่าลาวมีแผ่นดินที่กว้างใหญ่กว่า 236,800 ตารางกิโลเมตร เป็นอาณาจักรแห่งขุนเขาและสายน้ำที่ยังสมบูรณ์ดังเช่นครั้งหนึ่งไทยเราเคยมี
นานมาแล้วที่นักเดินทาง นักท่องเที่ยวใฝ่ฝันถึงหลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเดิมทีหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของลาวมาก่อน เมื่อองค์การยูเนสโก้ยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงขจรขจายไปไกล การท่องเที่ยวเมืองหลวงพระบางจึงมีชื่อเสียงมากที่สุดของลาวก็ว่าได้
"ตัวเมืองอันสงบ อบอุ่นด้วยรอยยิ้มและมิตรไมตรี" ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขงช่วงที่คดโค้งสวยงาม หันไปทางไหนแลเห็นแต่สีเขียวจากป่าดงพงไพร
นานมาแล้วที่เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง พระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้ำโขง แม่น้ำคาน แม่น้ำอู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้ำโขงซึ่งคือหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 1896 – 1916 โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์ขอม (เพราะมเหสีของเจ้าฟ้างุ้มคือพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมในขณะนั้น) พร้อมๆกับการรับเอาพุทธศาสนาเข้ามาแทนการนับถือผี
ลาว เป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวมีชนกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซนต์เท่านั้น ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ที่ราบริมน้ำโขง ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา แรกทีเดียวอาณาจักรล้านช้างมีชื่อเรียกวาส “เมืองชวา” อันเนื่องมาจากมีชาวชวาอาศัยอยู่มากกว่ากลุ่มอื่น ในปี พ.ศ. 1900 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ เมืองเชียงทอง กระทั่งกษัตริย์ขอมได้พระราชทานพระพุทธรูปองค์หนึ่ง มีชื่อว่า พระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหล เจ้าฟ้างุ้มจึงทรงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “หลวงพระบาง”
ปี พ.ศ. 2088 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้า โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ แม้หลวงพระบางจะไม่ได้เป็นเมืองหลวงต่อไป แต่เจ้ามหาชีวิตยังคงประทับที่หลวงพระบาง
ต่อมาอาณาจักรล้านช้างแตกออกเป็นสามอาณาจักร คือ
1.อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
2.อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์
3.อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
• กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้าง ยังคงสืบทอดราชบัลลังก์กระทั่งถึงยุคสิ้นสุดของราชวงศ์อันมีสาเหตุหลักมาจาก ตกเป็นเมืองขึ้นของสยาม เวียตนามและฝรั่งเศส
• เหตุนี้เองหลวงพระบางจึงมาความเป็นมายาวนาน เป็นราชธานีเก่าแก่ วัดวาอารามมากมาย และมีธรรมชาติที่วิเศษ
หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือมีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรืออันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม
• ในขณะที่มรดกโลกแห่งอื่นอาจได้ขึ้นทะเบียนอย่างจำเพาะเจาะจงในโบราณสถาน ธรรมชาติ แต่หลวงพระบางทั้งเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกของมวลมนุษยชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2538 และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองที่ได้รับการปกปักรักษาที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเชียงใต้
• ปัจจุบันเมืองหลวงพระบางมีประชากรประมาณห้าแสนคน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ที่ตั้ง : หลวงพระบาง ตั้งอยู่ทางเหนือของนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เชื่อมต่อถึงกันด้วยทางหลวงหมายเลข 13 ใช้เวลาเดินทางราว 8 – 10 ชั่วโมงด้วยกันด้วยถนนที่ไม่ดีนัก มีเครื่องบินจากนครเวียงจันทน์ถึงหลวงพระบางโดยสายการบินลาว ใช้เวลาบินประมาณ 45 นาที
ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศของลาวคล้ายกับภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวมากกว่า ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศ ค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศแบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
• ฤดูร้อน
เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน
• ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
• ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม
• ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม
• ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม
ศาสนา
ประชาชนลาวมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท
เหมือนกับประชาชนชาวไทยและถือปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนอย่างเคร่งครัด
อีก 10% ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม โดยเฉพาะศาสนาคริสต์
ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเข้ามาเผยแพร่ในช่วงที่เข้ามาปกครองประเทศลาว
ภาษา ภาษา
ประจำชาติคือ
ภาษาลาวมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทยในภาคอีสานของไทย
นอกจากนี้คนลาวบางส่วนยังสามารถใช้ภาษาอังกฤษ
และภาษาฝรั่งเศสได้ดี
สำหรับประชาชนชาวลาวทางตอนเหนือของประเทศสำเนียงการพูดและความหมายของคำบาง
คำคล้ายกับภาษาพื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่
เชียงราย และเลย ทางตอนเหนือของประเทศไทย
ประชากร จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีที่ผ่านมา
(2544) ประเทศลาวมรจำนวนประชากรทั้งหมด 5.6 ล้านคน ประกอบด้วย
3 ชนชาติใหญ่รวม 68 เผ่า ได้แก่
• ลาวลุ่ม หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น
• ลาวเทิง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ
• ลาวสูง เป็นประชากรส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งและเผ่าอื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุย เป็นต้น
• ลาวลุ่ม หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ตามที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำโขง คิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมด เช่น ไทลาว ไทเหนือ ไทแดง ไทขาว ผู้ไท ลาวพวน ไทลื้อ เป็นต้น
• ลาวเทิง เป็นกลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนพื้นที่ที่มีความสูงไม่เกิน 1,000 เมตร คิดเป็นประชากรร้อยละ 20 ของประเทศ เช่น สีดา บ่าแวะ ละแนด ฯลฯ
• ลาวสูง เป็นประชากรส่วนน้อยอาศัยอยู่บนเทือกเขาสูง ส่วนใหญ่เป็นชาวม้งและเผ่าอื่นๆ เช่น มูเซอ ก่อ กุย เป็นต้น
ระบบเงินตรา สกุลเงินของประเทศลาวคือ
กีบ สำหรับเงินกีบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศลาวส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นใบละ
1,000 2,000 5,000 10,000 20,000 กีบ (ไม่มีเงินในลักษณะเหรียญกษาปณ์) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 1 บาท เท่ากับ 0.0037 LAK
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกจำปาหรือคนไทยเรียกว่าดอกลั่นทม เป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกขึ้นได้เองตามธรรมชาติ
การแบ่งการปกครอง ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แขวง (จังหวัด) และอีกหนึ่งเขตการปกครองพิเศษ คือ
1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพฯ
2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวงคือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวงคือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวงคือ เมืองไชยหรืออุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวงคือ ห้วยทราย
7. แขวงพงสาลี เมืองหลวงคือ พงสาลี
8. แขวงหัวฝัน เมืองหลวงคือ ซำเหนือ
9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวงคือ โพนสะหวัน
10. แขวงไชยบุรี เมืองหลวงคือ เมืองไชยบุรี
11. แขวงบอลิิคำไซ เมืองหลวงคือ เมืองปากซัน
12. แขวงคำม่วน เมืองหลวงคือ เมืองคำบ่วนหรือท่าแขก
13. แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ เมืองสะหวันนะเขต
14. แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15. แขวงเซกอง เมืองหลวงคือ เมืองเซกอง
16. แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวงคือ เมืองปากเซ
17. แขวงอัตปือ เมืองหลวงคือ อัตปือ
และเขตปกครองพิเศษ คือ ไชยสมบูรณ์
1. นครเวียงจันทน์ (กำแพงเวียงจันทน์) เป็นเขตการปกครองพิเศษคล้ายกรุงเทพฯ
2. แขวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์
3. แขวงหลวงพระบาง เมืองหลวงคือ หลวงพระบาง
4. แขวงหลวงน้ำทา เมืองหลวงคือ หลวงน้ำทา
5. แขวงอุดมไชย เมืองหลวงคือ เมืองไชยหรืออุดมไชย
6. แขวงบ่อแก้ว เมืองหลวงคือ ห้วยทราย
7. แขวงพงสาลี เมืองหลวงคือ พงสาลี
8. แขวงหัวฝัน เมืองหลวงคือ ซำเหนือ
9. แขวงเชียงขวาง เมืองหลวงคือ โพนสะหวัน
10. แขวงไชยบุรี เมืองหลวงคือ เมืองไชยบุรี
11. แขวงบอลิิคำไซ เมืองหลวงคือ เมืองปากซัน
12. แขวงคำม่วน เมืองหลวงคือ เมืองคำบ่วนหรือท่าแขก
13. แขวงสะหวันนะเขต เมืองหลวงคือ เมืองสะหวันนะเขต
14. แขวงสาละวัน เมืองหลวงคือ เมืองสาละวัน
15. แขวงเซกอง เมืองหลวงคือ เมืองเซกอง
16. แขวงจำปาศักดิ์ เมืองหลวงคือ เมืองปากเซ
17. แขวงอัตปือ เมืองหลวงคือ อัตปือ
และเขตปกครองพิเศษ คือ ไชยสมบูรณ์
โทรศัพท์กลับเมืองไทย : แนะนำให้ใช้บริการโทรศัพท์ผ่านเน็ตตามร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ซึ่งคิดราคาประมาณ 3,000-6,000 กีบ/นาที (ขึ้นอยู่กับว่าโทร.เบอร์บ้านหรือมือถือ) หรือซื้อซิมการ์ดลาวแบบเติมเงินใช้ดีกว่า ราคาถูกกว่าเปิดบริการข้ามแดนจากเมืองไทยไป โดยซิมการ์ดที่คนลาวบอกว่าใช้ดีจะมีอยู่สองเจ้าด้วยกันคือ ทิโก (Tigo) และเอ็มโฟน (M Phone)
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวเส้นทางลาวเหนือ
1. พระธาตุหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย
พระธาตุหลวงแห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว
เป็นสัญญาลักษณ์ประจำชาติและยังแทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาวอีกด้วย
พระธาตุนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 พระธาตุองค์นี้มีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับองค์อื่นๆ
เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร
ตามตำนานเล่าว่า
พระธาตุองค์นี้ได้สร้างในสมัยพุทธศักราชที่
236 โดยมีพระภิกษุลาวจำนวน 5
รูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
และได้อันเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามายังนครเวียงจันทน์ด้วย
ต่อมาด้ำกราบทูลพระยาจันทบุรีประสิทธิ์ศักดิ์
เจ้านครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น
ให้สร้างพระธาตุหลวงขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเพื่อให้ชาวลาวได้
กราบไหว้
กล่าวไว้ว่า
พระธาตุองค์เดิมนั้นสร้างด้วยหินเป็นทรงโอคว่ำ
มีการก่อกำแพงล้อมรอบเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน
แต่ละด้านมีความกว้าง
10 เมตร หนา 4 เมตร และสูง 9 เมตร
เชื่อกันว่าพระธาตุที่เห็นในปัจจุบันสร้างครอบองค์เดิม
ซึ่งต่อมาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้างจากหลวงพระบางมาอยู่ที่เวียงจันทน์
ตามดำริของพระราชบิดา คือพระเจ้าโพธิสาร
จากนั้นทรงมีพระบัญชา
ให้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้
ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอมโดยเริ่มก่อสร้างในปี
พ.ศ.2109 และหลังจากสร้างพระธาตุหลวงได้โปรดฯ
ให้สร้างวัดขึ้นล้อมรอบพระธาตุไว้ทั้งสี่ทิศด้วย
แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงสองแห่งด้วยกันคือ
วัดพระธาตุหลวงเหนือและวัดพระธาตุหลวงใต้
ในปัจจุบัน พระธาตุหลวงมีลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบล้อมรอบองค์พระธาตุไว้
พร้อมกับทำช่องหน้าต่างเล็กๆเอาไว้โดยตลอด สำหรับประตูทางเข้านั้นเป็นประตูไม้บานใหญ่
ลงรักสีแดงไว้ทั้งหมด นอกจากนี้รอบๆองค์พระธาตุใหญ่ยังมีเจดีย์บริวารล้อมรอบอยู่โดยรอบอีหลายองค์
เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาแห่งนี้ปรากฏอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักพญานาค พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์
และถัดจากประตูทางเข้าใหญ่ประมาณ 100 เมตรจะแลเห็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ตั้งอยู่บนฐานสูง พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้บนพระเพลา
เล่ากันว่า พระแสงดาบเล่มนี้ทำหน้าที่ปกป้องพระธาตุหลวงซึ่งได้ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวลาวทุกคน
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
2. ประตูชัย นครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ประตูชัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้น สุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2512 เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้า การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่าง สงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวันให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก
เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน
เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน
สถานที่ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทร์
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 2,000 กีบ
เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 2,000 กีบ
เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
3. หอพระแก้ว เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว
พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2108
เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา
สำหรับหอพระแก้วที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ได้บูรณะขึ้นใหม่ในปีพ.ศ.2480-2483 หอพระแก้ว ตั้ง
อยู่บนถนน
เชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ
แต่เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว
พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2108
เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา
เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระ
เจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม
เมื่อปีพ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก
กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป
พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯมากมาย
สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้น
ใหม่เกือบทั้งหมด
ในปีพ.ศ.2480-2483
ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของ เจ้าสุวรรณภูมา
ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส
และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย
แม้หอพระแก้ปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป
แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก้ยังเดิน
ทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก
สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง
พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก
ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว
สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม
บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ
ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน
ในเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1
ใบ อาณาบริเวณรอบๆ
วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศส
สมัยอาณานิคมมาก่อน
สถานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น.
ที่ตั้ง ตัวเมืองวังเวียง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซอง ห่างจากเมืองหลวงกรุงเวียงจันทน์ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพระบาง 210 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง มองเห็นสายน้ำกว้างสลับเนินทราย โดยมีเทือกเขาหินปูนเป็นฉากหลัง และได้ฉายาว่า กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยงของประเทศลาว ท่านสามารถเพลิดเพลินกับธรรมชาติระหว่างทาง
สถานที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น.
หมายเหตุ
ภายในหอพระแก้ว ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิดครับ
4. วัดศรีเมือง ตั้งอยู่บน
ถนนเชษฐาธิราช
ทางทิศตะวันออกของสถานทูตฝรั่งเศส
เป็นวัดแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ที่มีประชาชนลาวเดินทางไปสักการะบูชาเป็น
จำนวนมากในแต่ละวัน
ภายในวัดศรีเมืองเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์
วัดศรีเมืองสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2106
โดยเหล่าเสนาอำมาตยืของพระเจ้าไชยเชษฐาธราชได้ลงความเห็นให้สร้างวัดศรี
เมือง
ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาถูกกองทัพสยามทำลายลงในปีพ.ศ.2371
และสร้างวัดศรีเมืองขึ้นมาใหม่ในปี
พ.ศ.2458
ภายในวัดศรีเมืองมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมาย
โดยเฉพาะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่
พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชำรุดไปบางส่วน
ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เป้นอย่างมาก
ด้านหน้าบริเวณตรงข้ามประตูทางเข้าวัดศรีเมืองมีร้านจำหน่ายดอกไม้
ธูป เทียน
และร้านจำหน่ายผลไม้ให้บริการทางด้านตะวันออกของวัดศรีเมืองมีสวนสาธารณะ
เล็กๆ
มีพระบรมรูปของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์
ตั้งอยู่บนแท่นสูงกลางสวนสาธารณะ
พระหัตถ์ทรงถือสมุดใบลานที่จารึกประมวลกฏหมายฉบับแรกของลาวไว้
พระบรมรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์นี้เป็นของขวัญที่ทางสหภาพโซเวียตมอบให้
มาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
หลังจากนั้นแผ่นป้ายโลหะจารึกพระนามถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์รื้อทิ้งออกไป
ภายหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในปี พ.ศ.2518
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเปิดเข้าชม ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
5. วังเวียง “กุ้ยหลินเมืองลาว”
เมืองที่เต็มไปด้้วยธรรมชาติ ทิวเขา สายน้ำซอง ไร่นาแบบขั้นบันได
และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติต่างหลงไหลแวะเวียนกันมาท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย
วังเวียง
เมืองแห่งธรรมชาติ
ทัศนียภาพอันงดงามตระการตาของทิวเขา
ไร่นาแบบขั้นบันได และหมู่บ้านชนพื้นเมืองเผ่าต่างๆ
ของลาว เช่น ลาวสูง ลาวเทิง ลาวม้ง ไทลื้อ
ชมความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่เต็มไปด้วยป่านานาพันธุ์ที่ขึ้นตามธรรมชาติ
ระหว่างทางชมผาตั้ง
ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว
ด้านหน้าของภูเขามีน้ำซองไหลผ่าน ภูเขารูปร่างแปลกตา
สลับซับซ้อนสวยงามยิ่ง
นักท่องเที่ยวต่างขนานนามว่า “กุ้ยหลินเมืองลาว”
ที่ตั้ง ตัวเมืองวังเวียง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซอง ห่างจากเมืองหลวงกรุงเวียงจันทน์ 154 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพระบาง 210 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยเทือกเขาสูง มองเห็นสายน้ำกว้างสลับเนินทราย โดยมีเทือกเขาหินปูนเป็นฉากหลัง และได้ฉายาว่า กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยงของประเทศลาว ท่านสามารถเพลิดเพลินกับธรรมชาติระหว่างทาง
6. ทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวัน
ทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง ความมหัศจรรย์ของภาชนะมีรูปทรงคล้ายไหทำด้วยหินทรายมีขนาดใหญ่มากมาย กระจัดกระจายอย ไหบางไหมีการพบโครงกระดูกมนุษย์ในไห หรือพบลูกปัดจากจีน เครื่องประดับของชนเผ่าไท และรูปสำริดของเวียตนาม จึงทำให้กลายเป็นไหปริศนามาถึงทุกวันนี้
ทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง ความมหัศจรรย์ของภาชนะมีรูปทรงคล้ายไหทำด้วยหินทรายมีขนาดใหญ่มากมาย กระจัดกระจายอย ไหบางไหมีการพบโครงกระดูกมนุษย์ในไห หรือพบลูกปัดจากจีน เครื่องประดับของชนเผ่าไท และรูปสำริดของเวียตนาม จึงทำให้กลายเป็นไหปริศนามาถึงทุกวันนี้
ทุ่งไหหิน เป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองเชียงขวาง
ชาวบ้านไปพบเข้าระหว่างไปหาของป่าและล่าสัตว์
ซึ่งภาชนะมีรูปทรงคล้ายไหทำด้วยหินทรายนี้มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่
น้ำหนักมากที่สุดถึง 15
ตันและใบที่เล็กที่สุดหนักประมาณ 40
– 50
กิโลกรัมกระจัดกระจายอยู่ในระแวกของเมืองโพนสะหวัน
จึงเรียกที่นี่ว่าทุ่งไหหินและยังมีทุ่งไหหินที่อื่นๆอีกในเมืองเชียงขวาง
อีกหลายแห่งด้วยกัน
ไหหินส่วนใหญ่สกัดมาจากหินทรายที่หาง่ายในท้องถิ่น
แต่มีอยู่หลายใบที่มีร่องรอยการชักลากมาจากที่อื่น
บางไหมีลักษณะสกัดยังไม่เสร็จก็มี
นอกจากนี้ยังค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ในไหบางลูก
ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันการใช้หินในพิธีศพได้อย่างดีส่วนแผ่นหินกลมๆคล้ายฝา
ปิดซึ่งพบอยู่ใกล้ๆ
กับไหหินนั้นน่าจะเป็นแผ่นหินที่ใช้ปิดไหหินในขณะประกอบพิธีเสร็จสิ้นรอบๆไห
หินพบลูกปัดจากจีน
เครื่องประดับของชนเผ่าไท และรูปสำริดของเวียตนาม
จึงพอจะคาดเดาได้ว่าชนเผ่าที่สร้างไหหินขึ้นมานี้จะต้องมีความเจริญและ
อารยธรรมสูง
นักโบราณคดีรุ่นหลังๆลงความเห็นว่า
เจ้าของอารยธรรมชิ้นนี้
อาจจะเป็นฝีมือของพวกจามในเวียตนามที่ล่มสลายไปแล้ว
หรือเป็นฝีมือของชาวลาวเทิง
ที่อาศัยอยู่ในแขวงอัตตะปือ
ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศลาว
ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา
สำหรับทุ่งไหหินนี้ถนนเข้าถึงสะดวก
ในเมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวาง
ซึ่งทางรัฐบาลได้กู้ระเบิดออกหมดแล้ว
มีอยู่สามกลุ่มด้วยกันคือ
ไหหินกลุ่มที่ 1 ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองโพนสะหวัน
ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ไปทางเมืองคูนเมืองหลวงเก่า ระยะทางประมาณ 7.5
กิโลเมตร มีไหหินกระจัดกระจายอยู่ในทุ่งหญ้าประมาณ
200 ใบและมีขนาดใหญ่กว่าในกลุ่มอื่นๆ
ใบใหญ่ที่สุดตั้งอยู่เนินเขาทางด้านขวามือ
ปากไหหันหน้าไปทางสนามบินทุ่งไหหินบริเวณที่ตั้งไหหินนี้เป็นจุดชมวิวที่สวย
งามอีกแห่งหนึ่งเพราะสามารถมองเห็นสนามบินทุ่งไหหิน
กองบัญชาการกองทัพอากาศลาว ตัวเมืองโพนสะหวัน
ส่วนทางด้านขวามือจะมีบันไดปูนเดินลงไปยังทุ่งไหหินอีกจุดหนึ่ง
ซึ่งมีมากกว่าในจุดชมวิวแห่งนี้
ถ้ามองจากจุดชมวิวไปทางซ้ายมือจะแลเห็นจำนวนนับสิบๆใบวางเรียงรายอยู่เต็ม
ทุ่งหญ้า
ถัดมาทางด้านซ้ายมือของทุ่งไหหินจะพบถ้ำแห่งหนึ่งมีแสงแดดสาดส่องลงมา
ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นปล่องมีความสูงประมาณ 60 เมตร
ลักษณะภายในถ้ำไม่ลึกมากนัก
สามารถบรรจุคนได้ 50 –60 คน
ถ้ำแห่งนี้เคยใช้เป็นที่หลบภัยสงครามของชาวเมืองเชียงขวางยามเมื่อเครื่อง
บินมาทิ้งระเบิด
พร้อมกับใช้เป็นคลังเก็บอาวุธและเชื้อเพลิงเมื่อสงครามอินโดจีนที่ผ่านมา
บริเวณโดยรอบทุ่งไหหินบนจุดชมวิวจะพบร่องรอยการขุดสนามเพลาะเป็นแนวยาวเพื่อ
ป้องกันการโจมตีทางอากาศ
และหลุดระเบิดขนาดใหญ่หลายหลุม
ตลอดจนร่องรอยที่ไหหินแตกกระจายอันเป็นผลมาจากฝูงเครื่องบิน
บี 52 ของอเมริกา
ไหหินกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มไหหินภูสลาโต อยู่ถัดมาจากเมืองโพนสะหวันลงมาทางทิศใต้
ประมาณ 25 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เนินเขาสองลูกจะมองเห็นไหหินกระจัดกระจายอยู่ในทุ่งหญ้าประมาณ
94 ใบ
ไหหินกลุ่มที่ 3 กลุ่มไหหินลาดค่าย อยู่ถัดลงมาจากกลุ่มไหหินภูสลาโต
ราว 10 กิโลเมตร ประกอบด้วยไหหินประมาณ 150 ใบกระจายอยู่บนเนินเขาลูกเล็ก
มองลงมาแลเห็นวิวที่ราบของท้องทุ่งท้องนาของหมู่บ้านเชียงดี
ซึ่งอยู่บนเนินเขาลูกต่อไปได้อย่างชัดเจน
สถานที่ตั้ง ห่างจากเมืองโพนสะหวันเมืองหลวงใหม่ของแขวงเชียงขวางประมาณ 5 กิโลเมตร
ค่าเข้าชม คนละ 10,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 06.00 - 17.30 น.
สถานที่ตั้ง ห่างจากเมืองโพนสะหวันเมืองหลวงใหม่ของแขวงเชียงขวางประมาณ 5 กิโลเมตร
ค่าเข้าชม คนละ 10,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา 06.00 - 17.30 น.
ข้อมูลท่องเที่ยวเส้นทางลาวใต้
credit: http://www.oceansmile.com
No comments:
Post a Comment