ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) มีพื้นที่ทั้งหมด 38,394 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต ที่เหลือติดกับอินเดีย ไม่มีทางออกทะเล
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)
ภูฏาน มีเสน่ห์ในด้านของประเพณีวัฒนธรรมที่เหนียวแน่นของผู้คนและวัดวาอารามใน นิกายตันตระที่ขรึมขลัง มีงานเทศกาลทางศาสนาที่สืบต่อปฏิบัติมาอย่างแนบแน่น เป็นหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต รวมทั้งทัศนียภาพที่งดงามในม่านหมอกเหนือหุบเขา เมืองที่หลายๆ คนบอกว่า ต้องไปเยือนให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต
ประวัติของประเทศภูฏานใน สมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็น ผู้ปกครองเมือง Trongsa ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่ว แน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์ Wangchuck ปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก
ระบบการปกครอง
ราชา ธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขปกครองประเทศ ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ เคซาร์ นัมเกล วังชุก (His Majesty King Jigme Khesar Namgyel Wangchuck) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2549
การแบ่งเขตการปกครองประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร และแต่ละเขตบริหารก็แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขต รวมทั้งหมด 20 เขต
1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา
5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร
9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ
13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี
17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง
การเมืองการปกครอง
เดิม ภูฏานมีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาล จนกระทั่งเมื่อปี 2541 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมิ ซิงเย วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีหัวหน้ารัฐบาลและสภาคณะ มนตรีขึ้นบริหารประเทศ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการเมืองภูฏาน เป็นการกระจายอำนาจการปกครองและลดการรวมศูนย์ไว้ที่พระมหากษัตริย์เพียง พระองค์เดียว และไม่ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลอีกต่อไป
ภูมิประเทศ ภูฏาน
ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย" เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่ แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630 ภูฏาน เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม
เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือ ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้
• ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ทิเบต (จีน)
• ทิศใต้ ติดกับ แคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก (อินเดีย)
• ทิศตะวันออก ติดกับ แคว้นอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย)
• ทิศตะวันตก ติดกับ แคว้นสิกขิม (อินเดีย)
ภูฏาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก
เขตที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศคือ บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ เขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงระหว่าง 300-1,600 เมตร ก่อนหน้าที่จะปิดพรมแดนด้านที่ติดกับทิเบตในปี ค.ศ. 1959 ทิวเขาสูงในหิมาลัยถือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปยังหลายๆท้องที่ ทำให้ภูฏานกับทิเบตมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาแต่ครั้ง โบราณ ช่วงครึ่งแรกในศตวรรษที่ 20 ท้องที่บางแห่งที่เข้าถึงได้ง่ายในเขตภาคใต้ของภูฏานมีชาวเนปาลผู้คุ้นเคย กับการใช้ชีวิตในที่ลุ่ม เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาปี ค.ศ.1962 ทางรัฐบาลภูฏานได้สร้างถนนราดยางสายเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมกับทิมพูเข้ากับพุนโซลิงในภาคตะวันตกเฉียงใต้สำเร็จ
ภูฏานภาคใต้ : เชิงผาหิมาลัย
• แต่เดิม เขตที่ราบภาคใต้เรียกว่า เขตดัวร์ แปลว่า ปากประตู กับเขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงไม่เกิน 1,700 เมตร กลายมาเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้ตลาดในภาคเหนือของอินเดียและบังคลาเทศ อาณาบริเวณแถบนี้จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเมืองศูนย์กลางการค้าเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย ประชากรในภาคใต้ของภูฏานส่วนใหญ่เป็นชาวนาเชื้อสายเนปาล ที่อพยพเข้ามาในปลายศตวรรษที่ 19 ไล่เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1950 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โฮตซัมปา พูดภาษาเนปาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู
• ส่วนเขตหิมาลัยตอนกลาง คือแถบหุบเขาพาโร ทิมพู ปูนาคา วังดีโปดรัง ฮุนซี และบางส่วนของตาชิกัง เป็นถิ่นฐานของชาวไร่ชาวนาและคนเลี้ยงสัตว์กลุ่มมองโกลอยด์ พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ที่เรียกตนเองว่า ดรุ๊กปะ นิยมสร้างบ้านเรืออยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน แต่ปัจจุบัน เริ่มมีชุมชนเมืองเกิดขึ้นรอบ ซอง(ป้อมและอาราม) ซึ่งเป็นป้อมปรากรป้องกันข้าศึกรุกรานและเป็นศูนย์กลางบริหารและการปกครอง ท้องที่แต่ละแห่งในสมัยโบราณ มีเทือกเขาดำน้ำทำหน้าหน้าที่เป็นสันปันน้ำ แยกเขตลุ่มแม่น้ำสองแห่งออกไว้คนละฟากข้าง โดยแม่น้ำทั้งสองสายจะไหลจากเหนือลงใต้ ไหลไปออกยังที่ราบในเขตอินเดีย กลายเป็นสี่แควใหญ่ของแม่น้ำพรหมบุตร (โตชา ไรดัก สันโกศ และมานัส) มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงถึง 30,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน ภฏานได้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้วหลายแห่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากทั้งอินเดียและออสเตรเลีย
ภูฏานตะวันตก : หุบเขาทั้งห้า
• พื้นที่ภาคตะวันตกของภูฏานเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาฮา (2,700 เมตร) ปาโร (2,200 เมตร) และทิมพู (2,300 เมตร) ในขณะที่ปูนาคากับวังดีโปรดัง ประกอบกันขึ้นเป็นหุบเขายาว ความสูง 1,300 เมตร หุบเขาทั้งห้าที่ประกอบขึ้นเป็นภาคตะวันตก เป็นถิ่นฐานของพวก งาลง แปลว่า ผู้ลุกขึ้นเป็นกลุ่มแรก พูดภาษา ซงคา แปลว่ ภาษาของป้อม ซึ่งเป็นภาษาของภูฏานในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกที่หันมายอมรับนับถือพุทธศาสนา ผู้คนแถบนี้มีฐานะค่อนข้างดี และรัฐบาลภูฏานก็เข้ามาดูแลอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างเข้มงวด
ภูฏานภาคกลาง : บุมทังภูมิหลังอันยาวนาน
• ภาคกลางประกอบขึ้นจากหลายท้องที่ แต่ละที่จะมีภาษาถิ่น (คา) ของตนเอง (อาทิ บุมทังคา เค็งคา กูร์เตคา) เป็นภาษาเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโบดิชโบราณที่แยกย่อยออกมาจากภาษาในตระกูลทิเบต-พม่าอีกต่อหนึ่ง มีช่องเขายูตงลา (3,300 เมตร เป็นประตูสู่เขตบุมทัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาสี่แห่งที่ระดับ 2,700-4,000 เมตร หุบเขาชูเมะและโชโกร์เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ส่วนหุบเขาตังและอูราจะทำการปศุสัตว์ บ้านเรือนส่วนใหญ่กอด้วยหินมากกว่าใช้ดินอัด ลวดลายดูบางตากว่าทางตะวันตก บุมทังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปะและมีภูมิหลังอันยาวนาน ขนบประเพณีทางศาสนายังเป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยมิได้หายสูญ วัดวาแต่ละแห่งล้วนมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่
ภูฏานตะวันออก : ดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอ
• ภูฏานตะวันออกมีพื้นที่ครอบคลุมเขตมงการ์ ตาชิกัง เปมากาเช และซัมดรุปจงคา มีหุบเขาเป็นรูปตัว V มีท้องทุ่งและบ้านเรือนตั้งอยู่บนเนินอันโล่งเตียน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านทรงภูฏานขนานแท้ ภาคตะวันออกเป็นถิ่นที่อยู่ของพวก ชาชปปะ (ซังลา) ซึ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ชาวชาชปปะเคร่งครัดศรัทธาในศาสนาจนขึ้นชื่อ ละแวกนี้จึงมีวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ทั่วไป วัดในท้องที่ห่างไกลจะมี กมเซ็น (พระบ้าน) อยู่ประจำร่วมกับครอบครัว สตรีชาชปปะมีฝีมือในการทอผ้าทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ที่หุบเขายาดีและพงเมจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอฝีมือประณีต
ภูฏานภาคเหนือ : ภูผาหิมาลัย
• ภาคเหนือของภูฏานเป็นจุดตั้งต้นเขตภูผาหิมาลัย ด้วยความสูงกว่า 3,500 เมตร เขตลิงเซ ลายะ และลูนานา มีวิถีชีวิตคล้ายกับเขตหุบเขาสูงอย่างเมรักกับซักเต็งในภาคตะวันออก ผู้คนยังชีพด้วยการเลี้ยงจามรีและเพาะปลูกเล็กๆ น้อยๆ โดยปลูกได้เพียงข้าวบาร์เล่ย์กับพืชมีหัวใต้ดิน เพราะมีความสูงเป็นข้อจำกัด อาหารหลักคือ นม เนย เนยแข็งและเนื้อจามรี ชาวบ้านเป็นพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในหนึ่งปีอาศัยอยู่ในกระโจมสีดำที่ทอขึ้นจากขนจามรี
ภูมิอากาศประเทศภูฏาน
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากศแบบหนาวเทือกเขา อากาศ กลางวัน 15 - 25 องศาเซลเซียส กลางคืน 5 -10 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ • ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย • ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม • ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา • ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง |
|||
ศาสนาประเทศภูฏาน
• ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่ท่านก็สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน ท่านมีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก |
|||
วัฒนธรรมประเทศภูฏาน
• การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
• เครื่องแต่งกายประจำชาติ
พระมหากษัตริย์จะผ้าผืนใหญ่พันองค์ ซึ่งผ้าพันกายนี้เป็นธรรมเนียมของบุรุษภูฏาน
เพื่อแสดงถึงตำแหน่งฐานะ เช่นว่า ผ้าสีขาวมีขอบจะเป็นของสามัญชน
ผู้พิพากษาจะพันด้วยผ้าสีเขียว สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สีส้มเหลือง
เช่นเดียวกันกับพระสังฆราชาแห่งรัฐ ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ
ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ
เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชาย เรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิง
เรียกว่า ฆีระ (Khira)
ภาษาประจำชาติ
คือ ภาษาซองคา หรือ ฌงฆะ (Dzongkha) ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน
ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่
ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี
ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
ภาษาประจำถิ่นและภาษาสื่อสารของประเทศภูฎาน • ภูฏานมีภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติเรียกว่า ภาษาซงคา หรือ ฌงฆะ หรือ ซองคา (Dzongkha) ก่อนหน้านั้นเป็นภาษาถิ่นใช้กันในแถบตะวันตก อักขรวิธีและการออกเสียงคล้ายภาษาทิเบต มีแบบอย่างมาจากเทวนาครีของสันสกฤต • ซงคา คล้ายภาษาภาคกลางของทิเบต ซง หรือ ซอง แปลว่า ป้อมปราการที่อยู่ของเจ้าเมือง ซองคา หมายถึง ชาวป้อมปราการ เป็นภาษาที่ชาวชาชฮอปใช้กันมาก เมืองบุมทัง ภาคกลางของประเทศพูดคล้ายทิเบตและยังแยกย่อยไปอีกหลายภาษา ส่วนชาวเนปาลีอพยพอยู่ในภาคใต้พูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน • ชาวภูฏานพูดภาษาอังกฤตได้ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อนเลย ทั้งนี้เพราะภูฏานมีโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤตเป็นภาคบังคับ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสื่อสารกับชาวภูฏานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการให้พลเมืองของตนไปศึกษาหาความ รู้ทางตะวันตกต่อไปในภายหน้า หรือรู้เท่าทันโลกภายนอกให้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อใช้สื่อสารกับอาคันตุกะจากต่างแดนและการแสวงหาวิทยาการของโลก รวมถึงสื่อสารกับชาวเนปาลและอินเดียได้ง่ายขึ้น • อย่างไรก็ตามคนภาคตะวันออกจะพูดภาษา ชาชฮอป (Sharchop) หรือ ฮาชังลา ทางตอนใต้เป็นพลเมืองเชื้อสายเนปาลที่อพยพเข้ามาเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสต์ ศตวรรษที่ 19 จะพูดเป็นภาษาเนปาลี หรือ อินโดอารยัน ส่วนตอนกลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางในภูฏานที่ใช้ได้เกือบทุกภาค สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน • เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า "ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ" • ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน • สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม • สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ • มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน • ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา • สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รอ่นเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร • ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า "เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง" เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็ฯอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า "ทาคิน" จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้ • ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย • ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน • นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย • อาหารประจำชาติภูฏาน : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก วันชาติ : 17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน ที่ป้อมปูนาคา |
วันหยุดและเทศกาล
• วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล • วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์ • วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว |
|||
ทรัพยากรธรรมชาติ
• ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด • เศรษฐกิจของภูฏานแม้ ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา • รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย • ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ) |
ชนชาติประเทศภูฏาน
ภูฏาน ประกอบด้วยชนชาติ 3 เชื้อชาติใหญ่ คือ 1.ชาชฮอป คนพื้นเมืองเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก 2.งาลอป ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก 3.ลาร์ทเชมส์ ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้ เป็นพวกที่อพยพมาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นๆ อีกหลายชนเผ่า มีภาษาแยกย่อยออกไปอีกราว 19 ภาษา |
|||
สกุลเงินของภูฏานคือ งุลดรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้ อัตราแลกเปลี่ยน 44 งุลตรัม เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 รูปี เท่ากับ 1 บาท (เงินงุลตรัมมีค่าเท่ากับเงินรูปีของอินเดีย และเงินรูปีของอินเดียก็สามารถใช้ได้ทั่วไปในภูฏาน)
เวลา: เวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
ไฟฟ้า: ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์
วีซ่าภูฏาน การเดินทางสู่ประเทศภูฏาน
วีซ่าภูฏาน
การขอวีซ่านักท่องเที่ยวจะทำได้โดยการติดต่อผ่านทางบริษัทท่องเที่ยวเท่านั้น
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวไม่สามารถขอวีซาและเดินทางไปตามลำพังได้ด้วยตนเอง
ประเทศภูฏานไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังคนเดียว
(นอกจากเป็นแขกรับเชิญ)
ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางเฉพาะกลุ่มเป็นหมู่คณะโดยผ่านบริษัทท่อง
เที่ยวในภูฏานเท่านั้น
การขอวีซ่าภูฏาน
• สถานฑูตภูฏานทุกแห่งในทุกประเทศจะไม่ทำหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับการออกวีซ่าเข้าภูฏาน ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏาน มีหน่วยงานเดียวคือ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีสำนักงานอยู่ที่เมืองทิมพู สามารถติดต่อได้ที่ : Departnebt of Tourism , P.O. Box.126, GPO Thimphu, Bhutan โทรศัพท์ (975-2) 323 251, 323 252 แฟกซ์ (975-2) 323-695 อีเมล์ dot@tourism.gov.bt เว็บไซต์ www.tourism.gov.bt
• สถานฑูตภูฏานทุกแห่งในทุกประเทศจะไม่ทำหน้าที่ใดๆ เกี่ยวกับการออกวีซ่าเข้าภูฏาน ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏาน มีหน่วยงานเดียวคือ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งภูฏาน สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม มีสำนักงานอยู่ที่เมืองทิมพู สามารถติดต่อได้ที่ : Departnebt of Tourism , P.O. Box.126, GPO Thimphu, Bhutan โทรศัพท์ (975-2) 323 251, 323 252 แฟกซ์ (975-2) 323-695 อีเมล์ dot@tourism.gov.bt เว็บไซต์ www.tourism.gov.bt
เอกสารที่ใช้สำหรับขอวีซ่าเข้าประเทศภูฏาน
1.หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันเดินทาง
2.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรงรูปสีจำนวน 1 รูป
• การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่ายภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่กำหนดโดยรัฐบาลภูฏาน ซึ่งจะรวมค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าไกด์ท้องถิ่น เอาไว้ด้วย ถ้าเดินทางจำนวนน้อยคน เช่น จะขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนต่ำกว่า 3 คน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกต่างหาก วีซ่านักเรียน นักศึกษา ได้ลดค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ ไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังเป็นการส่วนตัว นอกจากจะเป็นแขกของรัฐบาลภูฏานเท่านั้น
• เมื่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวดำเนินการขอวีซ่า จะต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเดินทางเข้าภูฏานพร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างที่อยู่ในภูฏาน ทาง DOT จะใช้เวลาพิจารณาการอนุมัติวีซ่าประมาณ 10-15 วัน ทำการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะส่งรายชื่อผู้ได้รับวีซ่าเข้าภูฏานกลับคืนไปให้บริษัททัวร์ ในใบอนุญาตจะมีเลขรหัสสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภูฏานในเวลาที่เดินทางเข้าประเทส (ทางอากาศที่สนามบินปาโร ทางบกที่เมืองพูลโชลิง ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียกับภูฏาน)
• นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏานก่อนการเดินทาง และเมื่อถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านแรกของประเทศภูฏาน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารอนุมติวีซ่าที่ออกให้โดย DOT เมื่อเอกสารต่างๆ ถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งผู้เดินทางเข้าภูฏานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกคนละ 20 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับรูปถ่าย 2 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภูฏาน (เขียนชื่อกับเลขที่หนังสือเดินทางไว้ด้านหลังรูป)
• การขอขยายเวลาอยู่ต่อในประเทศภูฏานจะสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องต่อวีซ่าที่เมืองทิมพู ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 510 นู อยู่ต่อได้นานถึง 6 เดือน
1.หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานอย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันเดินทาง
2.รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรงรูปสีจำนวน 1 รูป
• การเข้าไปท่องเที่ยวในภูฏาน นักท่องเที่ยวต้องติดต่อกับบริษัททัวร์เพื่อให้ดำเนินการขอ Visa โดยค่าใช้จ่ายภูฏานกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่ายอย่างน้อย USD200 ต่อวัน ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่กำหนดโดยรัฐบาลภูฏาน ซึ่งจะรวมค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าไกด์ท้องถิ่น เอาไว้ด้วย ถ้าเดินทางจำนวนน้อยคน เช่น จะขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนต่ำกว่า 3 คน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกต่างหาก วีซ่านักเรียน นักศึกษา ได้ลดค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ ไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังเป็นการส่วนตัว นอกจากจะเป็นแขกของรัฐบาลภูฏานเท่านั้น
• เมื่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวดำเนินการขอวีซ่า จะต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเดินทางเข้าภูฏานพร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างที่อยู่ในภูฏาน ทาง DOT จะใช้เวลาพิจารณาการอนุมัติวีซ่าประมาณ 10-15 วัน ทำการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว จะส่งรายชื่อผู้ได้รับวีซ่าเข้าภูฏานกลับคืนไปให้บริษัททัวร์ ในใบอนุญาตจะมีเลขรหัสสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภูฏานในเวลาที่เดินทางเข้าประเทส (ทางอากาศที่สนามบินปาโร ทางบกที่เมืองพูลโชลิง ด่านพรมแดนระหว่างอินเดียกับภูฏาน)
• นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏานก่อนการเดินทาง และเมื่อถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองด่านแรกของประเทศภูฏาน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารอนุมติวีซ่าที่ออกให้โดย DOT เมื่อเอกสารต่างๆ ถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งผู้เดินทางเข้าภูฏานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกคนละ 20 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับรูปถ่าย 2 ใบ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภูฏาน (เขียนชื่อกับเลขที่หนังสือเดินทางไว้ด้านหลังรูป)
• การขอขยายเวลาอยู่ต่อในประเทศภูฏานจะสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องต่อวีซ่าที่เมืองทิมพู ต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 510 นู อยู่ต่อได้นานถึง 6 เดือน
สถานทูตภูฏานในประเทศไทย
ที่อยู่ : 375/1 ซอยรัชดานิเวศน์ ประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม 10310 โทรศัพท์ : 02 - 274 4740 - 2 โทรสาร : 02- 274 4743 เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 09:00-17:00 น. http://www.bhutan.gov.bt
ที่อยู่ : 375/1 ซอยรัชดานิเวศน์ ประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กทม 10310 โทรศัพท์ : 02 - 274 4740 - 2 โทรสาร : 02- 274 4743 เวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 09:00-17:00 น. http://www.bhutan.gov.bt
ศุลกากร ภูฏานมีกฎหมายห้ามไม่ให้นำวัตถุโบราณ
เช่น ทังกา (ของเก่า) พระพุทธรูป หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพืชและสัตว์ออกนอกภูฏาน
ผู้เดินทางจะต้องสำแดงของใช้ส่วนตัวที่นำเข้าไปในภูฏาน เช่น
กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวิดีโอ คอมพิวเตอร์ และ เครื่องไฟฟ้า
เป็นลายลักษณ์อักษรต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรในวันที่เดินทางเข้า
เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบจำนวนสิ่งของที่สำแดงไว้กับเจ้าหน้าที่ในเวลาที่เดินทางออกนอกประเทศภูฏาน
นักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจากภูฏานทางเครื่องบิน จะต้องเสียค่าภาษีสนามบิน
คนละ 500 นู
ห้ามนำโบราณวัตถุ ชี (หินโมราฝังลายสีขาวถือเป็นอัญมณีล้ำค่าของภูฏาน)
ไม้พุ่มไม้ดอกผีเสื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ออกนอกประเทศภูฏาน
รวมถึงศาสนวัตถุ ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ ทั้งพระพุทธรูป เทวรูป
กระบอกมนต์ ผอบเก็บพระธาตุ ระฆังหรือวัชระ ฯลฯ ของที่ซื้อเข้าภูฏานจะต้องแจ้งให้มัคคุเทศก์ภูฏานทราบล่วงหน้า
สาเหตุที่ภูฏานจำกัดนักท่องเที่ยว
สืบเนื่องมาจากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ
1. สาธารณูปโภคและสาธารรูปการของภูฏานไม่เอื้ออำนวยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวคราวละจำนวนมากๆ ได้
2. รัฐบาลภูฏานต้องการให้ธรรมชาติในภูฏานคงไว้ได้นานแสนนานที่สุด
3. เป็นพระประสงค์ของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของภูฏาน ที่จะรักษาจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย และสถาปัตยกรรมบ้านเรือนแบบภูฏาน
1. สาธารณูปโภคและสาธารรูปการของภูฏานไม่เอื้ออำนวยที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยวคราวละจำนวนมากๆ ได้
2. รัฐบาลภูฏานต้องการให้ธรรมชาติในภูฏานคงไว้ได้นานแสนนานที่สุด
3. เป็นพระประสงค์ของกษัตริย์องค์ปัจจุบันของภูฏาน ที่จะรักษาจารีตประเพณี ขนบธรรมเนียม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการแต่งกาย และสถาปัตยกรรมบ้านเรือนแบบภูฏาน
การเดินทางไปภูฏาน
การเดินทางโดยเครื่องบิน
การเดินทางไปภูฏานมีสายการบินเดียวที่บินจากรุงเทพฯ ไปภูฏาน
เป็นสายการบินแห่งชาติภูฏาน คือ สายการบิน ดรุกแอร์ มีเส้นทางบิน
จากไทยไปภูฏาน 5 เที่ยว คือ อังคาร พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
และ มีเที่ยวบินมาไทยสัปดาห์ละ 4 เที่ยว คือจันทร์ พฤหัสบดี
ศุกร์ และเสาร์ (สายการบินดรุกแอร์ เว็บไซต์ www. drukair.com.bt
โทร. 02-535-1960
สายการบินดรุกแอร์ เริ่มดำเนินกิจการในปี
ค.ศ. 1983 ด้วยเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ Dornier 288 ขนาด
17 ที่นั่งเพียงลำเดียว ครั้นมาถึงปี ค.ศ. 1997 มีทั้งหมด
3 ลำด ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ซื้อมาจากรัสเซีย อีก 2 ลำเป็น
BAE 146 Four Engine Jets ขนาด 72 ที่นั่ง มี 10 ที่ในชั้นธุรกิจและ
มี 62 ที่ในชั้นประหยัด สายการบินดรุกแอร์ บินระหว่างประเทศเพียง
5 ประเทศ คือ อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ พม่า และ ไทย เท่านั้น
ซึ่งพนักงานสายการบินดรุกแอร์ล้วนเป็นชาวภูฏานทั้งสิ้น โดยได้รับการฝึกอบรมจากการบินไทย
สนามบินภูฏานมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือสนามบินปาโร อยู่ห่างจากเมืองทิมพู 65 กิโลเมตร ในระหว่างฤดูมรสุม อากาศมักจะแปรปรวน สนามบินปาโรอยู่ท่ามกลางภูเขา การขึ้นลงของเครื่องบินนั้น นักบินจะต้องอาศัยทัศนวิสัยที่ปลอดโปร่ง (นักบินจะต้องมองเห็นลานบินก่อนจึงจะทำการบินขึ้นหรือบินลงได้) ดังนั้น กำหนดการบินของสายการบินดรุกแอร์ อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ นักท่องเที่ยวจึงควรเผื่อเวลาในการเดินทางอยู่ในภูฏาน และเวลาสำหรับการต่อเครื่องบินที่สนามบินอื่นในกรณีที่เครื่องบินอาจเสียเวลาไว้ด้วย
การเดินทางโดยรถยนต์
• สามารถทำได้โดยเข้าทางด้านชายแดนติดประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เมืองพุนโชลิง ซึ่งห่างจากเมืองทิมพูประมาณ 175 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางกว่า 7 ชั่วโมง
• สำหรับจากเมืองพาโร เดินทางโดยรถยนต์ไปยังเมืองหลวงทิมพู ระยะทาง 55 กิโลเมตร ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวมีทางรถยนต์ไปทางตะวันออกสายเดียว คือ ทิมพู-วังดี-ปูนาคา และ วังดี-ตองสา-บุมธัง
• ภูฏาน มีถนนลาดยางเส้นยาวเชื่อมเมืองสำคัญๆ ในเขตแคว้นต่างๆ จากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และจากเหนือสู่ใต้ แต่ถนนในภูฏานจะค่อนข้างชันและมีโค้งมาก
• สามารถทำได้โดยเข้าทางด้านชายแดนติดประเทศอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เมืองพุนโชลิง ซึ่งห่างจากเมืองทิมพูประมาณ 175 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางกว่า 7 ชั่วโมง
• สำหรับจากเมืองพาโร เดินทางโดยรถยนต์ไปยังเมืองหลวงทิมพู ระยะทาง 55 กิโลเมตร ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง สำหรับเส้นทางท่องเที่ยวมีทางรถยนต์ไปทางตะวันออกสายเดียว คือ ทิมพู-วังดี-ปูนาคา และ วังดี-ตองสา-บุมธัง
• ภูฏาน มีถนนลาดยางเส้นยาวเชื่อมเมืองสำคัญๆ ในเขตแคว้นต่างๆ จากทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออก และจากเหนือสู่ใต้ แต่ถนนในภูฏานจะค่อนข้างชันและมีโค้งมาก
การคมนาคมในภูฏาน
• พาหนะที่ใช้เดินทางในภูฏาน ใช้รถยนต์ เท่านั้น ถนนสายหลักของภูฏานมีสายเดียวคือ ถนน National Highway ถนนกว้าง 3 เมตรครึ่ง ที่มีเส้นทางผ่านเมือง ผ่านป่าเขา ข้ามแม่น้ำหลายสายที่มีมากมายในภูฏาน การเดินทางท่องเที่ยวที่รักความสะดวกสบาย แต่สนุกและได้ประสบการณ์หลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท้าทาย สำหรับนักท่องเที่ยว บริษัททัวร์ในภูฏานจะเป็นผู้จัดการพาหนะในการเดินทางระหว่างอยู่ในภูฏานเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ที่นิยมใช้คือรถมินิแวน รถจี๊ป และรถโฟร์วีล (ภูฏานไม่มีสนามบินภายในประเทศ ไม่มีทางรถไฟ ดังนั้น การคมนาคมที่ใช้กันอยู่เป็นประจำคือ ใช้รถยนต์และการเดินเท้า) มีบริษัททำธุรกิจให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากขี่มอร์เตอร์ไซค์ แต่ด้วยสภาพถนนและสภาพอากาศที่มักจะแปรปรวนและมีฝนตกบ่อยๆ ทำให้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะที่ค่อนข้างอันตราย ทั้งจากสภาพถนนที่เกือบทุกสายเป็นเหมือนทางเกวียน และอันตรายจากรถบรรทุก ที่ขับกันแบบไม่คำนึงถึงกฎจราจรใดๆ ทั้งสิ้น การขี่มอเตอร์ไซค์ในภูฏานจึงเปรียบเสมือนการเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ
• รถแท็กซี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางในภูฏาน ปกติแท็กซี่ในภูฏานจะติดมิเตอร์ทุกคัน ค่าโดยสารต่อเที่ยวอยู่ที่ระหว่าง 30-50 นู สำหรับเส้นทางภายในเมืองทิมพู ค่ารถแท็กซี่จากทิมพูไปที่ชายแดนเหมาจ่ายเที่ยวละประมาณ 800-1,000 นู
• พาหนะที่ใช้เดินทางในภูฏาน ใช้รถยนต์ เท่านั้น ถนนสายหลักของภูฏานมีสายเดียวคือ ถนน National Highway ถนนกว้าง 3 เมตรครึ่ง ที่มีเส้นทางผ่านเมือง ผ่านป่าเขา ข้ามแม่น้ำหลายสายที่มีมากมายในภูฏาน การเดินทางท่องเที่ยวที่รักความสะดวกสบาย แต่สนุกและได้ประสบการณ์หลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบการท้าทาย สำหรับนักท่องเที่ยว บริษัททัวร์ในภูฏานจะเป็นผู้จัดการพาหนะในการเดินทางระหว่างอยู่ในภูฏานเท่านั้น ซึ่งรถยนต์ที่นิยมใช้คือรถมินิแวน รถจี๊ป และรถโฟร์วีล (ภูฏานไม่มีสนามบินภายในประเทศ ไม่มีทางรถไฟ ดังนั้น การคมนาคมที่ใช้กันอยู่เป็นประจำคือ ใช้รถยนต์และการเดินเท้า) มีบริษัททำธุรกิจให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์สำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากขี่มอร์เตอร์ไซค์ แต่ด้วยสภาพถนนและสภาพอากาศที่มักจะแปรปรวนและมีฝนตกบ่อยๆ ทำให้รถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะที่ค่อนข้างอันตราย ทั้งจากสภาพถนนที่เกือบทุกสายเป็นเหมือนทางเกวียน และอันตรายจากรถบรรทุก ที่ขับกันแบบไม่คำนึงถึงกฎจราจรใดๆ ทั้งสิ้น การขี่มอเตอร์ไซค์ในภูฏานจึงเปรียบเสมือนการเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยใช่เหตุ
• รถแท็กซี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางในภูฏาน ปกติแท็กซี่ในภูฏานจะติดมิเตอร์ทุกคัน ค่าโดยสารต่อเที่ยวอยู่ที่ระหว่าง 30-50 นู สำหรับเส้นทางภายในเมืองทิมพู ค่ารถแท็กซี่จากทิมพูไปที่ชายแดนเหมาจ่ายเที่ยวละประมาณ 800-1,000 นู
เตรียมตัวก่อนเที่ยวภูฏาน
ข้อมูลควรรู้ก่อนเที่ยวภูฏาน
• ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในอาณาจักรหิมาลัย เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา ที่คงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษ และด้วยความตระหนักและหวงแหนในคุณค่านี้ ภูฏานจึงวางกรอบจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งยิ่งทำให้น้อยคนนักที่จะมีโอกาสไปเยือนภูฏาน
• ประเทศภูฏานได้เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจะต้องผ่านองค์การท่องเที่ยวแห่งรัฐเพียงผู้เดียว (Tourism Authourity of Bhutan : TAB) และยังจำกัดนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิน 3,000 คนต่อปี แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง The Little Buddha ได้ถ่ายทำที่ภูฏานและแพร่ภาพไปทั่วโลก ทำให้ใครก็อยากมายลโฉมแท้จริงของภูฏาน ดังนั้น ทางการภูฏานจึงต้องปรับตัวเลขนักท่องเที่ยวเป็น 5,000 คนต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา
• ปัจจุบัน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน โดยมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว ภูฏาน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด
• โรคแพ้ความกดดันอากาศในที่สูง ความสูงโดยเฉลี่ยในเส้นทางท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2,300 เมตร แต่ถ้าเป็นเส้นทางเดินเท้าท่องชมธรรมชาติอาจสูงได้ถึง 5,400 เมตร การเมาความสูงอาจเป็นปัญหารุนแรงสำหรับนักท่องเที่ยวบางคน ถ้าเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีปัญหาปัสสาวะติดขัด ให้ลงมายังบริเวณที่ตำทันที การเมาความสูงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก แต่มัคคุเทศก์นำทางก็ได้รับการฝึกอบรมทางด้านนี้มาเป็นอย่างดี เวลาขึ้นสู่ที่สูง ร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเดินทางมายังภูฏาน ส่วนอาการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากการขึ้นมาอยู่บนที่สูงนั้น สามารถใช้ยานอนหลับอ่อนๆ ช่วยได้ ไม่ควรแตะต้องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่งในอาณาจักรหิมาลัย เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา ที่คงความเป็นเอกลักษณ์พิเศษ และด้วยความตระหนักและหวงแหนในคุณค่านี้ ภูฏานจึงวางกรอบจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งยิ่งทำให้น้อยคนนักที่จะมีโอกาสไปเยือนภูฏาน
• ประเทศภูฏานได้เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 1988 ซึ่งจะต้องผ่านองค์การท่องเที่ยวแห่งรัฐเพียงผู้เดียว (Tourism Authourity of Bhutan : TAB) และยังจำกัดนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิน 3,000 คนต่อปี แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง The Little Buddha ได้ถ่ายทำที่ภูฏานและแพร่ภาพไปทั่วโลก ทำให้ใครก็อยากมายลโฉมแท้จริงของภูฏาน ดังนั้น ทางการภูฏานจึงต้องปรับตัวเลขนักท่องเที่ยวเป็น 5,000 คนต่อปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เป็นต้นมา
• ปัจจุบัน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน โดยมุ่งเน้นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว ภูฏาน โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด
• โรคแพ้ความกดดันอากาศในที่สูง ความสูงโดยเฉลี่ยในเส้นทางท่องเที่ยว โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2,300 เมตร แต่ถ้าเป็นเส้นทางเดินเท้าท่องชมธรรมชาติอาจสูงได้ถึง 5,400 เมตร การเมาความสูงอาจเป็นปัญหารุนแรงสำหรับนักท่องเที่ยวบางคน ถ้าเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ไอ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร มีปัญหาปัสสาวะติดขัด ให้ลงมายังบริเวณที่ตำทันที การเมาความสูงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก แต่มัคคุเทศก์นำทางก็ได้รับการฝึกอบรมทางด้านนี้มาเป็นอย่างดี เวลาขึ้นสู่ที่สูง ร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำ ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ ถ้าเป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ให้เรียบร้อยก่อนเดินทางมายังภูฏาน ส่วนอาการนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากการขึ้นมาอยู่บนที่สูงนั้น สามารถใช้ยานอนหลับอ่อนๆ ช่วยได้ ไม่ควรแตะต้องเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ข้อควรรู้ทัวร์ภูฏาน
1. ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
2. ภูฏานมีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์ 1 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
3. ภูฏานมีเคเบิลทีวี 2 สถานี ถ่ายทอดทำสารคดีจากซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี รายการบันเทิงทางเอ็มทีวี และ รายการกีฬาทางอีเอสพีเอ็น ละครและรายการโทรทัศน์วาไรตี้จากอินเดีย มีโทรทัศน์ของรัฐ 1 แห่ง
4. ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที
5. นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน
6. นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยาน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขา บางเส้น
7. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย อีกทั้ง มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย
8. วัดวาอารามและป้อมปราการส่วนใหญ่ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมได้แต่ภายนอก ไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในตัวอาคาร
1. ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
2. ภูฏานมีหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายสัปดาห์ 1 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ
3. ภูฏานมีเคเบิลทีวี 2 สถานี ถ่ายทอดทำสารคดีจากซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี รายการบันเทิงทางเอ็มทีวี และ รายการกีฬาทางอีเอสพีเอ็น ละครและรายการโทรทัศน์วาไรตี้จากอินเดีย มีโทรทัศน์ของรัฐ 1 แห่ง
4. ตามเกณฑ์สากลที่ใช้วัดระดับ “ความเจริญ” ภูฏานเป็นหนึ่งใน 40 ประเทศยากจนที่สุดในโลก ทั้งประเทศมีทางหลวงเพียงหนึ่งเส้น ว่ากันว่ารถที่วิ่งในภูฏานนั้นต้องหักเลี้ยวทุกๆ 6 วินาที
5. นักท่องเที่ยวที่ไปเยือนภูฏานเพื่อแสวงหาธรรมชาติบริสุทธิ์หรือพิชิตยอดหิมาลัย ย่อมต้องสังเกตเห็นอิทธิพลของศาสนาและวัฒนธรรม ที่แยกไม่ออกจากวิถีชีวิตชาวภูฏาน เพราะธรรมชาตินั้นอยู่ท่ามกลาง และแวดล้อมหมู่บ้าน วัดวาอาราม ธงภาวนา และกงล้อภาวนาจำนวนนับไม่ถ้วน
6. นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรมอันแปลกตาและแปร่งหูที่มีพุทธวัชรยาน เป็นองค์ประกอบสำคัญ ย่อมต้องสังเกตเห็นธรรมชาติอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวิถีชีวิตของชาวบ้าน ระหว่างทางไปวัดต่างๆ ซึ่งบางวัดอยู่บนยอดเขาที่ต้องใช้เวลาและความอุตสาหะมากกว่าเส้นทางปีนเขา บางเส้น
7. ชาวภูฏานมีทัศนคติที่ดีกับไทย นิยมเดินทางมาไทยเพื่อจับจ่าย รักษาตัวและศึกษาในไทย อีกทั้ง มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียวกับไทย
8. วัดวาอารามและป้อมปราการส่วนใหญ่ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมได้แต่ภายนอก ไม่อนุญาตให้เข้าไปภายในตัวอาคาร
ซอง
: เอกลักษณ์ของภูฏาน
• ซอง (Dzong) เป็นภาษา ซองคา แปลว่า ป้อมปราการ คือในสมัยโบราณใช้เป็นที่มั่นต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน แต่ “ซอง” ทุกวันนี้ กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของเขตนั้นๆ และจะใช้ชื่อเป็นชื่อเดียวกับเขต เช่น Paro Dzong-Khag ก็คือมีเมืองปาโรเป็นเมืองเอก โดย ซองคัก (Dzong-Khag) เป็นภาษาซองคา แปลว่า เขต เพราะภูฏานแยกการปกครองออกเป็นเขต ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งถ้าไปเยือนเขตในในภูฏาน มักจะให้ดูซองของเขตการปกครองนั้นอยู่เสมอ
• ซอง ยังเป็นวัดหลักประจำเขต ใช้ประกอบกิจการทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์และสามเณร ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาล ที่ประชุมสภา และสำนักงานราชการในระดับต่างๆ อีกทั้งยังมีโรงเรียนสงฆ์รวมอยู่ด้วย ส่วนสถานที่ที่เป็นเพียงวัดนั้น ภาษาซองคาเรียกว่า “ลาคัง” (Lahkhang) ซองทุกแห่งมีรูปแบบการก่อสร้างอันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะภูฏาน วัสดุทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นซองนั้น มาจากจิตวิญญาณและรากเหง้าประวัติศาสตร์ของภูฏานทั้งสิ้น ดังนั้น ซอง จึงเป็นทั้งเอกลัษณ์และเป็นหัวใจของชาวภูฏานมาโดยตลอด
• บรรพบุรุษชาวภูฏานสร้างซองขึ้นมาเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู อีกทั้งยังแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในแต่ละยุค นอกเหนือจากการใช้เป็นป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในยุคที่แว่นแคว้นต่างๆ มีการรบพุ่งช่วงชิงอาณาจักรกันและกัน
• รูปร่างอาคารและหลังคาของซองในภูฏาน เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบตและจีน มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัด วัง อาคารโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งใช้สอยและแหล่งสั่งสมวัฒนธรรมมายาวนาน ซองบางแห่งถูกก่อสร้างตามเชิงชั้นไหล่เขา
• การสร้างซองเริ่มเกิดขึ้นในต้นคริสศตวรรษที่ 12 โดยผู้ตั้งตัวเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น จนมาถึงศตวรรษที่ 17 ท่าน นาวัง นัมเกล เป็นสังฆราชา ซอง หรือ ป้อมปราการ หรือ อารามขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหลายแห่ง ทั้งเพื่อผลทางยุทธศาสตร์และทางการปกครอง ซอง จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและศูนย์กลางการปกครองและกลายเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ซองประกอบด้วย อาคารของอาคาร ก่อด้วยอิฐ ฉาบด้วยดิน หลังคาเป็นเชิงชั้น ตัวอาคารประกอบด้วยโครงไม้แกะสลัก พื้นอาคารปูด้วยแผ่นศิลา มีวิหาร ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรม สำนักงานข้าราชการ ที่พักสงฆ์ อาคารสถานศึกษา อยู่กันเป็นสัดส่วน รอบตัวอาคารตกแต่งสลักเสลาล้วนมีความหมายหรือเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
• ซิมโตคาซอง (Simtokha Dzong) ในเมืองทิมพู เป็นซองแห่งแรกในประเทศภูฏาน ที่ซับดรุง นาวัง นัมเกล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1629 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วังชุก (พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก) โปรดให้ดัดแปลงซิมโตคาซองแห่งนี้ เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในภูฏาน ซองบางแห่งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน
• ธนบัตรของภูฏาน ด้านหนึ่งมีซองปรากฎอยู่ด้านหลังของธนบัตร และอีกด้านหนึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ในองค์ต่างๆ แห่งราชวงศ์วังชุก
• ซอง (Dzong) เป็นภาษา ซองคา แปลว่า ป้อมปราการ คือในสมัยโบราณใช้เป็นที่มั่นต่อสู้กับศัตรูที่มารุกราน แต่ “ซอง” ทุกวันนี้ กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการของเขตนั้นๆ และจะใช้ชื่อเป็นชื่อเดียวกับเขต เช่น Paro Dzong-Khag ก็คือมีเมืองปาโรเป็นเมืองเอก โดย ซองคัก (Dzong-Khag) เป็นภาษาซองคา แปลว่า เขต เพราะภูฏานแยกการปกครองออกเป็นเขต ซึ่งแบ่งตามลักษณะภูมิประเทศ ซึ่งถ้าไปเยือนเขตในในภูฏาน มักจะให้ดูซองของเขตการปกครองนั้นอยู่เสมอ
• ซอง ยังเป็นวัดหลักประจำเขต ใช้ประกอบกิจการทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พำนักอาศัยของพระสงฆ์และสามเณร ใช้เป็นที่ทำการรัฐบาล ที่ประชุมสภา และสำนักงานราชการในระดับต่างๆ อีกทั้งยังมีโรงเรียนสงฆ์รวมอยู่ด้วย ส่วนสถานที่ที่เป็นเพียงวัดนั้น ภาษาซองคาเรียกว่า “ลาคัง” (Lahkhang) ซองทุกแห่งมีรูปแบบการก่อสร้างอันเป็นสถาปัตยกรรมเฉพาะภูฏาน วัสดุทุกชิ้นที่ประกอบขึ้นมาเป็นซองนั้น มาจากจิตวิญญาณและรากเหง้าประวัติศาสตร์ของภูฏานทั้งสิ้น ดังนั้น ซอง จึงเป็นทั้งเอกลัษณ์และเป็นหัวใจของชาวภูฏานมาโดยตลอด
• บรรพบุรุษชาวภูฏานสร้างซองขึ้นมาเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู อีกทั้งยังแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจในแต่ละยุค นอกเหนือจากการใช้เป็นป้อมปราการทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในยุคที่แว่นแคว้นต่างๆ มีการรบพุ่งช่วงชิงอาณาจักรกันและกัน
• รูปร่างอาคารและหลังคาของซองในภูฏาน เป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากทิเบตและจีน มีลักษณะผสมผสานระหว่างวัด วัง อาคารโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งใช้สอยและแหล่งสั่งสมวัฒนธรรมมายาวนาน ซองบางแห่งถูกก่อสร้างตามเชิงชั้นไหล่เขา
• การสร้างซองเริ่มเกิดขึ้นในต้นคริสศตวรรษที่ 12 โดยผู้ตั้งตัวเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น จนมาถึงศตวรรษที่ 17 ท่าน นาวัง นัมเกล เป็นสังฆราชา ซอง หรือ ป้อมปราการ หรือ อารามขนาดใหญ่ เกิดขึ้นหลายแห่ง ทั้งเพื่อผลทางยุทธศาสตร์และทางการปกครอง ซอง จึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและศูนย์กลางการปกครองและกลายเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ซองประกอบด้วย อาคารของอาคาร ก่อด้วยอิฐ ฉาบด้วยดิน หลังคาเป็นเชิงชั้น ตัวอาคารประกอบด้วยโครงไม้แกะสลัก พื้นอาคารปูด้วยแผ่นศิลา มีวิหาร ห้องพระ ห้องปฏิบัติธรรม สำนักงานข้าราชการ ที่พักสงฆ์ อาคารสถานศึกษา อยู่กันเป็นสัดส่วน รอบตัวอาคารตกแต่งสลักเสลาล้วนมีความหมายหรือเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
• ซิมโตคาซอง (Simtokha Dzong) ในเมืองทิมพู เป็นซองแห่งแรกในประเทศภูฏาน ที่ซับดรุง นาวัง นัมเกล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1629 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์วังชุก (พระเจ้าจิกมี ดอร์จิ วังชุก) โปรดให้ดัดแปลงซิมโตคาซองแห่งนี้ เป็นวิทยาลัยครูแห่งแรกในภูฏาน ซองบางแห่งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายใน
• ธนบัตรของภูฏาน ด้านหนึ่งมีซองปรากฎอยู่ด้านหลังของธนบัตร และอีกด้านหนึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของกษัตริย์ในองค์ต่างๆ แห่งราชวงศ์วังชุก
ข้อธรรมเนียมปฏิบัติของชาวภูฏาน
การแสดงความเคารพยกย่อง ชาวภูฏานมีสำนึกในเรื่องลำดับชั้น และการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างชาติชน ชาติอื่นๆ ในเอเชีย ยิ่งถ้าเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาก็ยิ่งให้ความเคารพและนอบน้อมยำเกรงเป็นพิเศษ โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธีด้วยกัน กล่าวคือ ถ้ายืนอยู่ก็ต้องยืนค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยูใน ท่านั่งก็ต้องนั่งขาตรงชิดติดกับเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่าคลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่ฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรก เปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เมื่อจะจบประโยคต้องจบด้วยคำว่า "ลา" เพื่อแสดงความเคารพ (ไม่เว้นแม้กระทั่งประโยคภาษาอังกฤษ)
การแสดงความเคารพยกย่อง ชาวภูฏานมีสำนึกในเรื่องลำดับชั้น และการให้ความเคารพต่อผู้อาวุโสหรือผู้ที่มีศักดิ์ฐานะสูงกว่าไม่ต่างชาติชน ชาติอื่นๆ ในเอเชีย ยิ่งถ้าเป็นบุคคลสำคัญทางศาสนาก็ยิ่งให้ความเคารพและนอบน้อมยำเกรงเป็นพิเศษ โดยมีวิธีแสดงออกหลายวิธีด้วยกัน กล่าวคือ ถ้ายืนอยู่ก็ต้องยืนค้อมตัวลงเล็กน้อย ถ้าอยูใน ท่านั่งก็ต้องนั่งขาตรงชิดติดกับเก้าอี้ และจะต้องใช้ผ้าสะพายบ่าคลุมหัวเข่าเอาไว้ เวลาพูดต้องเอามือป้องปากไว้จะได้ไม่ทำให้อากาศที่ฝ่ายสูดหายใจเข้าไปสกปรก เปรอะเปื้อน และห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เมื่อจะจบประโยคต้องจบด้วยคำว่า "ลา" เพื่อแสดงความเคารพ (ไม่เว้นแม้กระทั่งประโยคภาษาอังกฤษ)
ชาวภูฏานจะกราบพระอริยบุคคลสามครั้ง
เช่นเดียวกับที่กราบพระพุทธรูป เวลาไปเที่ยววัดควรบริจาคเงินเล็กๆ
น้อยๆ ทำบุญกับทางวัดบ้าง ห้ามพูดเสียงดัง และต้องถอดรองเท้าออกเพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่
ร่มและหมวกเป็นของต้องห้ามทั้งในวัดและซอง
ชาวภูฏานถือว่าศีรษะเป็นของสูง
ในขณะที่เท้าเป็นของต่ำ จึงห้ามไปแตะหรือตบศีรษะใครเข้าเป็นอันขาด
และห้ามเหยียดหรือยื่นเท้าออกไปข้างหน้าด้วย เวลานั่งกับพื้นต้องนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบ
ถ้านั่งบนเก้าอี้ก็ห้ามนั่งไขว่ห้างหรือนั่งเอาขาไขว้กันอย่างเด็ดขาด
เจ้าบ้านกับแขกเหรื่อ
การต้อนรับแขกเหรื่อของชาวภูฏาน หากไม่ยกน้ำชาหรือสุรามาให้ถือว่าเป็นการแสดงความหยาบคายอย่างยิ่ง
ถ้าเป็นบ้านส่วนตัว ผู้เป็นแขกควรดื่ม (หรือแค่จิบ) เครื่องดื่มที่เจ้าของบ้านยกมาให้อย่างน้อยสองถ้วย
แต่ไม่ควรรีบตกปากรับคำในทันทีที่เจ้าของบ้านเอ่ยถามว่า
จะดื่มอะไรไหม ถ้าได้เป็นแขกรับเชิญให้ไปกินข้าวที่บ้านของชาวภูฏาน
เจ้าบ้านจะยกเครื่องดื่มกับของว่างนานาชนิดมาให้รองท้องก่อนจะถึงมื้ออาหารจริงๆ
ซึ่งอาจจะยื่ดเยื้อนานกว่าหนึ่งชั่วโมง ถ้าเป็นครอบครัวคนธรรมดาที่แขกไม่สนิทสนมคุ้นเคยด้วยนัก
มีโอกาสที่เจ้าของบ้านจะไม่มานั่งคุยกับแขก จนกว่าจะถึงเวลายกอาหารมาเสริฟ
และระหว่างกินอาหารไม่จำเป็นต้องมีเรื่องสนทนากัน เพราะการกินเป็นเรื่องจริงจังสำหรับชาวภูฏาน
ไม่ควรหาหัวข้ออื่นมาหันเหความสนใจ ถ้าจะคุยต้องคุยให้เสร็จก่อนเริ่มลงมือกินอาหารและเมื่อกินเสร็จ
แขกไม่ควรนั่งคุยเรื่องสัพเพเหระ กับเจ้าบ้าน แต่จะรีบกลับบ้านไปในทันที่ทีการอาหารจบลง
กฎข้อนี้ใช้กับงานเลี้ยงของทางการด้วย
การไปร่วมงานพิธี
ธรรมเนียมที่เป็นทางการและสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของภูฏานคือ
ชาวภูฏานทั้งหญิงและชายจะต้องห่มผ้ากับเนะ งานพิธีทางการที่พบได้บ่อยที่สุดในภูฏานมีอยู่สองงานคือ
พิธีประสาทพรให้เจริญรุ่งเรืองหรือให้บังเกิดความอุดมสมบูรณ์
เรียกว่า พิธีซุกเดรล โดยมีพระลามะเป็นผู้ประกอบพิธี ส่วนงานที่สองคือพิธีบวงสรวงบูชาท้าวมหากาฬ
(เทพผู้ปกปักรักษาประเทศภูฏาน) เรียกว่า พิธีมาชัง ซึ่งผู้ประกอบพิธีจะเอาสุราที่หมักขึ้นในท้องถิ่น
(เรียกว่า ชัง) เทใส่ในถ้วยที่ใช้เนยปั้นเป็นรูปเขาสัตว์สี่อัน
ประดับไว้ตามขอบ นำไปตั้งไว้บนแท่นบูชาสามขา ใช้ทัพพีตักสุราขึ้นมาชูขึ้นเหนือศีรษะ
แล้วท่องมนก่อนเทสุราในทัพพีลงพื้นพอเป็นพิธี เสร็จแล้วจึงจะต้องธงมนต์ขึ้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย
การเลื่อนตำแหน่ง
ในการเลื่อนตำแหน่งหรือฐานะทางสังคมของชาวภูฏาน
ผู้ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งจะนิมนต์พระมาทำพิธีประสาทพรให้ที่บ้านเช่นเดียวกับงานแต่งงาน
โดยจะนั่งอยู่บนที่สูง และรับของขวัญพร้อมผ้ากาตาสีขาว จากแขกเหรือที่มาแสดงความยินดี
การเกิด
การถือกำเนิดของบุตรหลานชาวภูฏานไม่ว่าหญิงหรือชายล้วนเป็นเรื่องน่ายินดี
ช่วงสามวันแรกหลังคลอดผู้เป็นมารดาจะไม่พบใครนอกจากคนในครอบครัว
ต้องรอจนถึงวันทำพิธีฮาซัง (พิธีอาบน้ำ) ผ่านพ้นไปก่อน แขกเหรื่อจึงจะมาเยี่ยมเยือนแสดงความยินดีได้
ตามหมู่บ้านในชนบทญาติมิตรจะนำไข่ ข้าว หรือข้าวโพดมามอบให้เป็นของขวัญ
แต่ในเมืองจะนิยมนำเสื้อผ้าเด็กหรือผ้าอ้อมมามอบให้มากกว่า
นอกจากนี้ยังต้องมอบเงินก้นถุงเล็กๆ น้อยๆ ให้กับทารกเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต
แม่จะต้องกินอาหารดีๆ และเครื่องดื่มที่ทำจากสุรา อาระผสมกับเนยและไข่
เพื่อจะได้มีน้ำนมมากๆ เครื่องดื่มดังกล่าวเจ้าของบ้านมักนำออกมาเลี้ยงแขกเหรื่อด้วย
การตั้งชื่อเด็ก พ่อแม่ะตั้งชื่อให้ลูกเอง
แต่จะรอให้พระหรือลามะผู้เป็นโหราจารย์ที่ตนเคารพนับถือตั้งให้พร้อมกับทำการผูกดวง
โดยจดวันเดือนปีเกิด เวลาตกฟาก และพิธีต่างๆ ที่จะต้องทำในแต่ละปีหรือในกรณีที่ดวงตกเอาไว้ให้
ปัจจุบันพ่อแม่จะต้องไปแจ้งเกิดกับทางการด้วย
การแต่งงาน
ช่วงวัยหนุ่มสาวของชาวภูฏานจะไม่มีงานพิธีใดๆ
เป็นพิเศษจนกว่าจะถึงกำหนดแต่งงาน
การแต่งงานในภูฏานอาจเป็นงานใหญ่มีพิธีรีตองต่างๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย
หรืออาจไม่มีการจัดพิธีใดๆ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะทางสังคมของครอบครัวและขึ้นอยู่กับว่าคู่บ่าวสาว
รู้จักกันด้วยวิธีใด
กล่าวคือ
อาจเป็นการแต่งงานกันด้วยความรักชอบพอหรือเป็นการแต่งงานตามความต้องการของ
ผู้ใหญ่
ซึ่งพ่อแม่จะถามความสมัครใจของลูกว่าจะยอมแต่งหรือไม่ โดยปกติแล้ว
จะไม่ใช่เป็นการมาเจอหน้ากันครั้งแรกในวันแต่ง
และถ้าลูกไม่สมัครใจก็สามามรถบอกปฏิเสธได้
ส่วนการแต่งงานจากการรักชอบพอกันเองนั้น
ความเห็นชอบของพ่อแม่ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่
ถ้าครอบครัวของคู่บ่าวสาวมีฐานะดี
การแต่งงานก็ต้องจัดเป็นงานใหญ่
มีญาติมิตรมาร่วมงานมากมาย
เมื่อถึงฤกษ์ดีที่โหราจารย์ให้มา
เจ้าบ่าวกับเพื่อนจะยกขบวนไปรับเจ้าสาวจากบ้านของฝ่ายหญิง
และพากลับมายังบ้านของตน
ที่หน้าบ้านจะมีสมาชิกในครอบครัวสองคนถือชามใส่นมและน้ำเป็นสัญลักษณ์แทน
ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตของคู่สมรส
เสร็จจากพิธีมาชัง คู่บ่าวสาวจะออกไปนั่งฟังพระสวด
แต่พิธีสงฆ์ของทางพุทธก็ไม่ได้มีน้ำหนักหรือความศักดิ์สิทธิ์เท่าพิธีทางศาสนาของพวกคริสเตียนหรือฮินดู
จากนั้นคู่บ่าวสาวจะดื่มสุราประกาศความเป็นสามีภรรยากัน
ญาติมิตร จะนำกับเนะสีขาวมาคล้องและนำของขวัญมามอบให้ ส่วนใหญ่เป็นผ้าจำนวนสาม
ห้า หรือเจ็ดผืน มีการกินเลี้ยง ดื่มสุราและเต้นรำกันอย่างสนุกสนานจนถึงค่ำ
ถ้าเป็นครอบครัวคู่บ่าวสาวที่มีฐานะไม่ดี หนุ่มสาวจะย้ายมาอยู่ด้วยกันเฉยๆ
ปัจจุบัน ทางการภูฏานส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่ตามชนบทจะไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้มากนัก
ในภูฏาน การหย่าร้างถือเป็นเรื่องธรรมดามาแต่ครั้งโบราณ
ถ้าภรรยาเป็นฝ่ายเรียกร้องต้องการหย่าขาด ชายคนใหม่ของเธอจะต้องจ่ายค่าปรับให้กับสามีเก่า
ปัจจุบัน กฎหมายยังกำหนดว่าอีกฝ่ายจะต้องแบ่งรายได้หรือเงินเดือนร้อยละ
25 ให้กับคู่ชีวิต
พิธีศพ
งานศพเป็นพิธีที่สำคัญที่สุดในภูฏาน นับเป็นพิธีที่แพงที่สุดสำหรับชาวภูฏาน
ความตายไม่ใช่เป็นการสิ้นสุด แต่เป็นการผ่านไปสู่ชีวิตใหม่
พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างให้ขั้นตอนนี้ของชีวิตเป็นไปในทางที่ดีที่สุด
เมื่อมีคนใกล้ ญาติจะรีบไปนิมนต์พระ ลามะ หรือ กมเซ็น (พระบ้าน)
มาประกอบพิธีเพื่อช่วยปลดปล่อยดวงจิตออกจากร่างและอ่านภัมคีร์มรณะ
เพื่อชี้นำวิญญาณให้ก้าวผ่านนิมิตและขั้นตอนต่างๆ ไปด้วยดี
ดินแดนที่อยู่ระหว่างความตายและการไปเกิดใหม่เรียกว่า บาร์โด
พิธี
ศพในภูฏานค่อนข้างสลับซับซ้อน
และถ้าเป็นคนมีฐานะดีจะดำเนินงานพิธีติดต่อกันไปโดยมีหยุดนานถึง
49 วัน แต่่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดติดต่อกันแค่เจ็ดวัน
แล้วมาทำพิธีเพิ่มในวันที่
14, 21 และ 49 แทน พิธีช่วงวันที่ 21-49
จะจัดขึ้นที่วัดไม่ใช่ที่บ้าน
หลัง 49 วันผ่านพ้นไป
จึงถึงคราวของการทำพิธีชำระความเศร้าหมองและพิธีนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่
ผู้ที่ยังอยู่เบื้องหลังซึ่งจะกระทำกันที่บ้านของผู้ตาย
ทันที่ที่มีการเสียชีวิตลง
ศพของผู้ตายจะถูกจัดให้อยู่ในท่านั่งบนที่ตั้งศพที่ใช้ผ้าหลากสีคลุมไว้
โดยปกติแล้วจะตั้งศพไว้นอกบ้าน
แขกเหรือที่มาแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้ตายจะนำเงินและแถบผ้ายาวสีขาวมา
คลุมที่ตั้งศพเป็นการแสดงความคารวะ
ครอบครัวจะต้องนำอาหารมาเซ่นผู้ตายทุกมื้อและทุกวันจนกว่าพิธีต่างๆ
จะเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์
พิธีฌาปนกิจจะทำตามฤกษ์ที่โหราจารย์กำหนดให้
แต่ต้องหลังวันตายอย่างน้อยสามวัน ถ้าผู้ตายเป็นพระ ลามะ
หรือผู้มีอันจะกิน เชิงตะกอนสำหรับเผาศพจะใช้ดินเหนียวก่อขึ้นเป็นพิเศษ
ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดาก็แค่ห่อผ้าตราสังข์นำขึ้นวางบนกองฟืนแล้วเผาได้เลยทันทีที่จุดไฟ
ญาติมิตรจะโยนแถบผ้าสีขาวกับเงินเข้ากองไฟพร้อมสวดมนต์ขอให้ผู้ตายได้ไปเกิดใหม่ในชาติภพที่ดี
จากนั้นครอบครัวจะต้องประกอบพิธีในวันครบรอบวันตายติดต่อกันสามปี
โดยในปีที่สามจะเป็นพิธีใหญ่และถือเป็นที่สิ้นสุดของพิธีศพอย่างแท้จริง
หลังพิธีฌาปนกิจ ลูกหลานมักนำเถ้าอัฐิไปลอยอังคารหรือนำไปผสมกับดินเหนียวทำเป็นป้ายบูชา
จากนั้น ทางครอบครัวจะทำธงมนต์และสร้างเจดีย์เป็นการสร้างกุศลให้กับผู้ตาย
แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับศรัทธาและฐานะทางการเงินของครอบครัว
ถ้าผู้ตายเป็นเด็ก ครอบครัวจะนำศพไปทิ้งให้แร้งกากินหรือไม่ก็นำไปทิ้งน้ำแทนการเผา
สถานที่เที่ยวสำคัญในประเทศภูฏาน
เมืองทิมพู เป็นเมืองหลวงของภูฏาน เป็นที่ตั้งอขงศูนย์กลางการบริหารงาน ราชการ การเมือง และ เศรษฐกิจ มีประชากรประมาณ 1 แสนคน
เมื่องมาเที่ยวที่เมืองทิมพูแล้วไม่ควรพลาดเยือน
ทาชิโช ซอง (Tashichho dzong)
ทาชิโช ซอง (Tashichho dzong) คำว่า ซอง แปลว่า พระราชวัง สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรและศาสนจักร ประกอบด้วยพระราชวัง ทำเนียบรัฐบาล สภา
วัดอนุสรณสถาน Memorial Chorten
องค์ สถูปสีขาวที่ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2517 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กษัตริย์องค์ที่ 3 กษัตรย์จิกมี คอร์จิ ซิมโตก้าซอง (Simtokha Dzong) ซึ่งเป็นพระราชวังแห่งแรก สร้างขึ้นโดย ซับดรุง งาวังนัมเกล ลามะจากฑิเบตที่รวบรวมเมืองได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2182 นับว่าเป็นพระราชวังที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏาน ปัจจุบันเป็นสถาบันภาษาและวัฒนธรรมของประเทศภูฏาน
เมืองปูนาคา อดีตเคยเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 เมืองปูนาคาตั้งอยู่ห่างจากเมืองทิมพู ราว 72 กิโลเมตร และด้วยความที่เป็นเมืองที่มีความสูงต่ำที่สุดของภูฏาน ซึ่งมีความสูงราว 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จึงทำให้เป็นเขตที่อบอุ่นที่สุด และมีการทำนาข้าวอย่างกว้างขวาง
เมื่อมาเที่ยวเมืองปูนาคาแล้วไม่ควรพลาดเยือน
ปูนาคาซอง (Punakha Dzong)
ปูนาคา ซอง ตั้งอยู่บนทัศนียภาพที่สวยงาม ณ จุดที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือแม่น้ำโพ และ แม่น้ำโม ที่แปลว่า แม่น้ำพ่อ กับ แม่น้ำแม่ และเนี่องจากเป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนความสูงที่นับว่าต่ำที่สุดของภูฏาน ที่นี่จึงเป็นที่ประทับของพระสังฆราชในช่วงฤดูหนาวอีกด้วย
เมืองพาโร เป็นเมืองการค้าและพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ และถือเป็นเมืองหน้าด่านของประเทศ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติภูฏาน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางทางศาสนจักรที่สำคัญได้แก่
พาโรซอง (Paro Dzong)
พา โรซอง ถูกสร้างขึ้นบนเนินเขาริมแม่น้ำพาโร เพื่อเป็นป้อมปราการต่อต้านการรุกรานจากฑิเบต ต่อเมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการปรับปรุงให้เป็นวัดสำคัญของประเทศ โดยมีงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ พาโรเซซู ที่ถือว่าเป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูฏาน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาโร (National Museum Paro)
พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติกรุงพาโร ตั้งอยู่ในเขต ตาซอง หอคอยของป้อมปราการในอดีต เป็นที่เก็บรวบรวมเหรียญเก่า แสตมป์ เครื่องแต่งกาย อาวุธโบราณ รวมกระทั่งสัตว์ในภูฏาน ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และ นกต่างๆ
วัดทักซัง (Tiger's Nest)
วัด ทักซัง ตามตำนานเล่าว่า คุรุปัทมสัมภวะ วิปัสนาอยู่บนเขาสูงกว่า 3,000 เมตร โดยมีผู้พบเห็นท่านขี่เสือกระโจนจากยอดเขาแห่งนั้น ผู้เลื่อมใสในตัวท่าน จึงได้ร่วมแรงศรัทราสร้างวัดบนเขาสูงนับ 800 เมตร ทุกวันนี้ เป็นสถานที่จาริกแสวงบุญที่สำคัญ
No comments:
Post a Comment