พระมหามุนี เมืองมัณฑะเลย์
พระมหามัยมุนีเป็นอีกสถานที่ติด 1 ใน 5 ของมหาบูชาสถานสูงสุดของประเทศพม่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทัวร์พม่า ไม่อยากให้พลาดกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ ถือว่าเป็นสถานที่ของสำคัญของพม่าเลยทีเดียว
พระมหามัยมุนีมีความสวยงามเป็นอย่างมากมีตำนานเล่าขานกันว่า พระเจ้าจันทสุริยะ กษัตริย์ของยะไข่เมืองธัญญวดีได้สร้างพระมหามัยมุนี ในปี พ.ศ.689 หรือประมาณเกือบสองพันปี ชื่อนั้นมีความว่า มหาปราชญ์ เหตุผลที่สร้างขึ้นมาก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเข้าฝันประทานพรแก่พรเจ้าจันทสุริยะให้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาเพื่อให้ศาสนาพุทธนั้นรุ่งเรือง แต่เนื่องจากว่าพระมหามันมุนีนั้นมีขนาดใหญ่จึงหล่อแยกชิ้นส่วนแล้วนำมีประกอบเข้าด้วยกันแบบไม่เห็นรอยต่อเลยทีเดียวซึ่งมีความเชื่อกันว่าเป็นเพราะพรของพระศาสดาที่ได้ประทานไว้ให้ พระมหามัยมุนีมีความสวยงามเป็นอย่างมากและมีความศักดิ์สิทธิ์ชื่อเสียงจึงโด่งดังไปทั่วในสมัยนั้นเลยเป็นที่หมายตาจองกษัตริย์ทั้งหลายต่างพยายามยกทัพไปชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานเพื่อเป็นสิริมงคลต่อพม่าเอง แต่ก็ต้องล้มเลิกไปครั้งแล้วครั้งเล่าเพราะความทุรกันดารตลอดเส้นทางนั่นเองเนื่องจากมีแต่แม่น้ำและภูเขาสูงจึงทำไม่สำเร็จ แต่แล้วมาถึงสมัยของพระเจ้าปดุงสามารถนำพระมหามัยมุนีมาไว้ที่กรุงมัณฑะเลย์เมื่อปี พ.ศ.2327 จนในปัจจุบันคนพม่านั้นยังคงเรียกชื่อว่า พระยะไข่ วัดแห่งนี้มีธรรมเนียมเช่นกับสถานที่สำคัญอื่นๆในพม่าก็คือ ที่นี่ไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีเข้าใกล้องค์ได้เท่ากับผู้ชายซึ่งสามารถไปปิดทองที่องค์พระได้ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทัวร์พม่าที่เป็นสตรีนั้นจะมีเขตให้กราบองค์พระได้ระยะใกล้สุดประมาณ 10 เมตร สตรีก็สามารถซื้อแผ่นทองฝากผู้ชายขึ้นไปปิดทองแทนได้ แต่ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สตรีนั้นสามารถสัมผัสพระได้ก็คือใช้แป้งตะนะคาที่ใช้ล้างพระพักตร์ของพระมหามัยมุนีทุกๆเข้า ทางวันจะจัดพื้นที่บริเวณลานหน้าองค์พระ ให้นักท่องเที่ยวที่มาทัวร์พม่าและประชาชนช่วยกันฝนท่อนไม้ตะนะคาเพื่อให้ได้แป้งหอมจากเปลือกไม้มาใส่ในผอบแล้วน้ำไปผสมน้ำมาพนมพระพักตร์ขององค์พระ
พระมหามัยมุนีเป็นองค์พระที่สง่างามเป็นอย่างมากที่นี่จึงมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมและกราบไหว้สักการะให้เกิดสิริมงคลแก่ตัวเองกันเป็นจำนวนมาก พระมหามัยมุนีเป็น 1 ใน 5 สถานที่สำคัญของประเทศพม่าเลยทีเดียว จึงอยากแนะนำนักท่องเที่ยวให้ลองมาเที่ยวชมกันดูสักครั้งว่าสวยงามสมคำที่เขาล่ำลือกันจริงหรือไม่ค่ะ
No comments:
Post a Comment