ล่องเรือแม่น้ำอิระวดีสู่มิงกุน แม่น้ำอิระวดีชาวพม่าเรียกว่า เอยาวดี ซึ่งแปลว่า มหานที ซึ่งเป็นทั้งอู่ข้าวอู่น้ำเลี้ยงชีวิตและยังเป็นอู่อารยะธรรมมานับพันปี แม่น้ำสายนี้มีต้นกำเนิดมาจากเขาในรัฐกะฉิ่นอยู่ทางเหนือสุดของพม่าที่ไหลผ่านกลางเมืองพม่าออกไปทางทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ที่เขตอิระวดีนั้นอยู่ใกล้กับย่างกุ้งถ้าคิดเป็นระยะทางก็ประมาณ 2,170 กิโลเมตร
จุดล่องเรือชมความสวยงามของแม่น้ำอิระวดีนั้นมีอยู่หลายจุด แต่มีอยู่หนึ่งจุดที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาทัวร์พม่าเป็นอย่างมากก็คือล่องเรือจากชานเมืองมัณฑะเลย์ หรือจากท่าเรือที่อยู่ใกล้กับเจดีย์ชเวไจยัตเมืองอมรปุระ ทวนน้ำไปที่หมู่บ้านมิงกุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอมรปุระแต่จะอยู่บนเกาะกลางน้ำอิระวดีและที่สำคัญการจะไปมานั้นมีอยู่ทางเดียวคือทางเรือเท่านั้นซึ่งก็เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่อยากแนะนำให้นักท่องเที่ยวที่มาทัวร์พม่าได้ลองไปแวะชมความสวยงามที่ไม่ควรพลาดกันดูคะการล่องเรือนั้นจะใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง ถ้ารวมเวลาเที่ยวชมแล้วกลับจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสามชั่วโมงครึ่ง ระหว่างทางนักท่องเที่ยวจะได้พบกับหมู่บ้านอิระวดีเป็นกึ่งบ้านกึ่งแพ เป็นเพราะว่าแม่น้ำอิระวดีนั้นจะมีระดับที่แตกต่างกันในแต่ละฤดูยิ่งในฤดูน้ำหลากระดับน้ำนั้นจะสูงกว่าทุกฤดูกว่า 10 เมตร ชาวบ้านจึงนิยมสร้างบ้านกึ่งแพถ้าช่วงน้ำสูงก็จะร่วมแรงกันยกบ้านขึ้นที่ดอน เมื่อน้ำลงจะยกบ้านมาอยู่ใกล้ๆน้ำเพื่อสะดวกสบายในการใช้น้ำในชีวิตประจำวันซึ่งก็ถือเป็นอีกเสน่ห์อย่างหนึ่งของพม่า ต่อมาเมื่อขึ้นฝั่งที่ท่าเรือหมู่บ้านมิงกุนนักท่องเที่ยวจะพบกับโบราณสถานจุดแรกก็คือ เจดีย์เซตตอยา ซึ่งพระเจ้าปดุงได้ทรงให้สร้างครอบรอยพระพุทธบาทจำหลังบนหินอ่อนเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการก้าวสู่ดินแดนที่พระเจ้าปดุงได้พระราชดำริจะสร้างเจดีย์มิงกุนหรือเจดีย์จักรพรรดิ ที่ใหญ่ที่สุดและสูงกว่าเจดีย์องค์อื่นๆในสุวรรณภูมิอีกด้วย
จุดต่อมาจะเป็นซากเจดีย์ขนาดใหญ่ที่ยังสร้างไม่เสร็จนักท่องเที่ยวจะเห็นว่ามีสิงห์คู่ประดับอยู่ทางด้านหน้า นั่นก็คือเจดีย์มิงกุนซึ่งยังคงมีร่อยรอยของความทะเยอทะยานของพระเจ้าปดุงให้ได้เห็นกันอยู่ เจดีย์มิงกุนนั้นดำเนินการสร้างได้เพียงแค่ 7 ปีเท่านั้น พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคตพระมหาเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ตามความต้องการของพระองค์จึงได้เห็นแค่เพียงฐานของเจดีย์ แต่ถ้าหากว่าเจดีย์องค์นี้สร้างเสร็จคงจะใหญ่โตมากเพราะมีอิฐที่มีความมั่นคงถึง 50 เมตร ซึ่งถ้าสร้างเสร็จตามแผนจะเป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสูงที่สุดในโลกเพราะว่ามีความสูงถึง 152 เมตร ส่วนรอยแตกร้าวตรงกลางฐานที่นักท่องเที่ยวที่มาทัวร์พม่าได้เห็นนั้นเกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี พ.ศ.238
No comments:
Post a Comment