Sunday, October 25, 2015

วัดโพธิ์ศรีใน บ้านเชียง จังหวัด อุดรธานี พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย

วัดโพธิ์ศรีใน บ้านเชียง จังหวัด อุดรธานี
พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย

หลุม ขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีใน  ตั้งอยู่ภายในวัดโพธิ์ศรีใน ซึ่งอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นสถานที่สำคัญหนึ่งที่เก็บรักษาศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมได้ และ

ยังเป็นสถานที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จมาทอดพระเนตรการทำงานของนักโบราณคดี ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๕ กรมศิลปากรโดยได้ดำเนินการปรับปรุงหลุมขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน และเก็บรักษาหลักฐานทางโบราณคดีไว้ในสภาพดั้งเดิม โดยจัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย

วัดโพธิ์ศรีใน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 90 บ้านเชียง ถนนโพธิ์ศรีใน หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2390 เดิมชื่อวัดใน เพราะตั้งอยู่กลางชุมชนต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2515 พระครูวิมลปัญญากร (เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคที่ดินให้กรมศิลปากรทำการ ขุดค้นทางโบราณคดี ต่อมาจัดเป็น พิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน และเปิดให้เข้าชมจนถึงปัจจุบัน ภายในวัดมีบรรยากาศที่เงียบสงบดี มีต้นโพธิ์ต้นใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์ศรีใน

วัดโพธิ์ศรีใน ถือเป็นแหล่งโบราณคดีอีกหนึ่งที่ที่มีการขุดค้นพบ โบราณวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในบ้านเชียงซึ่งเป็นหลุมขุดค้นขนาดใหญ่ มีทั้งโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อน เครื่องปั้นดินเผ่า ที่ยังคงสภาพอยู่ค่อนข้างดี นับเป็นสถานที่ค้นคว้าและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ที่สำคัญ ในปัจจุบันนี้มีประชาชน นักเรียน นักศึกษา แวะเข้าไปเยี่ยมชมกันเป็นจำนวนมาก

การเดินทาง

  • การเดินทางไปยังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง สามารถขับรถตามเส้นทางหมายเลข 22 เส้นอุดรธานี-สกลนคร ตรงกิโลเมตรที่ 50 ก็จะถึงปากทางเข้าบ้านปูลู จะเห็นป้ายบอกทางไปพิพิธภัณฑ์ทางด้านซ้ายมือ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง จากจุดนี้ไปอีก 700 เมตร ก็จะถึงวัดโพธิ์ศรีใน


**พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติบ้านเชียง ปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์  แต่สามารถมาชมหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีใน แทนได้ครับ เปิดทุกวัน ค่าบำรุงสถานที่คนละ 30 บาท**


ขอขอบคุณ ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก (Thai World Heritage Information Centre)

No comments:

Post a Comment