Thursday, March 26, 2015

ท่องเที่ยวมาเลเซีย (Malaysia)

คู่มือการท่องเที่ยวมาเลเซีย
มาเลเซีย เป็นแหล่งรวมของวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย และ ไทย รวมทั้งอีกหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัวคุณ จะได้สัมผัสกับความตื่นตาตื่นใจ เพลิดเพลินไปกับทุกแง่มุมและทุกรสชาติของความเป็นเอเชีย ณ ที่นี่ที่เดียว คุณจะได้สัมผัสกับไออุ่นของชนชาติมาเลเซียต้องที่นี่..มาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียมีระบบการเมืองการปกครองที่มั่นคงมากทำให้มีการพัฒนาประเทศ ได้อย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง และ มีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เช่นตึกแฝด Petronas, สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ (Kuala Lumpur International Airport) ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาเที่ยวใน ประเทศมาเลเซียกันมากๆ

ข้อมูลประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย มีพื้นที่ 2 ส่วน คือ 11 รัฐบนแหลมมลายู และอีก 2 รัฐบนเกาะบอร์เนียว คือ ซาราวักและ ซาบาห์ ซึ่งรวมเข้ากับประเทศมาลาเซียหลังจากได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ดังนั้นประวัติศาสตร์ของมาเลเซีย จึงกล่าวถึงเฉพาะพื้นที่บนแหลมมลายูเท่านั้น ในอดีตเส้นทางเดินเรือจากยุโรปสู่เปอร์เซียมายังตะวันออกจำเป็นต้องผ่านช่อง แคบระหว่างแหลมมลายูและเกาะสุมาตราเพื่อเป็นการย่นระยะทางทำให้ดินแดนทางทิศ ตะวันตกของแหลมมลายูได้รับการพัฒนาเป็นเมืองท่า คือ เมืองท่ามะละกา จนเป็นที่มาของชื่อ “ช่องแคบมะละกา” ความเจริญนี้นำมาซึ่งการต้องการครอบเมืองท่าที่เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดิน เรือ เป็นเหตุให้มะละกาตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกถึงสามชาติ เริ่มจาก โปรตุเกส ฮอลันดา จนถึงอังกฤษ ซึ่งการตกเป็นอาณานิคมนี้ไม่ได้ถูกครอบครองเฉพาะพื้นที่ในส่วนของมะละกาแต่ รวมไปถึงพื้นที่ทั้งหมดของแหลมมลายู เมืองปะลิส เกดะห์ (หรือไทรบุรี รวมทั้งเกาะหมากหรือปีนัง) กลันตัน และตรังกานู จนกระทั่งปี พ.ศ. 2491 กองทหารป่าภายใต้การนำของตนกูอับดุล เราะห์มาน ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของอังกฤษจนนำมาซึ่งเอกราชเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งได้กำหนดให้เป็นวันชาติมาเลเซีย แต่ประเทศมาเลเซียได้ถือกำเนิดขึ้นในปีพ.ศ. 2506 เมื่อมีการผนวกรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์ และเกาะสิงคโปร์ (ภายหลังจากนั้น 2 ปี สิงค์โปร์ได้แยกตัวออกมาเป็นอีกประเทศหนึ่ง) โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Federation of Malaysia หรื สหพันธรัฐมาเลเซีย


ภูมิประเทศและการปกครอง
ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แหลมมลายูกับพื้นที่บริเวณส่วนเหนือของเกาะบอร์เนียว รวมพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบไม่มากนัก

การปกครองแบ่งเป็น 13 รัฐ อยู่บนแหลมมลายู 11 รัฐ ประกอบด้วย 

  1. รัฐปะลิส (Perlis) 
  2. รัฐเกดะห์ (Kedah) 
  3. รัฐปีนัง (Penang) 
  4. รัฐเประ (Perak) 
  5. รัฐกลันตัน (Kelantan) 
  6. รัฐตรังกานู (Trengganu) 
  7.  รัฐสลังงอร์ (Selangor) 
  8. รัฐเนกรีเซมบิลัน (Negeri Sembilan) 
  9.  รัฐมะละกา (Melaka) 
  10. รัฐปะหัง (Pahang) 
  11. รัฐยะโฮร์ (Jahor) 
  12. รัฐซาราวัก (Sarawak) 
  13. รัฐซาบาห์ (Sabah) 
  14. รัฐสลังงอร์ ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เป็นเมืองหลวง และปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ 

ประเทศมาเลเซียนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมี ยัง ดี เปอร์ตวน อากง (Yang di Pertaun Agong) หรืพระราชาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเวียนกันของสลุต่านจากรัฐต่าง ๆ ทุก ๆ 5 ปี และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล


ประชากรและศาสนา
• ประชากรในมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ ชนเชื้อสายมาเลย์ รองลงมาคือ จีน และอินเดีย นอกจากนั้นคือชนพื้นเมือง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ


สภาพภูมิอากาศ
• เนื่องจากตั้งอยู่เกือบถึงเส้นศูนย์สูตร สภาพภูมิอากาศจึงเป็นแบบเขตร้อน อีกทั้งอยู่บนคาบสมุทร ทำให้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ฝนตกชุกเกือบตลอดปีโดยเฉพาะช่วงเมษายนถึงพฤษภาคม และตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฝั่งตะวันออกของประเทศจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุมมากกว่าทำให้ฝนตกนานจน ถึงเดือนกุมภาพันธ์


เมืองหลวง - กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
เมืองราชการ - เมืองปุตราจายา (Putrajaya)
ภูมิอากาศ - ร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส และ อาจมีฝนตกบ้างเป็นบางวัน แต่สำหรับอุณหภูมิบางแห่งเช่น บนคาเมร่อน ไฮด์แลนด์ และ บนเก็นติ้ง ไฮด์แลนด์ อุณหภูมิอาจจะต่ำกว่า 20 องศาตลอดทั้งปี
ประชากร - 26.24 ล้านคน (ปี 2549)
ภาษา

มาเลเซียมีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ แต่ชาวมาเลย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการพูดกันอย่างแพร่หลาย

ศาสนา - อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4) พุทธ (ร้อยละ 19.2) คริสต์ (ร้อยละ 11.6) ฮินดู (ร้อยละ 6.3) อื่น ๆ (ร้อยละ 2.5)

หน่วยเงินตรา - ริงกิตมาเลเซีย (ประมาณ 3.75 ริงกิต /1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10.65 บาท/1 ริงกิต)
การนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาเลเซีย - ผู้ เดินทางเข้าประเทศมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้าได้ไม่จำกัดจำนวน และผู้เดินทางสามารถนำเงินริงกิตของมาเลเซียออกนอกประเทศได้ไม่เกินคนละ 1,000 ริงกิตเท่านั้น
วันชาติ
- 31 สิงหาคม

ระบอบการเมือง - ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)

ฤดูกาลท่องเที่ยวและเทศกาลงานประเพณี
• มกราคม
• การแข่งเรือนานาชาติ จัดขึ้นที่ Royal Lankawi Yatch Club เกาะลังกาวี
• เทศกาลโคมไฟ จัดขึ้นบนถนนยองเกอร์ในเมืองมะละกา ซึ่งตามบ้านเรือนแหละเหล่าโบราณสถานจะประดับโคมไฟอย่างสวยงาม อีกทั้งถนนสายนี้ยังเป็นถนนคนเดินเต็มไปด้วยร้านอาหารและศิลปวัฒนธรรม
• เทศกาลไทปูซัม เป็นเทศกาลใหญ่ของศาสนาฮินดู จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม (บางปีอาจอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์) ที่ถ้ำบาตู เพื่อเทิดพระเกียรติเทพเจ้ามูรูก้า โดยจะมีขบวนแห่พระราชรถและการทรมานตนด้วยเหล็กแหลมของเหล่าสาวก
• กุมภาพันธ์
• วันดินแดนแห่งสหพันธรัฐ หรือรู้จักกันในชื่อ “ซิตี้เดย์” จัดขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เพื่อระลึกถึงการประกาศเป็นสหพันธรัฐโดยมีกัวลาลัมเปอร์เป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2517 ในงานจะเต็มไปด้วยขบวนพาเหรด พลุ ดอกไม้ไฟ และการละเล่นต่าง ๆ
• เทศกาลตรุษจีน จัดขึ้นในย่านไชนาทาวน์ของทุกเมือง
• มีนาคม
• เทศกาลอาหารนานาชาติ จัดขึ้นที่ International Sports Arena เมืองปีนัง
• เมษายน
• Malaysia Water Festival จัดขึ้นที่ Desaru เมืองชายฝั่งทะเลในรัฐยะโฮห์ และที่ซีนัง ชายหาดบนเกาะลังกาวี เป็นงานแข่งขันกีฬาทางน้ำ
• พฤษภาคม
• เทศกาลอาหารและผลไม้ จัดขึ้นที่จัตุรัสเมอร์เดกา กัวลาลัมเปอร์
• มิถุนายน
• วันเฉลิมพระชนมายุของพระราชาธิบดี ตรงกับวันเสาร์แรกของเดือนมิถุนายน จัดขึ้นที่จัตุรัสเมอร์เดกา กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยจะมีการสวนสนามของเหล่ากองทัพ พร้อมทั้งการแสดงศิลปวัฒนธรรม และดนตรี
• กรกฎาคม
• Malaysia Mega Sale จัดขึ้นทุกห้างสรรพสินค้าทั่วกรุงกัวลาลัมเปอร์
• สิงหาคม
• วันชาติมาเลเซีย ตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และเมืองหลวงของแต่ละรัฐทั่วประเทศจะมีการแสดงต่าง ๆ ขบวนพาเหรด พลุและดอกไม้ไฟ
• กันยายน
• เทศกาลฮารีรายออิดิลฟิตรี้ (Hari Raya Aidilfitri) การฉลองหลังถือศีลอดของชาวมุสลิม โดยชาวมุสลิมจะประดับประดาบ้านเรือนด้วยโคมไฟในยามค่ำคืน และมีพิธีละหมายอิดิลอัฎฮาที่มัสยิด (เทศกาลนี้อาจแตกต่างกันในแต่ละปี เนื่องจากการนับตามปฏิทินจันทรคติ ควรตรวจสอบจากปฏิทินอิสลาม)
• ตุลาคม
• วันดีปาวาลี (Deepavali) งามเฉลิมฉลองของชาวฮินดู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าความดีอยู่เหนือความชั่ว
• Penang World Music Festival งานแสดงดนตรีท้องถิ่นของมาเลเซียและจากทั่วโลก จัดขึ้นที่ Botanic Gardens ที่เกาะปีนัง
• พฤศจิกายน
• Malaysia Savings Sales คืองานลดราคาสินค้าในทุกห้างสรรพสินค้าทั่วกรุงกัวลาลัมเปอร์
• ธันวาคม
• Langkawi International Maritime and Aerospace Exhibition (LIMA) จัดขึ้นทุก ๆ สองปีที่เกาะลังกาวี เป็นการแสดงเรือและเครื่องบินผาดโผนการแสดงดนตรี นาฏศิลป์ และเทศกาลอาหารจากทุกรัฐในมาเลเซีย


อาหารการกิน
• ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งมลายู จีน อินเดีย และไทย ทำให้อาหารการกินในมาเลเซียมีให้เลือกหลากหลาย ในกัวลาลัมเปอร์ที่ถนนเพทาลิง (Jalan Petaling) หรือไชน่าทาวน์ในกัวลาลัมเปอร์ อยู่ไม่ไกลจากสถานีขนส่ง Puduraya ถนนสายนี้เต็มไปด้วยร้านอาหารจีน และในฝั่งตรงข้ามสถานี Puduraya ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียจึงมีร้านอาหารอินเดียวหลายร้าน สามารถชิมอาหารอินเดียได้ที่นี่
• ในเขตเมืองกัวห์ ที่ลังกาวี บนถนนเคอลิบัง (Jalan Kelibang) ตลอดเส้นทางบนถนนสายนี้เต็มไปด้วยอาหารทะเล และยังมีอาหารมุสลิม อาหารอาหรับ หรืออาหารมาเลย์จำพวกเนื้อย่างหรือสะเต๊ะ โดยเปิดให้บริการในช่วงค่ำ
• ปีนัง ในเมืองจอร์จทาวน์มีร้านอาหารจีนเป็นจำนวนมาก และที่ตลาดเช้าในรัฐกลันตัน Pasar Siti Khadijah จะเต็มไปด้วยสารพัดอาหารหวาน และอาหารคาวที่น่าสนใจ คือ นาซิเลอมัก (Nasi Lemak) คือข้าวหุงกับน้ำกะทิ กินกับแกง หรือปลาหมึกผัดน้ำขลุกขลิก โรยหน้าด้วยปลาตัวเล็กทอด ราดซอส
• เมนูขึ้นชื่อของรัฐตรังกานู ซี่โครงหมูตุ๋นยาจีน หรือ บักกุตเกต๋ และฉาก๋วยเตี๋ยว คือก๋วยเตี๋ยวผัดแบบมาเลย์นั่นเอง
• มะละกา บนถนนยองเกอร์ (Jonker Street) มีอาหารที่ไม่ควรพลาดคือ ข้าวมันไก่ Chicken Rice Ball โดยเสิร์ฟไก่สับมาพร้อมกับข้าวที่ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองมะละกา และมีขนมหวานที่น่าลิ้มลองคือ มะละกาทาร์ต (Melaka Tart) ส่วนในตอนค่ำถนนสายนี้จะปิดการจราจรและเปลี่ยนเป็นถนนคนเดินจำหน่ายสินค้า ที่ระลึก เสื้อผ้า และยังเป็นแหล่งอาหารอีกด้วย


ของที่ระลึก
• รูปปั้นนกอินทรี สัญลักษณ์ แห่งลังกาวีหาซื้อได้บริเวณจัตุรัสนกอินทรี และชายหาดต่าง ๆ ของที่ระลึกจากมะละกา คือรองเท้า หรือเกี๊ยะไม้คู่จิ๋วที่ตกแต่งลวดลายอันงดงาม หาซื้อได้บริเวณร้านค้าบนถนนยองเกอร์ ในกัวลาลัมเปอร์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตึกแฝดเปโตรนาสไม่ว่าจะเป็นโมเดล จำลอง ที่ใส่นามบัตร เสื้อยืดพิมพ์ลาย กริชจำลอง หาซื้อได้จากย่านไชน่าทาวน์ และย่านบูกิตบินตัง
• ช็อกโกแลต ในมาเลเซียมีการผลิตช็อกโกแลตและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก มีให้เลือกหลากหลายและราคาถูก สามารถเลือกซื้อได้ในซูปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป
• ผ้าบาติก ผ้าซงเก็ต (ผ้าปักดอก ทอแทรกด้วยด้ายสีเงินหรือสีทอง) งานไม้ ภาพวาด และเครื่องจักสานได้ที่เซนทรัลมาร์เก็ต หรือคราฟท์คอมเพล็กซ์ในกัวลาลัมเปอร์ กัวลาตรังกานู และบนเกาะลังกาวี หรือถ้าอยากช้อปปิ้ง สามารถไปที่ Suria KLCC ที่อยู่ชั้นล่างของตึกแฝดเปโตรนาส หรือดงช้อปปิ้งเซนเตอร์ในย่านบูกิตบินตัง


ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
• สถานเอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย
อาคารสาธรการ์เด้น ชั้น 1 เลขที่ 33 – 35 ถนนสาธรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์ 0 – 2679 – 2190 – 9 โทรสาร 0 – 2679 – 2208
• การท่องเที่ยวมาเลเซีย (ประจำประเทศไทย)
ยูนิต 1 ชั้น 3 อาคารซิลลิค เลขที่ 1 – 7 ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 0 – 2636 – 3380 – 3 โทรสาร 0 – 2636 – 3384
วันทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 น. – 16.30 น.
วันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ของไทยและมาเลเซีย



ข้อมูลท่องเที่ยวกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
• กัวลาลัมเปอร์ หมาย ถึง แม่น้ำที่เป็นโคลน เป็นจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำคลาง (Sungai Klang) และแม่น้ำกอมบัก (Sungai Gombak) บริเวณจัตุรัสเมอร์เดกา เมืองนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในราวปี พ.ศ. 2403 โดยกัปตันเรือชาวจีนค้นพบว่าบริเวณนี้มีสายแร่ดีบุกเป็นจำนวนมากก่อให้เกิด อุตสาหกรรมเหมืองแร่และทำให้เมืองนี้เจริญขึ้น จนกระทั่งมาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษ กัวลาลัมเปอร์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2517 แม้ปัจจุบัน ศูนย์กลางการปกครองจะย้ายไปที่ปุตราจายา แต่กัวลาลัมเปอร์ ยังคงเป็นศูนย์กลางธุรกิจและการคมนาคมของประเทศ


• กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)


สถานที่ท่องเที่ยวในกัวลาลัมเปอร์
• ตึกแฝดเปโตรนาส
ตึกแฝดเปโตรนาส เคย เป็นตึกที่สูงที่สุดในโลกสร้างโดยบริษัทปิโตรเลียมเนชั่นแนลเบอ์ฮาด หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปิโตรนาสซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายน้ำมันของมาเลเซีย สามารถยืนความงามของตึกได้ภายนอกโดยยืนอยู่ฟากที่น้ำพุกำลังเริงระบำและ สามารถเข้าไปในตึกเพื่อชมทิวทัศน์ของกัวลาลัมเปอร์จากสกายบริดจ์ (Sky Bridge) ซึ่งเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชั้นที่ 41 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
• หอคอยกัวลาลัมเปอร์ (KL Tower) เป็นสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคม ชั้นบนสุดของหอคอยมีผนังกระจกรอบด้านเพื่อเป็นจุดชมทิวทัศน์ และเปนที่ตั้งของภัตตาคารเสรีอังกาซารีโวลวิง (Seri Agkasa Revolving)


• อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย
อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย หรืออนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงทหารหาญที่เสียชีวิตจากสงครามในอดีตได้แก่สงครามโลก ครั้งที่ 1 (คศ.1914-1918) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) ญี่ปุ่นบุกยึดมาเลเซีย และการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ (1948-1960) อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงซึ่งตกแต่งให้เป็นสวนสาธารณะและเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่ทั้งชาวมาเลเซียและชาวต่างชาติเดินทางมาชมกันเป็นจำนวน มาก 


• จตุรัสเมอร์เดกา ( Merdeka Square หรือ Dataran Merdeka)
จัตุรัสเมอร์เดกา ตั้งอยู่ ณ จุดบรรจบของแม่น้ำคลางกับแม่น้ำกอมบัก เป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ที่ซึ่งธงชาติอังกฤษถูกปลดลงแล้วแทนที่ด้วยธง ชาติมาเลเซีย คำว่า “เมอร์เดกา” หมายถึงเอกราช จุดเด่นอยู่ที่เสาธงขนาดใหญ่สูงถึง 100 เมตร และเต็มไปด้วยอาคารในยุคอาณานิคมและกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมอังกฤษ


จตุรัสเมอร์เดกา เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ที่ใครมาเที่ยวกรุงกัวลาลัมเปอร์ ก็ต้องมาเดินที่จตุรัสกลางเมืองหลวงมาเลเซีย อันเป็นสถานที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของชาติ และของประชาชนชาวมาเลเซีย เพราะเป็นสถานที่จัดพิธีคืนความเป็นเอกราชให้กับเจ้าของประเทศ หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกนานถึง 446 ปี (พ.ศ 2054 - 2500 ) เริ่มจากประเทศโปรตุเกส ที่บุกมาทางเรือและเข้ายึด เมืองมะละกา อันเป็นเมืองท่า จากนั้นก็อยู่ภายใต้การปกครองของชาวดัทช์ และอังกฤษในเวลาต่อมา จนมาถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2500 มาเลเซียก็ได้อธิปไตยกลับคืนมาจากประเทศอังกฤษ พร้อมกับมีการชักธงชาติของมาเลเซียขึ้นสู่ยอดเสาเป็นครั้งแรก ณ บริเวณจตุรัสแห่งนี้ และ ในวันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี จะมีพิธีสวนสนามและเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ มีประชาชนชาวมาเลเซียร่วมในพิธีหลายหมื่นคน

• อาคารสุลต่านอับดุลซามัด (Sultan Abdul Samad Building)
อาคารสุลต่านอับดุลซามัด สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2440 ตั้งชื่อตามพระนามของสุลต่านแห่งสลังงอร์ โดยใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานราชการในยุคที่อังกฤษเข้ามาปกครอง ปัจจุบันเป็นอาคารสำนักงานของศาลฎีกา


อาคารสุลต่านอับดุลซามัค และ หอนาฬิกา สูง 40 เมตร เป็นตัวอาคารเก่าแถบ Merdeka Square ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม แบบ มัวร์ ส่วนที่เป็นหอนาฬิกาสูง 40 เมตรที่นั้นมักจะเรียกกันว่าเป็น บิ๊กเบนของมาเลเซีย ส่วนด้านบนจะเป็นโดมขนาดใหญ่สีทอง อาคารนี้สร้างเมื่อเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เพื่อใช้เป็นศูนย์บริหาร อาณานิคมของอังกฤษ ปัจจุบันใช้อาคารที่ทำการของรัฐบาล


• พระราชวังอิสตาน่า ไนการ่า (istana negara palace)
พระราชวังอิสตาน่าไนการ่า พระราชวังแห่งชาติ สถานที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดี หรือยังดีเปอร์ตวนอากง พระราชวังแห่งนี้จะเป็นกลุ่มอาคารรูปทรงโดมเชื่อมกับทางหลวงไปยังตัวเมือง และมีถนนทางเข้าพิเศษหลายเส้นทางพระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตร ซึ่งมีการครอบครองมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 และกลายเป็นเขตพระราชฐานนับตั้งแต่นั้น


• มัสยิมจาเม็ก (Masjid Jamek) เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในกัวลาลัมเปอร์และในรัฐสลังงอร์ สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2450 โดยสุลต่านแห่งรัฐเพื่อเป็นศูนย์กลางของศาสนาอิสลามของรัฐ คำว่า Jamek หมายถึง สถานที่ชุมนุมทางศาสนา

• พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติ (National History Museum หรือ Muzium Serajah Nasional) เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซียจนกระทั่งได้รับเอกราช
• KL Old Railway Station สถานีรถไฟเดิมก่อนจะสร้าง KL Sentral เป็นสถาปัตยกรรมแบบมัวร์
• KL Sentral เป็นจุดศูนย์กลางการคมนาคมของกัวลาลัมเปอร์ รถไฟฟ้า สถานีรถบัส โรงแรม ศูนย์การค้า และร้านอาหาร


• พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (National Museum หรือ Muzium Negara) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2506 เพื่อจัดแสดงวัตถุโบราณต่าง ๆ พร้อมทั้งบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของชาวมาเลย์ในรัฐต่าง ๆ


• National Planetarium ท้องฟ้าจำลองของมาเลเซีย ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับยานอวกาศ และการสำรวจอวกาศ และมีการฉายภาพยนตร์สั้น และการ์ตูนเกี่ยวกับอวกาศด้วย


• มัสยิดแห่งชาติ (National Mosque หรือ Majid Negera) เป็นมัสยิดเก่าแก่ที่สุดในกัวลาลัมเปอร์สร้างขึ้นเพื่อแทนที่มัสยิดจาเม็ก ซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



สถานที่ท่องเที่ยวเก็นติ้งไฮแลนด์
• เก็นติ้งไฮแลนด์ (Genting Highlands) อยู่ในพื้นที่รัฐปะหัง ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ 51 กิโลเมตร จากนั้นนั่งกระเช้าขึ้นสู่ยอดเขาที่มีความสูงถึง 2,000 เมตรอากาศหนาวเย็น และมีหมอกตลอดปี บนยอดเขาเต็มไปด้วยความบันเทิงหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น คาสิโน โรงแรมหรู โรงภาพยนตร์ สนามกอล์ฟ และสวนสนุกอีก 2 แห่ง คือ Outdoor Theme Park และ First World Indoor Theme Park


ถ้ำบาตู (Batu)
• ถ้ำบาตู (Batu) เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูทุกวัน ในช่วงเช้าจะมีชาวฮินดูมากมายมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่นี่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของถ้ำบาตู คือรูปปั้นสีทองขนาดใหญ่ของพระขันธกุมาร ลูกของพระศิวะ บริเวณปากทางเข้าในถ้ำต้องขึ้นบันได 272 ขั้นสู่โถงถ้ำด้านบนเพื่อชมความงามของหินงอก หินย้อยได้


ข้อมูลท่องเที่ยวลังกาวี (Langkawi)
• ลังกาวี อยู่ในเขต การปกครองของรัฐเกดะห์มีทั้งชายหาดที่งดงาม น้ำตกในผืนป่า สถานบันเทิงที่ทันสมัยและรายรอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ถึง 104 เกาะ การเดินทางสู่ลังกาวีที่สะดวกคือ ทางเรือโดยสารไปยังท่าเรือเมืองกัวห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจและโรงแรม คำว่า “ลังกาวี” หมายถึงนกอินทรีย์สีน้ำตาลแดงซึ่งเคยโผบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือทะเลรอบเกาะ สิ่งที่โดดเด่นของลังกาวี คือ ดาตารันลัง (Dataran Lang) หรือจัตุรัสนกอินทรีย์ซึ่งสามารถมองเห็นได้เมื่อเรือเข้าเทียบท่าที่เมือง กัวห์


• หาดซีนัง (Cenang Beach) เป็นชายหาดที่งดงามและได้รับความนิยมที่สุดบนเกาะลังกาวีตลอดแนวชายหาดเรียงรายด้วยโรงแรมและรีสอร์ตสวย ๆ หลายแห่ง และยังเป็นที่ตั้งของลามันปาตี (Laman Padi) ซึ่งเปนศูนย์จัดแสดงวิวัฒนาการการปลูกข้าว ทุ่งข้าวเขียวขจีที่อยู่ใกล้กับท้องทะเล


• พิพิธภัณฑ์โลกใต้ทะเล (Underwater World) เป็นสถานที่จัดแสดงสัตว์ทะเลกว่าห้าพันชนิด และที่โดดเด่นคืออุโมงค์ใต้น้ำที่มีความยาวถึง 15 เมตร


• แหลมตันจุงรูห์ (Tanjung Rhu) อย่างทิศเหนือสุดของเกาะตามแนวชายหาดที่ทอดยาว มีเกาะเล็ก ๆ อยู่ไม่ไกล ช่วงเวลาน้ำลงจะเกิดสันทรายทอดจากชายฝั่งไปยังเกาะนั้นได้ และ “หาดทรายดำ” Pantai Pasir Hitam หรือ Black Sand Beach ซึ่งเกิดจากแร่ธาตุนานาชนิดที่ปะปนอยู่กับทรายนั่นเอง


• น้ำตก แม้จะเป็นเกาะแต่ลังกาวีมีผืนป่าที่เป็นต้นกำเนิดน้ำตกหลายแห่ง น้ำตกเทลากาทูจุห์ (Telega Tujuh Waterfall) แปลว่า 7 บ่อ ซึ่งธารน้ำที่ไหลผ่านหน้าผาหินเกิดจากบ่อน้ำเจ็ดบ่อในผืนป่านั่นเอง และน้ำตกทุเรียน (Durian Perangin Waterfall)


• หมู่บ้านออเรียนทัล (Oriental Village) ซึ่งเป็นแหล่งช้อปปิ้ง ร้านอาหาร ลานแสดงวัฒนธรรมและเป็นสถานีลังกาวีเคเบิลคาร์ (Langkawi Cable Car) โดยจะไต่ระดับความสูงไปสู่ยอดเขาแมชินซาง (Machincang) ที่ความสูง 708 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลสามารถมองไกลไปถึงฝั่งรัฐเกดะห์และภาคใต้ของไทยด้วย


• สุสานพระนางมัสสุหรี (Makam Mahsuri) หรือสุสานพระนางเลือดขาว สถานที่ฝังศพของพระนางมัสสุหรี ผู้ถูกกล่าวหาว่านอกใจสามีจนถูกประหารชีวิตด้วยกริชเมื่อราวสองร้อยปีก่อน ก่อนตายเธอได้สาปแช่งว่า หากเธอมิได้กระทำความผิดขอให้เลือดของเธอเป็นสีขาวและลังกาวะจะต้องตกอยู่ ใต้คำสาปแช่งนี้เจ็ดชั่วคน ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าเลือดของเธอมีสีขาวดังคำสาปทำให้ผู้คนเรียกขานเธอว่า “พระนางเลือดขาว” และนอกจากนี้สุสานพระนางมัสสุหรี ยังเป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมของมาเลเซีย เรือนไม้จำลองตามแบบบ้านเรือนของพระนางมัสสุหรี และมีการแสดงนาฏศิลป์อีกด้วย
• แกลเลอเรียเปอร์ดานา (Galeria Perdana) คือพิพิธภัณฑ์แสดงของที่ระลึกจากทั่วโลก ซึ่งของที่ระลึกเหล่านี้ได้มาจากผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่มอบให้แด่นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย
• ลังกาวีคราฟต์คอมเพล็กซ์ (Langkawi Craft Complex) ศูนย์การจัดแสดงงานหัตถกรรมพร้อมการสาธิต เช่น ผ้าทอ ผ้าบาติก ชุดประจำชาติ เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา และขนมพื้นเมืองต่าง ๆ


• ลังกาวียังมีสถานที่น่าสนใจอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น เทอลากาไอเยอร์ฮังกัต (Telaga Air Hangat) ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อนที่มีความแปลกเพราะน้ำร้อนนี้เป็นน้ำทะเล หรือสวนสัตว์ต่าง ๆ นอกจาก Underwater World แล้วยังมีสถานที่แสดงสัตว์อีกหลายแห่ง เช่น Wildlife Park, Buffalo Park, Langkawi Crocodile Farm หรือการนั่งช้างชมป่า ที่ Langkawi Elephant Adventures
                          
ข้อมูลท่องเที่ยวปีนัง (Penang)
เกาะปีนัง หรือ ที่ชาวไทยเมื่อร้อยกว่าปีก่อนคุ้นเคยในชื่อเกาะหมาก เป็นส่วนหนึ่งของเมืองไทรบุรี ซึ่งรัฐบาลไทยถือว่าเป็นหัวเมืองมลายูที่ขึ้นต่อสยามประเทศ แต่ภายหลังเมื่อการล่าเมืองขึ้นขยายตัวมายังภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ไทยจึงต้องเสียดินแดนทางภาคใต้แก่อังกฤษ อันประกอบด้วย 4 เมือง คือ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี (รัฐเกดะห์ในปัจจุบัน) อังกฤษเข้าครอบครองปีนังเนื่องากรัฐบาลอังกฤษมีนโยบายขยายอิทธิพลในภูมิภาค นี้ ในปี พ.ศ. 2329 ชาวอังกฤษนามว่าฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) แห่งบริษัทอินเดียตะวันออกเล็งเห็นความโดดเด่นในการพัฒนาเพื่อเป็นเมืองท่า เรือจึงเจรจากับสุลต่านแห่งรัฐเกดะห์ เพื่อขอเกาะปีนังโดยแลกกับการคุ้มครองด้วยกองกำลังทหารอังกฤษเพื่อแยกรัฐเก ดะห์ (หรือไทรบุรี) จากการปกครองของสยามประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นแหงการเสียดินแดนของไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์แห่งรัฐปีนัง ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของรัฐปีนัง แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ เกาะปีนังซึ่งเป็นท่าเรือ กับฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท บนแผ่นดินใหญ่ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมและศูนย์กลางการคมนาคมของรัฐ การเดินทางระหว่างเกาะปีนังกับบัตเตอร์เวิร์ทมีสองทางคือ เรือข้ามฟาก และรถยนต์โดยใช้สะพานปีนัง ซึ่งมีความยาว 13.5 กิโลเมตร นับเป็นสะพานที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


• เมืองจอร์จทาวน์ (Georgetown) เมืองแรกของเกาะปีนังที่ได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือ มีสิ่งก่อสร้างยุคอาณานิคมมากาย เมืองจอร์จทาวน์นี้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษและสถานที่สำคัญในเมืองจอร์จทาวน์ เช่น


• ป้อมฟอร์ตคอร์นวอลลิส (Port Cornwallis) สถานที่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปีนัง เพราะเป็นสถานที่ซึ่งฟรานซิส ไลต์ ยกพลขึ้นบกและพัฒนาปีนังจนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญต่อมา


• Town Hall & City Hall ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางการปกครองในปีนัง สร้างขึ้นสมัยที่ปีนังยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2423 รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบบริติชเอ็มไพร์ (British Empire)


• พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ปีนัง (Penang Museum and Art Gallery) เป็นอาคารจัดแสดงภาพวาดและภาพถ่าย และจำลองวิถีชีวิตของชาวปีนังในอดีต


• คฤหาสน์เฉิงฟัตเต๋อ (Cheong Fatt Tze Mansion) คฤหาสน์เก่าแก่หลังงามอายุร่วมร้อยปีของคหบดีชาวจีนนาม “เฉิงฟัตเต๋อ” สีฟ้าสดใสจนได้รับฉายาว่า Blue Mansion ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับล้ำค่าต่าง ๆ


• วัดเจ้าแม่กวนอิม (Goddess of Mercy Temple) วัดจีนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าแม่กวนอิมองค์สีทองประดิษฐานอยู่ภายใน ทุกวันจะมีชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนเข้ามาที่วัดเพื่อนมัสการเจ้าแม่กวนอิมเป็นจำนวนมาก ฝั่งตรงข้ามของวัดนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวอินเดีย (Little India) มีวัดศรีมหามาเรียมมัน (Sri Mahamariamman Temple) ศาสนสถานของชาวฮินดูเป็นจุดศูนย์กลางด้วย


• มัสยิดกัปปิตันเคอลิง (Kapitan Kelling Mosque) สร้างขึ้นโดยกัปตันเคอลิง พ่อค้าชาวอินเดียด้วยศิลปแบบมัวร์มีโดมขนาดใหญ่ดูโดดเด่นอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของมัสยิด

นอกจากนี้ยังมีมัสยิด Acheen Stree Malay หรือที่ชาวปีนังเรียกติดปากว่า มัสยิดมลายู (Masjid Melayu) และวัดจีนอีกสองแห่ง คือ คูกงสี (Khoo Kongsi Temple) และหันเจียง (Han Jiang Ancestral Temple) บนถนนเลียบชายฝั่งทะเล ถนนเปงกลันเวลด์ (Pengkalan Weld) ซึ่งสองฝั่งถนนเต็มไปด้วยอาคารในยุคล่าอาณานิคมหลายแห่ง และยังเป็นที่ตั้งของท่าเรือข้ามฟากไปยังบัตเตอร์เวิร์ทและท่าเรือไปยังเกาะลังกาวีอีกด้วย และสุดถนนเป็นวงเวียนที่ตั้งหอนาฬิกาควีนวิคตอเรีย (Queen Victoria Memorial Clock Tower ซึ่งเป็นหอนาฬิกาสูง 60 ฟุต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 เพื่อระลึกถึงวาระครบรอบเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษาของพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษ ปัจจุบันในย่านจอร์จทาวน์มีศูนย์กลางเมืองแห่งใหม่นามว่า Komtar เป็นอาคารที่สูงที่สุดในปีนัง สูง 232 เมตร 65 ชั้นย่อมาจาก Komplex Tun Abdul Razak ตามชื่อของนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย ภายในมีห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร และหอประชุม โดยที่ชั้นที่ 55 เปิดเป็นจุดชมวิวของเมืองจอร์จทาวน์ซึ่งสามารถมองไปถึงฝั่งบัตเตอร์เวิร์ท


• ปีนังฮิลล์ (Penang Hill) เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของเกาะปีนัง สามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์บนยอดเขาด้วยการขึ้นรถรางที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ไปชมวิวของเกาะปีนังที่ความสูงถึง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล


• วัดศรีรุทราวีรามุทูมหามาเรียมมัน (Sri Rutha Veeramuthu Maha Mariamman Devasthanam) เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่งดงามยิ่งด้วยรูปปั้นเหล่าทวยเทพที่มีสีสันสดใสและลวดลายแกะสลักที่สวยงาม


• วัดเค้กลกซี (Kek Lok Si) เป็นวัดจีนในพุทธศาสนานิกายมหายานตั้งอยู่บนเขาไอเยอร์อิตาม (Air Itam) สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือเจดีย์สีทองแปดเหลี่ยมบนยอดเขา ซึ่งโดยรอบองค์เจดีย์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักมากกว่า 10,000 องค์

ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐมะละกา
• มะละกา เป็นเมืองหลวงของรัฐมะละกา 1 ใน 13 รัฐ ของประเทศมาเลเซีย เราคงเคยได้ยินชื่อช่องแคบมะละกาบ่อยๆ โดยช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย ส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้าง 1.5 ไมล์ เป็นยุทธศาสตร์ทางการเดินเรือที่สำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


• รัฐมะละกา เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุข แต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามาก ว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัชต์และมาเลย์ ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ในปี 2008


• รัฐมะละกา (Melaka) ชาว มาเลย์ทุกคนถือว่ารัฐนี้เป็นจุดเริ่มต้นของประเทศ เพราะเป็นทั้งจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์และเป็นสถานที่ประกาศเอกราชจากการ ปกครองของอังกฤษ มะละกาได้รับการก่อร่างสร้างเมืองโดยเจ้าชายปรเมศวร (Prine Parameswara) ที่ลี้ภัยมาจากชวาใน พ.ศ. 1939 เมืองนี้เจริญขึ้นเมื่อมีการค้าขายทางทะเลด้วยตำแหน่งของเมืองที่ตั้งอยู่ใน ช่องแคบระหว่างเกาะสุมาตราและแหลมมลายู ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าช่องแคบมะละกา เป็นเส้นทางเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียไปทะเลจีนใต้ทำให้มะละกาสามารถเจริญ สัมพันธไมตรีกับชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะจีน และยังการค้าทางทะเลนี้ยังเป็นการนำพาพ่อค้าชาวอาหรับมาที่นี่มิใช่แค่เพื่อ การค้า แต่เป็นการมาเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลามอีกด้วยจนกระทั่งพระราชาผู้ปกครอง มะละกาทรงเปลี่ยนพระยศเป็นสุลต่าน และรับเอาศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติจนปัจจุบัน ความเจริญรุ่งเรืองทำให้มะละกาเป็นที่หมายปองของชาติตะวันตกเพื่อควบคุมเส้น ทางเดินเรือในภูมิภาคนี้


สถานที่ท่องเที่ยวมะละกา
มะละกา บนเส้นทางการท่องเที่ยว
• ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ทำให้เมืองมะละกากลายเป็นเมืองท่าริมทะเลที่เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางทาง เศรษฐกิจที่สำคัญ เป็นเส้นทางเดินเรือค้าขายระหว่างชาติตะวันตกและตะวันออก สินค้าสำคัญก็มีทั้ง เครื่องเทศ ผ้าไหม ชา ฝิ่น ยาสูบ ทองคำ ฯลฯ มะละกาจึงเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจจากบรรดานักล่าอาณานิคมชาวตะวันตก โดยโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามายึดครองมะละกาใน ค.ศ.1511-1641 ก่อนที่จะถูกดัตช์ (ฮอลแลนด์) เข้ามาครอบครองต่อใน ค.ศ.1641-1795 จากนั้นเปลี่ยนมือผู้ปกครองมาเป็นอังกฤษใน ค.ศ.1795-1941 และญี่ปุ่นเข้ามายึดครองในช่วงสั้นๆ ระหว่าง ค.ศ.1941-1945 ก่อนจะกลับไปอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษอีกครั้ง ใน ค.ศ.1945-1957 และท้ายที่สุด มาเลเซียได้ประกาศอิสรภาพใน ค.ศ. 1957 ซึ่งมะละกาคือสถานที่ประกาศเอกราช โดยปัจจุบันตึกอนุสรณ์ประกาศอิสรภาพยังคงตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในย่านท่อง เที่ยวสำคัญของเมืองนี้


• การตกอยู่ใต้อาณัติของชาติตะวันตกเป็นเวลานานทำให้มะละกามีลักษณะของ สถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัชต์และมาเลย์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ


• สำหรับการท่องเที่ยวในเมืองเก่ามะละกา จุดเริ่มต้นจาก “เรด สแควร์” (Red Square) หรือจัตุรัสแดง หรือที่หลายๆ คนเรียกว่า จัตุรัสดัตช์ เนื่องจากที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางชุมชนดัตช์ในสมัยที่เข้ามาปกครองมลายู อาคารต่างๆ ที่ล้อมรอบจัตุรัสเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ใจกลางจตุรัสเป็นลานน้ำพุแบบอังกฤษที่สร้างถวายแด่พระราชินีวิคตอเรียใน ค.ศ.1904 ส่วนรอบๆ ลานน้ำพุคือหอนาฬิกา โบสถ์คริสต์ (Christ Church) ศิลปกรรมดัตช์ประยุกต์ ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1753 และอาคารสตัดธิวท์ (Stadhuys) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1650 เป็นอาคารดัตช์เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย ปัจจุบันอาคารสตัดธิวท์กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดีของมะละกา อาคารทั้งสามต่างทาด้วยสีแดงเข้ม จนกลายเป็นชื่อเรียกจัตุรัสแดงนั่นเอง


• จากจัตุรัสแดงก็ไปเที่ยว ป้อม A’Famosa ป้อมปืนที่โปรตุเกสสร้างขึ้นใน ค.ศ.1511 ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงป้อมเดียว ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของมะละกาที่มีนักท่องเที่ยวไปเยือนกัน ป้อมแห่งนี้ตั้งที่อยู่เชิงเขาเล็กๆ ซึ่งบนยอดเขาเป็นที่ตั้งของโบสถ์เซนต์ปอล (St.Paul) ที่สร้างขึ้นใน ค.ศ.1753 ด้านหน้าโบสถ์มีรูปปั้นของนักบุญ Francis Xavier ตั้งอยู่ สำหรับการเดินขึ้นไปยังโบสถ์เซนต์ปอลนั้นมีสองเส้นทาง คือขึ้นจากทางป้อม A’Famosa หรือจะเลือกขึ้นทางอาคารสตัดธิวท์ก็ได้ และหากขึ้นทางนี้ก็จะได้ชมต้นมะละกาหรือต้นมะขามป้อม และยังสามารถชมทิวทัศน์ของช่องแคบมะละกาไกลๆ ได้ด้วย


• นอกจากป้อมเก่าแก่แล้ว ยังมี ตึกอนุสรณ์ประกาศอิสรภาพ ที่ภายในจัดเก็บข้อมูลเหตุการณ์การประกาศอิสรภาพของชาวมาเลเซีย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม เมืองเก่ามะละกานี้มีพิพิธภัณฑ์อยู่เยอะมาก นั่นเพราะมะละกาถือเป็นต้นทางประวัติศาสตร์ของมาเลเซียที่เต็มไปด้วยร่องรอย ทางประวัติศาสตร์ระหว่างชาติตะวันตกยุคล่าอาณานิคม


• การเที่ยวชมมะละกา สามารถ เดินท่องเที่ยวได้เพราะสถานที่เที่ยวแต่ละที่อยู่ไม่ไกลนัก แต่ถ้าหากอยากได้สีสันที่มาพร้อมความประทับใจสามารถใช้บริการสามล้อถีบซึ่ง แต่ละคันตกแต่งประดับประดาไม่ซ้ำกันเลยสักคัน จุดรวมของสามล้อจะอยู่บริเวณหน้าจัตุรัสดัชต์ (Dutch Square)

• โบสถ์คริสต์มะละกา (Christ Church Melaka) โบสถ์สีแดงในคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2284 เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบตอบ 100 ปีที่ชาวดัตช์ปกครองมะละกาใช้เวลาในการสร้าง 12 ปี แต่ภายหลังเมื่ออังกฤษเข้าปกครองได้เปลี่ยนเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันและมี การนำเครื่องวัดทิศทางลมรูปไก่ (Weathercock) มาติดไว้เหนือระฆังบนยอดโบสถ์ และมีการสร้างน้ำพุหินอ่อนและหอนาฬิกาด้านหน้าเพิ่มเติม ปัจจุบันยังคงเป็นโบสถ์ของชาวคริสต์เช่นเดิม นักท่องเที่ยวและผู้นับถือศาสนาอื่นสามารถเข้าชมได้ แต่ห้ามถ่ายรูป


• พิพิธภัณฑ์มะละกา (Cultural Museum) อยู่บนเนินเขาหน้าโบสถ์ดัตช์ โดยดัดแปลงจากศูนย์กลางการปกครองของชาวดัตช์ภายในจัดแสดงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์ตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายปรเมศวรทรงก่อตั้งมะละกา ตลอดจนช่วงที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวยุโรปหลายชาติ มีการจัดแสดงวัตถุโบราณ เช่น เครื่องปั้นดินเผา กริช เหรียญกษาปณ์ เครื่องแต่งกายของสุลต่าน และภาพถ่ายในอดีต


• โบสถ์เซนต์ปอลต์ (St. Paul’s Chruch) ตั้งอยู่บนเนินเขาเซนต์ปอล สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2064 ปัจจุบันเหลือเพียงผนังสี่ด้านไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้คน รุ่นหลังได้เรียนรู้เท่านั้น ในยุคที่โปรตุเกสปกครองมะละกา โบสถ์แห่งนี้ชื่อว่า Nosa Senhora แต่เปลี่ยนเป็น St. Paul เมื่อชาวดัตช์เข้ามาปกครอง ด้านหน้ามีรูปปั้นนักบุญฟรานซิส เซเวียร์ (St. Francis Xavier) ผู้มีชื่อเสียงด้านการเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิคและมาเผยแผ่ศาสนา ที่มะละกาถึง 4 ครั้งจนกระทั่งเสียชีวิตศพของนักบุญฟรานซิสจึงได้รับการฝังไว้ที่หน้าโบสถ์ แห่งนี้ก่อนจะนำส่งต่อไปยังประเทศอินเดีย


• ป้อมประตูซานติเอโก (Porta De Santiago) อยู่บริเวณเชิงเขาเซนต์ปอล สร้างขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 เป็นส่วนที่ยังหลงเหลือของป้อมเอฟาโมซาที่ถูกทำลายลงในระหว่างสงครามแย่งชิง มะละกาของโปรตุเกสและฮอลันดา จนเมื่อชาวดัตช์ได้เข้าปกครองมะละกา ป้อมเอฟาโมซาได้รับการบูรณะอีกครั้ง แต่ถูกทำลายอีกครั้งด้วยกองทัพเรืออังกฤษ คงเหลือไว้เพียงป้อมประตูซานติเอโกเท่านั้น


• ตึกอนุสรณ์การประกาศเอกราช (Proclamation of Independence Memorial) อยู่ตรงข้ามกับป้อมประตูซานติเอโก สร้างขึ้นในสมัยที่อังกฤษเข้าปกครองมะละกาตามแบบสถาปัตยกรรมวิคตอเรียแต่ยัง คงมีสัญลักษณ์ของอิสลามด้วยยอดโดมคู่สีทอง ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่ถูกปกครองโดยชาติ ตะวันตก และเหตุการณ์วันประกาศอิสรภาพในวันที่ 31 สิงหาคม 2500 


• วังสุลต่านแห่งมะละกา (Melaka Sultanate Palace หรือ Istana Kesultanan Melaka) อยู่บริเวณด้านหลังตึกอนุสรณ์การประกาศเอกราชสร้างขึ้นแทนของเดิมที่ถูกไฟ ไหม้ โดยสร้างจำลองจากวังสุลต่านในสมัยก่อนถูกโปรตุเกสเข้ายึดครอง ภายในจัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้านการเดินเรือสมัยถูกปกครองด้วย ชาติตะวันตก พร้อมทั้งเรื่องราววิถีชีวิต การแต่งกาย การละเล่นต่าง ๆ


• พิพิธภัณฑ์อิสลาม (Islamic Museum) อาคารสีแดง แต่เดิมเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดในมะละกา ภายในจัดแสดงเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซีย


• ถนนยองเกอร์ (Jonker Street) ซึ่งเป็นถนนคนเดินจำหน่ายอาหารและของที่ระลึกมากมาย บริเวณนี้เต็มไปด้วยโบราณสถานและศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่งผสมผสานกันระหว่าง จีน ฮินดู และมุสลิม


• พิพิธภัณฑ์บาบาโนนยา (Baba Nyonya Heritage Museum) สร้างด้วยสถาปัตยกรรมตามแบบชิโน – โปรตุกีสเป็นห้องแถวของคหบดีชาวจีน ชานเชงชิว (Chan Cheng Siew) ภายในจัดแสดงเป็นห้อง ๆ เช่นห้องนอน ห้องนั่งเล่น เครื่องประดับบ้าน สัตว์มงคลตามความเชื่อของชาวจีน คำว่า Baba หมายถึง ผู้ชาย ส่วน Nyonya หมายถึง ผู้หญิง รวมกันจะหมายถึง ลูกหลานที่เกิดจากชาวจีนที่มาตั้งรกรากในแหลมมลายู


• มัสยิดกัมปุงคลิง (Kampung Kling Mosque) และมัสยิดกัมปุงฮูลู (Kampung Hulu Mosque) มัสยิดสองแห่งมีลักษณะคล้ายกัน มัสยิดกัมปุงฮูลู สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2271 มีความแตกต่างจากมัสยิดทั่วไปเพราะเป็นมัสยิดที่ไม่มียอดโดมแต่กลับสร้างแบบ มีหลังคาทรงพีระมิดตามแบบสถาปัตยกรรมชวา ภายในมีสระน้ำวุฎูอ์ ที่เป็นสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมใช้ชำระมือ ปาก จมูก ใบหน้า แขน ศีรษะ หู และเท้าก่อนทำละหมาด


• ศาลเจ้าเช็งฮุนเต็ง (Cheng Hoon Teng Temple) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2189 ในแต่ละวันจะมีชาวมาเลย์เชื้อสายจีนเป็นจำนวนมากเข้ามานมัสการเจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้ากวนอู และเหล่าเทพเจ้าในศาลเจ้าแห่งนี้ ปัจจุบันได้มีการก่อสร้างขยายไปอีกฟากฝั่งถนนเป็นศาลเจ้าหินอ่อนขนาดใหญ่สอง ชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาวที่อัญเชิญมาจากประเทศพม่า


• วัดศรีโพยาธาวินยากามูรติ (Sri Poyyatha Vinayaga Moorthy Temple) เป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2324 ภายในประดิษฐานพระพิฆเนศวร และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวฮินดูในมะละกา


• Bukit China หรือ เนินเขาของชาวจีน ลึกเข้าไปในเขตเมืองเก่ามะละกามีเนินเขาที่เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “เนินเขาซำปอกง” ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศาลเจ้าซำปอกง (Sam Po Kong Temple) คำว่าซำปอกงเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกแม่ทัพที่เดินทางมาทางเรือในยุคอดีต ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง “เจิ้งเหอ” แม่ทัพชาวจีนที่เดินทางมายังมะละกาตั้งแต่ยุคเจ้าชายปรเมศวร การเดินทางมาของแม่ทัพผู้นี้ก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างจีนและ มะละกา นำมาซึ่งความเจริญสู่มะละกาในเวลาต่อมา และข้าง ๆ ศาลเจ้าแห่งนี้ยังมีสถานที่อีกแห่งคือ Hang Li Poh’s Well บ่อน้ำโบราณ ในตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นบ่อน้ำที่เจ้าหญิง ฮัง ลี โปห์ ราชธิดาจากเมืองจีนเคยใช้ในคราวเดินทางมาอภิเษกสมรสกับสุลต่านแห่งมะละกา ซึ่งต่อมาเป็นกลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของมะละกา

นอกจากโบราณสถานและศาสนสถานแล้วมะละกายังมีสิ่งก่อสร้างยุคใหม่ที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ คือ Taming Sari Tower หอคอยสูง 110 เมตร ซึ่งสามารถขึ้นไปชมทิวทัศน์ของมะละกาได้ในแบบ 360 องศาและ Eye on Melaka ชิงช้าสวรรค์ ที่มีจำนวนกระเช้าถึง 42 ใบ และมีความสูง 60 เมตร


ข้อมูลท่องเที่ยวปุตราจายา (Putrajaya)
• ปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ เกิดขึ้นจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่จะสร้างเมืองเพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ราว 4,932 เฮกเตอร์ 


ส่วนประกอบสำคัญของเมืองได้แก่ทะเลสาบที่สร้างขึ้นโดยการขุด จึงทำให้เมืองปุตราจายามีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีสะพานที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพาน


• ปุตราจายา เป็นเขตปกครองพิเศษ สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่อยู่บนพื้นที่ของรัฐสลังงอร์ อยู่ห่างไปจากกัวลาลัมเปอร์ทางทิศใต้ 25 กิโลเมตร ชื่อ “ปุตราจายา” นี้มาจากชื่อนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย นามว่า “ตนกู อับดุล รามัน ปุตรา อัลฮัจ”


• Putrajaya Sentral เขตเมืองใหม่แห่งนี้มีศูนย์กลางการคมนาคม คล้ายกับ KL Sentral ในกัวลาลัมเปอร์นั่นเอง

สถานที่สำคัญในเมืองนี้มี มัสยิดปุตรา (Putra Mosque) หรือมัสยิดสีชมพู มีทะเลสาบด้านข้างมัสยิดซึ่งสามารถมองเห็นเงาสะท้อนสีชมพูที่ผิวน้ำจนดูเหมือนมัสยิดลอยน้ำ และที่ริมทะเลสาบยังมีสะพานเสรีวาวาซาน (Seri Wawasan) สะพานขึงรูปร่างแปลกตาอีกด้วย ด้านหน้าของมัสยิดปุตรา คือ ปุตราสแควร์ (Putra Square) ลานกว้างแห่งนี้มีรูปดาว 13 แฉก หมายถึงรัฐทั้ง 13 ของมาเลเซีย มีธงของแต่ละรัฐตั้งอยู่ตามแฉกต่าง ๆ ตรงกลางเป็นธงชาติมาเลเซีย และสถานที่อีกแห่งคือ ที่ทำการนายกรัฐมนตรี (Perdana Putra Complex) เป็นอาคารขนาดใหญ่มียอดโดมสีฟ้า ด้านหลังมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ตรงกลางสวนเป็นที่ตั้งของวังเมลาวาตี (Istana Melawati)

ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐกลันตัน (Kelantan)
• กลันตัน เป็นรัฐที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดทางด้านตะวันออกของมาเลเซีย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนราธิวาสมีเมืองหลวงชื่อ โกตาบารู (Kot Bharu) มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำกลันตัน และเป็นรัฐที่มีความอนุรักษ์นิยมมากที่สุดในประเทศ จึงมากไปด้วยพิพิธภัณฑ์ที่ดัดแปลงมาจากวังของสุลต่าน ในอดีตยังเคยเป็นหนึ่งในหัวเมืองมลายูที่ไทยเคยปกครองดังนั้นวิถีชีวิตและ อาหารการกินจึงคล้ายคลึงกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ศูนย์กลางของเมืองโกตาบารูอยู่ที่จัตุรัสเมอร์เดกา ซึ่งลักษณะในการสร้างและจุดประสงค์ในการสร้างเหมือนกับที่กัวลาลัมเปอร์คือ เป็นสัญลักษณ์แห่งการประกาศอิสรภาพนั่นเอง


• พิพิธภัณฑ์ในโกตาบารู เดิมเป็นวังของสุลต่านแห่งกลันตัน จนถึงปี พ.ศ. 2534 ได้รับการปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในจัดแสดงเป็นห้อง ๆ เช่น ห้องเสวยพระกระยาหาร ห้องบรรทม โดยจัดแสดงเครื่องใช้ต่าง ๆ ขององค์สุลต่านและครอบครัวไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องเงิน เครื่องคริสตัลที่งดงาม และมีรูปถ่ายประวัติศาสตร์เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเยือน กลันตันในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 โดยสุลต่านมุฮัมมัดที่ 4 เฝ้ารับเสด็จ


• พิพิธภัณฑ์พระราชวังจาฮาร์ (Istana Jahar) สร้างโดยสุลต่านมูฮัมมัดที่ 2 เพื่อเป็นของขวัญแด่องค์รัชทายาทซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสุตล่านมูฮัมมัดที่ 3 และยังเป็นที่ประทับต่อ ๆ มาของสุลต่านอีกหลายพระองค์ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 จึงได้รับการดัดแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์โดยจัดแสดงเป็นห้อง ๆ ตามราชประเพณี และด้านหลังยังมีอาคารแสดงอาวุธโบราณโดยเฉพาะกริชที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมาเลย์อีกด้วย และใกล้ ๆ กันนี้ยังมีสถานที่น่าสนใจ คือ มัสยิสมูฮัมมาดีซึ่งถือเป็นมัสยิดกลางของรัฐกลันตัน

• พิพิธภัณฑ์สงคราม (War Museum) เดิมอาคารนี้เป็นที่ทำการธนาคารพาณิชย์แห่งอินเดีย สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2455 ปัจจุบันเป็นสถานที่จัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง


• พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐ (Kelantan State Museum) เดิมเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองโกตาบารู ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2533 ได้ทำการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปะและประวัติศาสตร์ของรัฐกลันตัน


• นอกจากนี้ในรัฐกลันตันยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นผืนป่า น้ำตก หรือชายหาดทางฝั่งตะวันออก และในเมือตุมปัตซึ่งอยู่ทางเหนือสุดและติดกับชายแดนไทย มีวัดไทยอีกหลายแห่งที่เป็นศูนย์กลางความศรัทธาของชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย เช่น วัดโพธิวิหาร วัดมัชฌิมาราม และวัดใหม่สุวรรณคีรี

ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐตรังกานู
เมืองกัวลาตรังกานู (Kuala Trengganu) เป็นเมืองหลวงของรัฐตรังกานู อยู่บริเวณปากแม่น้ำตรังกานูเมืองนี้มีขนาดไม่ใหญ่นักสามารถเดินเที่ยวชม เมืองได้ เริ่มจาก (Water Front) ท่าเรือริมแม่น้ำตรังกานู ซึ่งบริเวณนี้เป็นปากแม่น้ำที่แผ่กว้าง อีกฟากของแม่น้ำคือ มัสยิดคริสตัล (Crystal Mosque) เป็นมัสยิสที่สร้างขึ้นใหม่ด้วยโครงเหล็กและประดับประดาด้วยกระจกอย่างสวย งาม เมื่อเดินเลียบไปตามแม่น้ำจะพบย่านไชน่าทาวน์ที่เรียงรายไปด้วยบ้านเรือนที่ สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส มีอาหารจีนอร่อย ๆ มากมาย เมื่อพ้นจากย่านไชน่าทาวน์จะเป็นย่ายเซนทรัลมาร์เก็ต (Central Market) สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในย่านนี้คือมัสยิดอบิดีน (Abidin Mosque) มัสยิสสีขาวสะอาดตาจนชาวเมืองเรียกติดปากว่า “มัสยิดสีขาว”


• เขาพูเทอรี (Bukit Puteri) เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ บริเวณปากแม่น้ำตั้งอยู่ริมทะเล บนยอดเขาเป็นที่ตั้งของป้อมปราการที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2374 เพื่อป้องกันตัวเมืองตรังกานูจากการโจมตีทางทะเลจึงมีปืนใหญ่จำนวนมากตั้งอยู่บนนี้ เมื่อลงจากเขาพูเทอรีจะพบกันสวนอิสตานามาเซียห์ (Istana Maziah) สวนสไตล์มาเลย์ที่เต็มไปด้วยดอกไม้นานาพันธุ์

• ถนนสุลต่านไซนัลอบิดิน (Jalan Sultan Zainal Abidin) เป็นถนนที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งสุดปลายของถนนเส้นนี้คือหาด พริมูลา (Primula Beach) ก่อนถึงปากทางเข้าหาดมีมัสยิดมุกตาฟีบิลลาห์ชาห์ (Musjid Al Muktafi Billah Shah)

• เต็งกูเต็งงะห์ซาฮาราห์ (Tengku Tengah Zaharah Mosque) หรือมัสยิดลอยน้ำมัสยิดสีขาวที่ตั้งอยู่บนเกาะที่รอบล้อมด้วยน้ำใสสะอาดจนเกิดเงาสะท้อนที่งดงาม

• ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐปะหัง (Pahang)

• ปะหัง เป็นรัฐในแหลมมลายูที่มีพื้นที่มากที่สุด มีเมืองกวนตัน (Kuantan) เป็นเมืองหลวงแห่งรัฐอยู่ติดทะเลบนดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำกวนตัน

• มัสยิดสุลต่านอะห์หมัดที่ 1 เป็นอาคารสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้นส่วนบนสุดคือโดมสีฟ้าขนาดใหญ่ ล้อมรอบด้วยหอคอยยอดแหลม 4 ด้านสามารถจุคนได้ถึง 10,000 คน

• พิพิธภัณฑ์รัฐปะหัง (Museum Tokho Negeri Pahang) ภายในเป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่และวิถีชีวิตของชาวปะหัง

• สวนเกอโลรา (Taman Gelora) เป็นสวนสาธารณะริมทะเล มีแนวสวนสนที่ร่มรื่น อยู่ห่างจากปากแม่น้ำกวนตันไปประมาณ 2 กิโลเมตร

• คาเมรอนไฮแลนด์ (Cameron Highlands) ดินแดนที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,524 เมตร มียอดสูงสุดที่มีความสูงถึง 2,032 เมตร คือ Gunung Brinchang ทำให้มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี พื้นที่นี้จึงเหมาะแก่การเพาะปลูพืชเมืองหนาว ไม่ว่าจะเป็นไร่ชา หรือสตรอว์เบอร์รี่


ข้อมูลท่องเที่ยวรัฐยะโฮร์ (Johor)
• รัฐยะโฮร์นี้เกิดขึ้นเมื่อเมืองมะละกาถูกครอบครองโดยโปรตุเกส สุลต่านมาห์มุดซาห์แห่งมะละกาจึงถอยร่นมายังพื้นที่ตอนใต้ของแหลมมลายูใน พ.ศ. 2054 และก่อตั้งเป็นอาณาจักรยะโฮร์แต่ภายหลังตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษจนกระทั่ง อังกฤษคืนเอกราชแก่รัฐต่าง ๆ ในมลายูเมื่อพ.ศ. 2500 ยะโฮร์จึงเข้าร่วมกับรัฐอื่น ๆ เป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีเมืองหลวงแห่งรัฐชื่อ ยะโฮบาห์รู (Johor Bahru) ที่สุดปลายแหลมมลายู เดิมมีเมืองชื่อว่า เมืองบันดาร์ตันจุงพูเทอรี (Bandar Tanjung Puteri) ซึ่งสุลต่านเตเมงกอง อิบราฮิมได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2420 และสร้างวังสุลต่านอิบราฮิม (Bangunan Sultan Ibrahim) ซึ่งมีลักษณะคล้ายป้อมปราการบนเนินเขา และอนุญาตให้นักท่องเที่ยวชมได้จากภายนอกเท่านั้น


• มัสยิดสุลต่านอบู บาการ์ (Masjid Sultan Abu Bakar) ตั้งอยู่บนเนินเขาช่องแคบยะโฮร์ ที่เป็นช่องแคบระหว่างยะโฮร์กับเกาะสิงคโปร์จึงสามารถมองเห็นเกาะสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามได้อย่างชัดเจน และใกล้ ๆ กับมัสยิดแห่งนี้มีพิพิธภัณฑ์รอยัลอบูบาการ์ (Royal Abu Bakar) และสวนสัตว์ให้เข้าชม


• ดาตารันบานดารายา (Dataran Bandaraya) สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสถาปนาเมืองยะโฮร์บาห์รูเป็นเมืองหลวง และที่ใกล้ ๆ กันกับดาตารันบานดารายา คือ หาดลิโด้ (Lido Beach) ชายหาดที่งดงามที่สุดของแหลมมลายู

พื้นที่ใต้สุดของแหลมมลายูนี้มีช่องแคบยะโฮร์คั่นกลางระหว่างแหลมกับเกาะสิงคโปร์ ฉะนั้นเมื่อต้องการไปสิงคโปร์สามารถไปได้สะดวกโดยรถประจำทางและรถไฟซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น




No comments:

Post a Comment