Saturday, March 28, 2015

ท่องเที่ยวทาจิกิสถาน (Tajikistan)

คู่มือการท่องเที่ยวทาจิกิสถาน (Tajikistan)
ทาจิกิสถาน (Tajikistan) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

ประวัติศาสตร์
ทาจิกิสถานหลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ทา จิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปีค.ศ. 1990 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่ม Neo-communist และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิ กิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี 1997 จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmonov กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)

การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐ ทาจิกิสถานได้รับเอกราชภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ 9 กันยายน 2534 ก่อนได้รับเอกราชในปี 2533 การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากนโยบายเปิดกว้าง (Glasnost) และปฏิรูป (Perestroika) ของนาย มิคาเอล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) อดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านคอมมิวนิสต์ และเกิดขบวนการชาตินิยมในทาจิกิสถานเช่นเดียวกับในรัฐอื่นๆ ของสหภาพโซเวียต ส่งผลให้เกิดการจลาจลในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เนื่องจากมีข่าวลือว่าผู้อพยพชาวอาร์เมเนียจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองหลวง ของทาจิกิสถาน (ดูชานเบ) และต่อมาในปี 2535 นาย Rahmom Nabiyev ประธานาธิบดีทาจิกิสถานซึ่งเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ถูกบังคับโดยกลุ่มผู้เดิน ขบวนประท้วงให้ยอมรับรัฐบาลผสมที่เกิดจากการรวมกลุ่มอิสลามและกลุ่ม ประชาธิปไตย สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเมื่อกลุ่มกองกำลังติดอาวุธของประธานาธิบดี Nabiyev ผลักดันให้กลุ่มอิสลามและกลุ่มประชาธิปไตยถอนตัวออกจากรัฐบาลผสม และก่อตั้งกลุ่ม Neo-communist ขึ้น ในปี 2537 ประธานาธิบดี Nabiyev ได้ลาออกจากตำแหน่ง นาย Emomali Rahmon ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาในขณะนั้น จึงได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลโดยปริยาย ในขณะเดียวกับที่ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลนำโดยพรรค Islamic Rebirth Party (IRP) ได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิ กิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี

นานาชาติ ได้พยายามแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของทาจิกิสถาน โดยเฉพาะรัสเซียและอิหร่าน ซึ่งได้มีส่วน ในการจัดการเจรจาระหว่างรัฐบาลทาจิกิสถานและกลุ่มต่อต้านให้มีการตกลงหยุด ยิงชั่วคราวในปี 2537 และได้ขอให้สหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา เลขาธิการสหประชาชาติจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะผู้สังเกตการณ์แห่งสห ประชาชาติ (the United Nation Mission of Observers in Tajikistan:UNMOT) เข้าดูแลกระบวนการสันติภาพ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเริ่มละเมิดข้อตกลงหยุดยิงและมีการสู้รบเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเริ่มรุกเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ

ใน ปี 2540 ด้วยความร่วมมือระหว่างอิหร่าน รัสเซีย และสหประชาชาติ สามารถโน้มน้าวให้ทั้งสองฝ่ายมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่าง ประธานาธิบดี Emomali Rahmon กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อความปรองดองแห่งชาติ ทำการดูแลการส่งผู้ลี้ภัยคืนถิ่น ตลอดจนการปลดอาวุธกลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ และเริ่มกระบวนการประชาธิปไตยเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างยุติธรรม

ใน ช่วงแรกภายหลังการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพ ข้อตกลงยังได้รับการปฏิบัติตามไม่มากนัก ยังมีการละเมิดข้อตกลงหยุดยิงจากทั้งสองฝ่ายอยู่เรื่อยๆ แต่รัฐบาลทาจิกิสถานได้เรียกร้องให้ UNMOT ตลอดจนประเทศ ผู้ค้ำประกันความตกลงฯ ให้เข้ามามีบทบาทในการยุติการใช้กำลังอาวุธของกลุ่ม UTO โดย UNMOT ได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพจำนวน 70 คน เข้าไปสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในทาจิกิสถาน และจัดให้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจนกระทั่งสามารถจัดให้มี การเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 ซึ่งประธานาธิบดี Rakhmon ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง หลังจากนั้นในเดือนมิถุนายน 2546 ได้มีการลงประชามติให้ประธานาธิบดี Rahmon สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก 2 สมัย (วาระ 7 ปี) ติดต่อ กันหลังจากหมดวาระในปี 2549 ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 ทาจิกิสถานได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยมีผู้สมัครจำนวน 5 คน ซึ่งผลเป็นไปตามความคาดหมายคือประธานาธิบดี Rahmon ได้รับชัยชนะและปกครองประเทศต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 อย่างไรก็ตาม พรรคการเมืองฝ่ายค้านที่สำคัญ 3 พรรค คือ Islamic Revival Party Democratic Party และ Social Democratic Party ไม่ส่งผู้สมัครเข้าแข่งขันและประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งโดยให้เหตุผลว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และพรรครัฐบาลจำกัดสิทธิพรรคการเมืองอื่นในการเข้าถึงสื่อทุกประเภท ในขณะที่องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ซึ่งส่งคณะผู้สังเกตการณ์ จำนวน 170 คน เพื่อติดตามการเลือกตั้งในทาจิกิสถานระบุว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีสัญญาณของการแข่งขันอย่างแท้จริง และขาดตัวเลือกทางการเมือง (lack of political alternatives)

 
ระบบการเมืองประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ

ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้บริเวณเอเชียกลางของอดีตสหภาพโซเวียต ระหว่างอุซเบกิสถานและจีน โดยร้อยละ 90 ของภูมิประเทศเป็นภูเขา

พื้นที่143,100 ตารางกิโลเมตร

ประชากร7 ล้านคน (2550) แบ่งเป็น ชาวทาจิก รัอยละ 79.9 ชาวอุซเบก ร้อยละ 15.3 ชาวรัสเซีย ร้อยละ 1.1 คีร์กีซ ร้อยละ 1.1 อื่นๆ ร้อยละ 2.6

เมืองหลวงดูชานเบ (Dushanbe) (ประชากร 6 แสนคน)

ภาษาราชการภาษาทาจิก มีการใช้ภาษารัสเซียกันอย่างแพร่หลายในภาครัฐและภาคเอกชน และประมาณ 1/4 ของประชากรใช้ภาษาอุซเบก

ศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ ร้อยละ 85 นิกายชีอะห์ ร้อยละ 5 อื่นๆ ร้อยละ 10

ภูมิอากาศภูเขาสูงแบบภาคพื้นทวีป (ฤดูหนาว อากาศหนาวจัด ฤดูร้อน อากาศร้อนจัด)

เวลาเร็วกว่ามาตรฐาน GMT 6 ชั่วโมง

สกุลเงินโซโมนิ (Somoni-TJS) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) = 3.2138 SM (กุมภาพันธ์ 2550)

วันชาติ9 กันยายน

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับทาจิกิสถาน
ปัจจุบัน จำนวนนักท่องเที่ยวชาวทาจิกิสถานเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีไม่ มากเท่าที่ควร (ในปี 2548 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 211 คน และปี 2549 จำนวน 252 คน) เนื่องจากความไม่สะดวกในการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศ ส่งผลให้ศักยภาพของตลาดการท่องเที่ยวอยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก







No comments:

Post a Comment