Thursday, March 26, 2015

ท่องเที่ยวอินเดีย (India)

คู่มือการท่องเที่ยวอินเดีย (India)
อินเดีย เป็นประเทศสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปี ที่สำคัญอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมาแต่ ครั้งโบราณกาล

ประเทศอินเดีย (India) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกติดบังกลาเทศ และมีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าไทยประมาณหกเท่า

เมื่อกล่าวถึงอินเดีย มิใช่เฉพาะประเทศในซีกโลกตะวันออกเท่านั้นที่รู้จักโดยทั่วกัน แม้แต่ประเทศในซีกโลกตะวันตก ต่างก็รู้จักดินแดนแห่งนี้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (356-323 B.C.) แห่งมาซิโดเนีย ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยยาตราทัพมายังดินแดนแถบนี้ โดยมุ่งหมายจะยึดครองอินเดียให้จงได้ ตามข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดี ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ภาคเหนือของอินเดียได้เคยมีการติดต่อกับอารยธรรมเมโสโปเตเมียในลุ่มแม่น้ำไท กริสและยูเฟรติสมาก่อนแล้ว

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป
อินเดีย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวดราวิเดียน (Dravidian) และชาวอารยัน (Aryan) ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอินเดีย โดยได้สร้างอารยธรรมอันเป็นพื้นฐานของอารยธรรมฮินดูที่มีความคงทนต่อเนื่อง มาจนถึงทุกวันนี้ เช่น ศาสนาฮินดู ภาษาสันสกฤต และระบบ ชั้นวรรณะ อารยธรรมอารยันหรือฮินดูรุ่งเรืองมาจนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่มีระยะหนึ่งที่อารยธรรมพุทธรุ่งเรืองในอินเดีย คือ ตั้งแต่พุทธกาลถึงราว 3 ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราชในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ต่อมาอารยธรรมอิส ลามได้เริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในอินเดียตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยพ่อค้ามุสลิมจากตะวันออกกลาง และจักรวรรดิอาหรับได้ส่งกองทัพมาโจมตีแคว้นซินด์ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) จักรวรรดิที่มีความยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น คือ จักรวรรดิโมกุล (คริสต์ศตวรรษที่ 16 -18) เป็นสมัยที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลวัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการปกครอง ภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และศาสนาอิสลาม อย่างไรก็ดี ในสมัยของพระเจ้า Aurangzeb ซึ่งเป็นผู้เคร่งศาสนาอิสลาม ได้ออกกฎหมายที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม และเป็นเหตุให้ชาวอินเดียต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิ เมื่อสิ้นอำนาจของพระเจ้า Aurangzeb ในปี 2250 จักรวรรดิโมกุลก็ค่อยๆ แตกแยกและเสื่อมลง เป็นโอกาสให้อังกฤษเข้ามามีอำนาจแทนที่ และอังกฤษเริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในอนุทวีปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อค้าขายพร้อม ๆ กับครอบครองดินแดนและแทรกแซงในการเมืองท้องถิ่น จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ในปี 2420 โดยมีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดิ นีแห่งอินเดีย หลังจากการรณรงค์ต่อสู้กับการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน ภายใต้การนำของมหาตมะ คานธี อินเดียจึงได้รับเอกราชและร่วมเป็นสมาชิกอยู่ภายใต้เครือจักรภพ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490 โดยยังมีพระมหากษัตริย์ของอังกฤษเป็นประมุข และทรงแต่งตั้งข้าหลวงใหญ่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม 2493 ได้มีการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดีย โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และนายเยาวหราล เนห์รู ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย

เมืองหลวงกรุงนิวเดลี (New Delhi)

เมืองสำคัญมุมไบเป็นศูนย์กลางทางการค้า การเงิน และการคมนาคม เป็นเมืองท่าสำคัญ และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ฮินดีที่ใหญ่ที่สุด
บังกาลอร์ เป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ การบิน และอวกาศ
เจนไนเป็นศูนย์กลางธุรกิจในภาคใต้ของอินเดีย อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมรถยนต์
กัลกัตตา เป็นเมืองหลวงเก่าของอินเดีย และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2

สภาพภูมิอากาศ
อินเดียมี 3 ฤดูกาลได้แก่
  • ฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายนอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม-มีนาคมอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10-17 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ - 3 องศาเซลเซียส เฉพาะบางเมืองเท่านั้น


เชื้อชาติอินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์และอื่นๆ ร้อยละ 3

ภาษาภาษา ฮินดีเป็นภาษาที่ใช้โดยประชาชนส่วนใหญ่ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในวงราชการและธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีภาษาท้องถิ่นอีกนับร้อยภาษา แต่ที่ใช้กันมากมี 14 ภาษา คือ อูรดู เตลูกู เบงกาลี ทมิฬ และปัญจาบี

ศาสนาฮินดู ร้อยละ 81.3 มุสลิมร้อยละ 12 คริสต์ร้อยละ 2.3 ซิกข์ร้อยละ 1.9 อื่น ๆ (พุทธ และเชน) ร้อยละ 2.5

วันสำคัญวันชาติ (Republic Day) วันที่ 26 มกราคม

วันเอกราช(Independence Day) วันที่ 15 สิงหาคม

การศึกษาอัตราการรู้หนังสือโดยเฉลี่ยร้อยละ 59.5 (ชาย ร้อยละ 70.2 หญิง ร้อยละ 48.3)

หน่วยเงินตรารูปี (Indian Rupee)
1,000 บาท เท่ากับ 1,500-1,900 รูปี (มกราคม 2557-2558)

ระบอบการเมืองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy)






No comments:

Post a Comment