Thursday, April 2, 2015

ท่องเที่ยวประเทศประเทศเยอรมนี

คู่มือท่องเที่ยวประเทศประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมนี หรือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นประเทศในทวีปยุโรป พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงคือเบอร์ลิน
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเยอรมนีได้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน เป็นประเทศเยอรมนีตะวันตกและประเทศเยอรมนีตะวันออก ก่อนจะกลับมารวมประเทศกันอีกครั้งในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533

เมืองหลวงกรุงเบอร์ลิน (ย้ายจากกรุงบอนน์เมื่อปี 2533)
ที่ตั้งตอนกลาง ของทวีปยุโรป ทิศเหนือจรดเดนมาร์ก ทิศใต้จรดสวิตเซอร์แลนด์และออสเตรีย ทิศตะวันออกจรดสาธารณรัฐเช็กและโปแลนด์ ทิศตะวันตกจรดเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก และฝรั่งเศส

พื้นที่357,023 ตารางกิโลเมตร

ประชากร82.4 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 8.9

ภูมิอากาศภูมิ อากาศในเยอรมนีมีหลายแบบ โดยบริเวณชายฝั่งจะมีอากาศอบอุ่นในฤดูร้อนและหนาวเย็นปานกลางในฤดูหนาว ในขณะที่บริเวณภาคพื้นทวีปมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและหนาวเย็นในฤดูหนาว

ภาษาราชการเยอรมัน

ศาสนานับถือ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ร้อยละ 34 นิกายโปรเตสแตนต์ ร้อยละ 34 อิสลาม ร้อยละ 3.7 และนับถือศาสนาอื่นหรือไม่มีศาสนา ร้อยละ 28.3

หน่วยเงินตรายูโร (Euro) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 44.45บาท ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2550 เช็คอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก

วันชาติ3 ตุลาคม (วันรวมประเทศ) รวมประเทศเมื่อปี 2533
การท่องเที่ยว
ใน ด้านการท่องเที่ยว ปี 2549 (มกราคม – ธันวาคม) มีนักท่องเที่ยวเยอรมันเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 507,942 คน (เป็นอันดับที่ 2 ในยุโรปรองจากสหราชอาณาจักร) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 16.35 โดยนักท่องเที่ยวเยอรมันจัดเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพราะจะพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันค่อนข้างสูง (ในปี 2547 นักท่องเที่ยวเยอรมันมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันราว 3,720.23 บาท ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นมูลค่ากว่า 21,781.44 ล้านบาท)
นอก จากนี้ ไทยและเยอรมนีได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-เยอรมนี (JEC) โดยมีคณะทำงาน 2 คณะ คือ คณะทำงานด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี และคณะทำงานด้าน SMEs เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การค้า และการลงทุน และไทยสนใจจะให้มีการตั้งคณะทำงานด้านพลังงานที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง คณะทำงาน
การเมืองการปกครอง
เยอรมนี ปกครองในรูปแบบสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ระบบการปกครองของเยอรมนีมีพื้นฐานจากเอกสารรัฐธรรมนูญในปี พ.ศ. 2492 ซึ่งเรียกว่า Grundgesetz (กฎหมายหลัก) การเรียกกฎหมายนี้ว่า Grundgesetz แทนที่จะเป็น Verfassung (รัฐธรรมนูญ) เป็นความตั้งใจที่ว่าจะถูกแทนที่โดยรัฐธรรมนูญเมื่อเยอรมนีได้รวมเป็นรัฐ เดียว การแก้ไขกฎหมายหลักจะต้องใช้เสียงมากกว่าสองในสามของสมาชิกทั้งสองสภา มาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพื้นฐาน การแยกอำนาจ โครงสร้างสหพันธ์ และสิทธิในการต่อต้านความพยายามล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้นคงอยู่ตลอดกาล ไม่สามารถแก้ไขได้ ชื่อ Grundgesetz ยังคงใช้หลังการรวมประเทศเยอรมนี
ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร คนปัจจุบันคืออังเกลา แมร์เคิล อำนาจนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภาซึ่งประกอบไปด้วย Bundestag ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และ Bundesrat เป็นสภาตัวแทนรัฐสิบหกรัฐของสหพันธ์
ตำแหน่งประธานาธิบดี (Bundespräsident) เป็นตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ได้รับเลือกจากที่ประชุมสหพันธ์ (Bundesversammlung) ซึ่งประกอบสมาชิกของ Bundestag และตัวแทนของแต่รัฐต่างๆ ในจำนวนเท่ากัน ประธานาธิบดีทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสหพันธ์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือฮอร์สท เคอแลร์
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 ระบบพรรคการเมืองของเยอรมนีมีเพียงสองพรรคการเมืองหลักคือสหภาพคริสเตียนเด โมแครต และพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี โดยจนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรีมาจากเพียงสองพรรคนี้ อย่างไรก็ตาม ก็มีพรรคที่เล็กกว่าซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างพรรคประชาธิปไตยเสรีและกลุ่ม พันธมิตร 90/กรีน ซึ่งมักเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลในรัฐบาลผสม
สังคมและวัฒนธรรม
ไทย ต้องการให้เยอรมนีมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาความร่วมมือไตรภาคี เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาภูมิภาค (Partnership for Development/ Partnership for the Region) อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้านในกรอบโครงการกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy : ACMECS) และประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นภาวะสงครามหรือความขัดแย้ง เช่น ติมอร์เลสเต ศรีลังกา รวมทั้งประเทศที่สามอื่นๆ อาทิ ประเทศในแอฟริกา

No comments:

Post a Comment