Monday, January 4, 2016

พม่า หรือ เมียนมาร์ (ชื่อภาษาอังกฤษMyanmar)

พม่า หรือ เมียนมาร์ (ชื่อภาษาอังกฤษMyanmar) มีชื่ออย่างทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (Republic of the Union of Myanmar) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย 1 ใน 3ของพรมแดนพม่ามีความยาวถึง 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยขนาดของพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศพม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรมากกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายมานานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าตกอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารมาอย่างยาวนาน แล้วในปี พ.ศ. 2554 คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการหลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ถึงจะมีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมายังไงก็ยังมีอิทธิพลทางทหารอยู่มาก

สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
เนื่องจากความพยายามของอังกฤษที่ต้องการขยายอำนาจ กองทัพอังกฤษจึงได้ทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามครั้งที่1 (พ.ศ. 2367–2369) ได้ยุติลงโดยทางประเทศอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญากับอังกฤษโดยเรียกสัญญานั้นว่าสัญญายันดาโบ (Yandaboo) แล้วในการทำสัญญาในครั้งนี้ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษก็เริ่มต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้สร้างความโกรธแค้นให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และได้ทำการโจมตีเมืองที่เป็นสนธิสัญญาที่ทางอังกฤษได้ยึดครองอยู่ และผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือทั้งหมด และได้กลายเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษขึ้นเป็นครั้งที่สอง ซึ่งผลก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง และภายหลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้รวมเอาเมืองหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้ตั้งชื่อเรียกดินแดนดังกล่าวใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้นในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงได้เริ่มพัฒนาประเทศพม่าเพื่อที่ต้องการจะต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอกขึ้นโดยตั้งให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้อีกเช่นเคย

ต่อมาในรัชสมัยของ พระเจ้าธีบอ (Thibow ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง แต่เนื่องจากทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วบริเวณชายแดน แล้วในที่สุดพระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพ.ศ. 2428 โดยผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนส่วนที่เหลือของประเทศพม่าเอาไว้ได้ทั้งหมด

พม่าได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้มีการติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงมี ออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจาก อังกฤษได้

ต่อมาในปีพ.ศ.2485 เมื่อคณะของตะขิ่นได้เดินทางกลับพม่าหัวหน้าคณะอองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้ทำการเจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ภายหลังจึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่กำลังจะออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและได้มีการประกาศใช้รัฐ ธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 พม่าได้รับมอบเอกราชอย่างสมบูรณ์จากอังกฤษ

แต่ภายหลังที่พม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็ยังไม่สามารถบริหารได้อย่างเต็มที่มีการแทรกแทรงจากทางทหารอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี ณ ตอนนั้นคือ นายอูนุได้ถูกบีบให้ลาออกเมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัด หรือพวกที่อยู่กันคนละข้างที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลของตนอย่างเด็ดขาด ในเวลาต่อมาเขาได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภานั่นเอง

การเมืองการปกครอง
ปกครองด้วยระบบเผด็จการทางทหาร มีการปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทัวร์พม่า เที่ยวพม่า

ประธาน SPDC คือพลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย (Senior General Than Shwe) (ข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ. 2535)
นายกรัฐมนตรี เต็ง เส่ง (พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)

ภูมิศาสตร์
ประเทศพม่า ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 676,578 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ (หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก

ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศและอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือ พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนานของ จีนยาวถึง 2,185 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับลาวและไทย พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉียงใต้ และใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของพรมแดนทั้งหมด
เศรษฐกิจ และ ประชากร - ทัวร์พม่า

อาชีพหลักของพม่าโดยส่วนมากคือเกษตรกรรม เขตเกษตรกรรมคือบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี แม่น้ำสะโตง แม่น้ำทวาย-มะริด โดยจะเน้นไปที่การปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ ส่วนเขตฉาน ซึ่งอยู่ติดแม่น้ำโขงเน้นไปทางการปลูกพืชผักจำนวนมาก ทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจำนวนมาก การทำป่าไม้ มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือ ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง และ มะริด และทวาย เป็นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของพม่า

จำนวนประชากรของพม่ามีประมาณ 56,400,000 คน แบ่งเป็นสัญชาติพม่า 68% ไทใหญ่ 9% กะเหรี่ยง 7% ยะไข่ 3.50% จีน 2.50% มอญ 2% คะฉิ่น 1.50% อินเดีย 1.25% ชิน 1% คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ศาสนา และ วัฒนธรรม - เที่ยวพม่า


ทางด้านวัฒนธรรม
พม่าได้รับอิทธิพลมาทั้งจากมอญ จีน อินเดีย และไทยมาอย่างช้านาน สะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร ในส่วนของศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่าได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกมากขึ้น เห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า "ลองยี" ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า "ลุนตยาอชิก"

ภาษา (Language)
ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการพม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดังนี้

ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก 
ได้แก่ ภาษามอญ ภาษาปะหล่อง ภาษาปะลัง (ปลัง) ภาษาประรวก และภาษาว้า

ตระกูลภาษาซิโน-ทิเบตัน 
ได้แก่ ภาษาพม่า(ภาษาราชการ) ภาษากะเหรียงภาษาอารากัน(ยะไข่)ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น) และภาษาอาข่า

ตระกูลภาษาไท-กะได 
ได้แก่ ภาษาฉาน (ไทใหญ่) ภาษาไทขึน ภาษาไทลื้อ และภาษาไทคำตี่

ตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน 
ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมี่ยน)

ตระกูลภาษาออสโตรนีเชี่ยน 
ได้แก่ ภาษามอเกนและภาษาสะลน

ศาสนา 
ศาสนาพุทธ (พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ.2517) ร้อยละ 90 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5 ศาสนาอิสลามร้อยละ3.8 ศาสนาฮินดูร้อยละ  0.05

สกุลเงิน: จ๊าด (Kyat : MMK)
อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จ๊าดต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จ๊าดต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549)

ภูมิศาสตร์ประเทศพม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือ - เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ภาคตะวันตก – เทือกเขาอระกันโนมากั้นเป็นแนวยาว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - เป็นที่ราบสูงชาน
ภาคใต้ - มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
ภาคกลาง - เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี

ลักษณะภูมิอากาศ
มรสุมเมืองร้อน
ด้านหน้าภูเขาอาระกัน โยมา ฝนตกชุกมาก
ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำลับลม
ภาคกลางตอนล่างเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  21-28 องศาเซลเซียส

เขตการปกครองประเทศพม่า
รัฐ (States)
1.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองฮะคา
2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา
3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน
4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ
5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง
6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองซิตตเว
7.รัฐฉานหรือไทใหญ่ (Shan) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองตองยี

เขต (Divisions)
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะสิม
2.เขตพะโค (Bago) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะโค
3.เขตมาเกว (Magway) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมาเกว
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมัณฑะเลย์
5.เขตสะกาย (Sagaing) มีเมืองเอกชื่อ เมืองสะกาย
6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) มีเมืองเอกชื่อ เมืองทวาย
7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) มีเมืองเอกชื่อ เมืองย่างกุ้ง

การแต่งกายประเทศพม่า
ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก 
ชาย 
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี 

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู 

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก

อาหารประจำประเทศพม่า
หล่าเพ็ด (Laphet)
เป็นอาหารว่างคล้ายกับยาเมี่ยงของไทย แต่เป็นใบชาหมัก ซึ่งต้องคลุกกินกับเครื่องเคียง เช่น มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง  กระเทียมเจียว และถั่วชนิดต่างๆ

ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวประเทศพม่า
ใน ปี พ.ศ.2535 รัฐบาลพม่าได้เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ โดยต้องทำวีซ่าที่สถานทูตพม่าก่อนเข้าประเทศ และประกาศในปี พ.ศ.2539-2540 เป็นปีท่องเที่ยวพม่า  (Visit Myanmar Year) โดยแบ่งเป็น 3 เมืองวัฒนธรรม คือ
1.ชั้น ใน ได้แก่ ย่างกุ้ง หงสาวดี สิเรียม พุกาม มัณฑะเลย์ ตองยี ทะเลสาบอินเล สามารถเดินทางไปเที่ยวได้สะดวก มีความพร้อมทั้งในเรื่องที่พัก อาหาร และยานพาหนะ
2.ชั้น นอก ได้แก่ เชียงตุง ปูเตา อาระกัน มะริด มะละแหม่ง พระธาตุอินทร์แขวนไจก์ทิโย เดินทางไปเที่ยวได้ แต่สิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่พร้อมเท่าที่ควร
3.ชาย แดน ได้แก่ ท่าขี้เหล็กตรงข้ามแม่สาย จ.เชียงราย เมียวดีตรงข้ามแม่สอด จ.ตาก พญาต่องซูตรงข้ามด่านเจดีย์สามองค์ จ.กาญจนบุรี เกาะสองตรงข้ามท่าเรือ จ.ระนอง มอร์ด่องตรงข้ามด่านสิงขร จ.ประจวบคีรีขันธ์ สามารถเดินทางได้สะดวกจากฝั่งเขตแดนไทย แต่ยังไม่สามารถเดินทางต่อไปยังย่างกุ้งหรือมัณฑะเลย์ได้เพราะถนนยังไม่ดี และความปลอดภัยยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์นัก เพราะยังมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่

ลักษณะ ของการท่องเที่ยวในพม่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม พาชมวัด นมัสการพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระนอน ชมพระราชวังและพิพิธภัณฑ์ สัมผัสงานศิลปะ ดูงานประเพณีและวิถีชีวิตของผู้คน จึงไม่ค่อยเน้นความสนุกบันเทิง เที่ยวสถานรื่นรมย์ที่มีแสงสีทันสมัย

สิ่งที่ควรระมัดระวังในการท่องเที่ยวประเทศพม่า
1.เครื่องแต่งกาย ศาสนสถานในพม่าทุกแห่ง ห้ามสวมกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้นเข้าไป สุภาพสตรีสวมกางเกงขายาวได้ บางแห่งจะมีบริการเช่าผ้าถุงหรือโสร่ง สวมทับกางเกงขาสั้นหรือกระโปรงสั้น รวมทั้งยังต้องถอดหมวก ถอดแว่นดำก่อนที่จะเข้าไปด้วย
2.รองเท้า ทุกคนต้องถอดรองเท้าทุกชนิดก่อนเข้าเขตศาสนสถาน ตั้งแต่รั้วด้านนอก ถุงเท้า ถุงน่องก็ห้ามใส่เข้าไป ต้องเดินเท้าเปล่า และเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัดมากแต่สมัยโบราณ หากฝ่าฝืนชาวพม่าจะเข้ามาตักเตือนด้วยความไม่พอใจครับ
3.การถ่ายรูป วีดีโอ บางแห่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียม บางแห่งห้ามถ่าย เช่น พิพิธภัณฑ์ย่างกุ้ง ต้องฝากกล้องเอาไว้กับเจ้าหน้าที่ก่อนจะเข้าไป
4.ศาสนสถานบางแห่งอาจห้ามสุภาพสตรีเข้าไปในเขตหวงห้าม เช่น ห้ามขึ้นไปปิดทองที่องค์พระมหามุนี มัณฑะเลย์ หรือที่องค์พระธาตุอินทร์แขวน(ไจก์ทิโย) หรือที่เขตห้ามเข้าองค์พระมหาเจดีย์ชเวดากองและองค์พระเจดีย์ชเวซิกอง
5.เงินสด โดยทั่วไปจะไม่รับเงินบาทไทย ให้แลกกับไกด์ท้องถิ่นหรือบริษัททัวร์ได้ และถ้าแลกกับธนาคารจะได้อัตราทางการ แพงกว่าที่แลกกับบริษัททัวร์ หรือร้านค้าใหญ่มากหลายเท่าตัว ข้อควรระวัง อย่าแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลก เพราะอาจจะได้รับเงินปลอม เงินที่ยกเลิกไปแล้ว และถูกตำรวจจับอีก
6.เครื่องประดับ ของมีค่าต่างๆควรติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพราะจะเกิดความยุ่งยากในการแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเวลา เข้าเมือง และต้องแสดงว่าอยู่ครบเวลาจะเดินทางกลับจากพม่า หากอยู่ไม่ครบต้องเสียภาษีทันที เพราะศุลกากรพม่าจะถือว่านำไปขายต่อให้กับคนพม่า นอกจากนี้ยังเป็นภาระในการดูแลรักษา ล่อตาล่อใจมิจฉาชีพอีกด้วย
7.ยารักษาโรค ควรนำไปให้พร้อมและเพียงพอตามระยะเวลาเดินทาง เพราะในพม่า การแพทย์ สุขอนามัย และยารักษาโรค ยังขาดแคลนและไม่ทันสมัย
8.วัตถุโบราณ (Antique) บาง ประเภทเป็นสิ่งต้องห้ามจำหน่ายและนำออกนอกประเทศ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ และถ้าซื้อต้องมีใบเสร็จและใบอนุญาตนำออกอย่างถูกต้องจากทางร้านค้า รวมทั้งสินค้าอัญมณีบางชนิด
ด้วย หากไม่แน่ใจ ไม่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ ควรงดเว้นการซื้อ
9.ระบบการจราจรในพม่ากำหนดให้ขับรถชิดเลนขวาตรงข้ามกับไทย เพราะฉะนั้นเวลาข้ามถนนต้องดูให้ดีและรอบคอบ
10.หญิงบริการ พม่าเป็นประเทศสังคมนิยมปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งยังมั่งคั่งไปด้วยศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิตของชาวบ้านผู้รักสงบและสันโดษ จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะถามหาหญิงบริการ เพราะกฎหมายพม่ารุนแรงจับทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

แหล่งท่องเที่ยวประเทศพม่า

  • ตลาดสก๊อต  แหล่งช้อปปิ้ง  เมืองย่างกุ้ง
  • มหาเจดีย์ชเวดากอง  กรุงย่างกุ้ง  (Shwedagon Pagoda,Yangon)

พระมหาเจดีย์นี้ เป็นสิ่งที่เคารพสูงสุดของชาวพม่า ซึ่งได้บรรจุพระเกศาธาตุรวม 8 เส้นของพระพุทธเจ้า มีประวัติเก่าแก่กว่า2000 พันปี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพม่า “ชเวดากอง” แปลว่า “เจดีย์ทองแห่งเมืองดากอง” โดยมีที่มาว่า พระมหากษัตริย์ของพม่าและมอญที่จะขึ้นครองราชย์บัลลังก์ จะต้องถวายทองคำหนักเท่าน้ำหนักของพระองค์เอง เพื่อนำมาห่อหุ้มองค์พระเจดีย์

  • พระมหามัยมุนี  แห่งมัณฑะเลย์  (The MahamuniBuddha,Mandalay)

เป็นพระพุทธรูปสำริด ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ปางมารวิชัย สร้างขึ้นในราวพุทธศักราช 688 เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายใจให้พระมหามัยมุนี เพื่อเป็นตัวแทนสืบทอดพระศาสนา และชาวพม่าก็เชื่อเช่นนั้น จึงต้องมีพิธีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้า

  • พระธาตุอินทร์แขวน “ไจ้ก์ทิโย” เมืองไจ้ก์โถ่ รัฐมอญ (Golden Rock-Kyaikhtiyo,Kyaikhtiyo,Mon)

“ไจ้ก์ทิโย” ในภาษามอญหมายถึง “หินรูปหัวฤาษี” พระธาตุอินทร์แขวนนี้ ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตร มีลักษณะเป็นก้อนหินสีทองขนาด 5.5 เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที่ เป็นที่มาของนิทานพื้นบ้านเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน นอกจากนี้ก็ยังมีความเชื่อกันว่าผู้ที่มากราบไหว้ จะสามารถสั่งสมบารมีไปเกิดร่วมยุคพระศรีอาริยเมตตรัย และยังเป็นพระธาตุประจำปีจออีกด้วย

  • มหาเจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม  (ShwezigonPagoda,Bagan)

“ชเวซิกอง” แปลว่า เจดีย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นทราย เป็นเจดีย์ศิลปะมอญทรงระฆังคว่ำสีทององค์ใหญ่ ซึ่งภายในบรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 1627 แต่มาสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 1656 พระเจดีย์นี้ ถือเป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมด้านเจดีย์ของพม่าในยุคต่อๆ มา


  • เจดีย์ชเวมอร์ดอร์ หรือหรือพระธาตุมุเตา เมืองหงสาวดี (Shwemawdaw Pagoda,Bago)

เป็นเจดีย์ที่ได้อิทธิพลจากศิลปะมอญ เชื่อกันว่ามหาเจดีย์แห่งนี้ เป็นที่บรรจุบรรจุพระเกศาธาตุ 2 เส้นของพระพุทธเจ้า มีอายุกว่า 2000 ปี เป็นที่เคารพสักการะของทั้งกษัตริย์ มอญ พม่า และไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย ภายในบริเวณพระมหาเจดีย์ ยังมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก จัดแสดงวัตถุโบราณอีกด้วย

  • หาดฮาปาลี เมืองตั่งตแว รัฐยะไข่  (Ngapali  Beach,thandwe, Rakhaine)

เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของพม่า ในเขตปกครองของรัฐยะไข่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ มีหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งยังดำรงวิถีชีวิตและการประมงแบบพื้นบ้านอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean) ได้อย่างชัดเจนจากชายหาดฮาปาลีแห่งนี้

  • หาดฮเวซวง เมืองปะเต็น เขตอิระวดี 

(Ngwe Saung Beach, Pathein, Ayeyarwaddy Region)
เป็นชายหาดสีเงินอันมีชื่อเสียง อยู่ห่างจากเมืองปะเต็นไปทางทิศตะวันตกราว 48 กิโลเมตร เป็นแนวชายหาดขาวสะอาด น้ำทะเลสีฟ้าใส ข้อดีของหาดนี้ คือยังเงียบสงบ และไม่จอแจเหมือนหาดฮาปาลี ดังนั้นราคาที่พักจึงถูกกว่า และกิจกรรมยามค่ำคืน ก็น้อยกว่าหาดฮาปาลี ซึ่งเป็นหาดหลักอยู่มาก


  • หาดซวงทา เมืองประเต็น เขตอิระวดี  

(Chaung Tha Beach, Pathein,  Ayeyarwaddy Region)
หาดซวงทา หรือ เซาทา เป็นชายหาดที่เพิ่งเปิดตัวไม่นาน อยู่ในเขตหมู่บ้านซวงทา ซึ่งล่าสุดได้ขึ้นชื่อว่า มีรีสอร์ทติดทะเลที่กำลังมาแรงเป็นที่นิยม นอกจากนี้ หาดซวงทายังมีชื่อเสียงเรื่องอาหารทะเลสดและสามารถต่อรองราคาได้ และยังเป็นชายหาดแห่งเดียวในพม่า ที่มีเจดีย์ตั้งอยู่ริมทะเล ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การไปเยือนมากที่สุด คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน


  • เทพทันใจ  วัดโบตะเตาว์

ทหารหนึ่งพันนายมารอรับพระเกศาธาตุ ที่นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ วัดโบตะเตาว์  ริมแม่น้ำย่างกุ้ง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า  ที่นี่มีพระพุทธรูปทองคำนันอูที่งดงามที่นำกลับคืนมาจากอังกฤษ และนัตโบโบยีที่เรียกกันว่าเป็นเทพทันใจ ที่เลื่องลือในความศักดิ์สิทธิ์มาถึงชาวไทยเรา ที่ขอพรใดได้สมปรารถนา
      



No comments:

Post a Comment