Monday, May 4, 2015

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลีกันค่ะ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พิพิธภัณฑ์คติชนพื้นเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่พระราชวังคย็องบก โดยเปิดให้เข้าชมได้ฟรีเพราะสามารถใช้รวมกับบัตรเข้าชมพระราชวังคย็องบกค่ะ  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าโชซอน แต่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมเมื่อปี 1975 วันและเวลาในการเข้าชม มีดังนี้ค่ะ โดยเปิดให้ชมกันทุกวัน ยกเว้นวันเสาร์และวันปีใหม่ที่ปิดค่ะ โดยถ้าจะเข้าชม ในช่วงเดือนมี.ค. – ต.ค. จะเปิดเวลา 09.00 – 18.00 น. และในช่วงเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์ จะเปิดเวลา 09.00 – 17.00 น.ค่ะ การเข้าชมก็สามารถเข้าได้ก่อนเวลาปิดพิพิธภัณฑ์ 1 ชั่วโมง สถานที่แห่งนี้จัดเป็นที่ที่แสดงถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุ ข้าวของ หุ่นจำลอง เครื่องปั้นดินเผา เสื้อผ้า การแต่งกาย เครื่องใช้ต่างๆ ของคนเกาหลีโบราณในอดีตตั้งแต่ยุกต์หินเรื่อยมาจนถึงสมัยราชวงศ์โชซอนค่ะ

        เมื่อเราเดินเข้ามาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้  ก่อนถึงตัวอาคารที่จัดแสดง เราจะเห็นรูปปั้นนักษัตร 12 ราศี โดยรูปปั้นทั้งหมดเป็นรูปปั้นหินค่ะ ที่นี่นอกจากจะมีหินแกะสลักก็ยังมีไม้ที่แกะสลักที่ชาวบ้านสมัยก่อนนิยมแกะกัน โดยจะแกะเป็นรูปปีศาจและจะนำมาวางไว้หน้าหมู่บ้านด้วยความเชื่อที่ว่าจะสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้าย ภูต ผี ปีศาจค่ะ สำหรับใครที่มาทัวร์ประเทศเกาหลีใครเกิดปีนักษัตรไหนก็อย่าลืมถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกนะคะ

        เมื่อเราเดินมาถึงอาคารพิพิธภัณฑ์ ในโซนแรกเราจะพบกับการจัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆที่ถูกขุดพบขึ้นในประเทศเกาหลี เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ในสมัยก่อน มงกุฎทองคำ ภาชนะรูปเป็ด (ถ้าเปรียบกับบ้านเราก็ประมาณเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงหรือเครื่องปั้นดินเผาบ้านปราสาทค่ะ)  โซนนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ชอบของเก่า หรือวัตถุโบราณค่ะ โซนที่ 2 จะแสดงเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนเกาหลีในสมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเครื่องมือการทำเกษตร ทำการเกษตร การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวพืชผล การซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งของกันระหว่างคน ชุมชน จนมาถึงการมีตลาดที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขาย แลกเปลี่ยน โซนที่ 3 จะแสดงถึง พิธีกรรมต่างๆ ของคนเกาหลีในสมัยก่อน เช่น การสวดมนต์ให้พร พิธีการแต่งงาน พิธีรำลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พิธีตอบแทนคุณพ่อแม่ ว่ามีขั้นตอนเป็นอย่างไร แต่งกายอย่างไร รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ว่ามีอะไรบ้าง


No comments:

Post a Comment